fbpx

ไต้ฝุ่น “ชานชาน” ใกล้ขึ้นฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น

โตเกียว, 29 ส.ค. – พายุฝนและกระแสลมรุนแรงซัดกระหน่ำชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น ขณะที่ไต้ฝุ่น “ชานชาน” กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่อินดียกำลังเผชิญน้ำท่วมครั้งใหญ่ในรัฐคุชราต ทางตะวันตกของประเทศ


พายุและกระแสลมรุนแรงจากอิทธิพลของของไต้ฝุ่น “ชานชาน” พัดกระหน่ำชายฝั่งจังหวัดคาโกชิมะของญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องในช่วงค่ำที่ผ่านมาจนถึงเช้ามืดของวันนี้ ขณะที่ไต้ฝุ่น “ชานชาน” กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความเร็วลม 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดฝนตกหนักและพายุรุนแรงในพื้นที่ ทางการท้องถิ่นจังหวัดคาโกชิมะ จังหวัดไอจิ และจังหวัดชิสึโอกะ ต้องสั่งอพยพชาวบ้านรวมกันกว่า 800,000 คน พร้อมประกาศเตือนภัยระดับสูงสุดระวังกระแสลมแรงและคลื่นสูงซัดฝั่ง หรือสตอร์ม เซิร์จ บนเกาะคิวชู ที่มีประชากร 12.5 ล้านคน ซึ่งเป็นเกาะหลักทางภาคใต้ของประเทศ ส่วนเที่ยวบินและการเดินรถไฟในประเทศจำนวนมากต้องเลื่อนหรือยกเลิกการเดินทาง

สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งชาตของญี่ปุ่นคาดว่า ไต้ฝุ่น “ชานชาน” จะเคลื่อนด้วยความเร็วลมใกล่จุดศูนย์กลาง 252 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคิวชูเร็วที่สุดในวันนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดลมแรง คลื่นสูง และคลื่นสูงซัดฝั่งในระดับที่หลายคนไม่เคยพบเห็นมาก่อน โดยจะมีฝนตกวัดปริมาณน้ำฝนได้สูงถึง 1,100 มิลลิเมตร บนเกาะคิวชูในช่วง 48 ชั่วโมงจนถึงเช้าวันศุกร์


ขณะเดียวกัน ยังมีผู้สูญหาย 2 คน ยังไม่ทราบชะตากรรม หลังจากดินถล่มใส่บ้านหลังหนึ่งที่มีสมาชิกครอบครัวเดียวกัน 5 คนอยู่ในบ้าน ประกอบด้วยชายและหญิง อายุ 70 ปี ผู้หญิงอีก 2 คนอายุ 40 ปี และผู้ชายอีกคนอายุ 30 ปี ในเมืองกามาโกริ จังหวัดไอจิเมื่อวานนี้ โดยหลังจากความพยายามกู้ภัยตลอด 24 ชั่วโมง ผู้หญิง 3 คนก็ได้รับความช่วยเหลือ โดยหญิงอายุ 70 ปี ไม่หายใจและหมดสติ เมื่อเธอได้รับความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงค้นหาชายอีก 2 คน

ส่วนที่อินเดีย เกิดน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่น้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ของรัฐคุชราต ทางภาคตะวันตก ชาวบ้านต้องเดินลุยน้ำท่วมสูงถึงเอว อาคารบ้านเรือนและรถยนต์จำนวนมากจมอยู่ใต้น้ำ สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของอินเดีย แถลงว่า เจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติการช่วยเหลือ ขณะที่ภูมิภาคแห่งนี้เผชิญกับฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนเกินร้อยละ 40 พร้อมแนะนำประชาชนให้อยู่แต่ในบ้าน และมีประชาชนอพยพแล้วมากกว่า 20,000 คนอันเนื่องมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิตหลายสิบรายและไร้ที่อยู่อาศัยหลายล้านคนในอินเดียและบังกลาเทศในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา จากน้ำท่วมรุนแรง ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักในช่วงฤดูมรสุม.-815.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ภูเก็ตฝนตกต่อเนื่อง ชาวบ้านหวั่นเขาถล่มซ้ำ

หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ จ.ภูเก็ต มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับน้ำท่วมขัง ขณะที่พื้นที่ ต.กะรน จุดที่เคยเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่อยู่อย่างผวา เพราะกลัวดินจากภูเขาจะถล่มซ้ำอีก

ช่วย 143 นักท่องเที่ยวติดเกาะราชาใหญ่ ขึ้นฝั่งภูเก็ตปลอดภัย

ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเรือ ต.111 ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 143 คน ติดค้างบนเกาะราชาใหญ่ กลับเข้าฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้อย่างปลอดภัย

น้ำในตัวเมืองหนองคายใกล้แห้ง หลังโขงพ้นวิกฤติ

หลายตำบลใน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย น้ำยังท่วมสูงและเพิ่มระดับ บางจุดถูกตัดขาดมากว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าหนักสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ในตัวเมือง น้ำใกล้แห้ง หลังระดับแม่น้ำโขงใกล้พ้นจุดวิกฤติ

ภาคเหนือเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ชาวบ้านหวั่นพายุถล่มซ้ำ

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังไม่ทันฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านต้องเตรียมตัวรับกับพายุลูกใหม่ หลายคนยังไม่กล้ากลับไปอาศัยในบ้าน เพื่อรอจนกว่าพายุลูกนี้จะผ่านพ้นไปก่อน