fbpx

“ภูมิธรรม” สั่งเข้มตรวจสินค้านำเข้าฯ ตั้งศูนย์ ฉก.ป้องกันฯ สินค้า-ธุรกิจผิด กม.

นนทบุรี 28 ส.ค.- “ภูมิธรรม” ประชุมเข้ม 28 หน่วยงาน แก้ปัญหานำเข้าสินค้าและบริการไม่ได้มาตรฐานและผิดกฎหมายจากต่างประเทศ กำหนด 5 มาตรการหลักดูแลผู้บริโภค ผู้ผลิตผู้ประกอบการไทยควบคู่ไปกับการสร้างความสมดุลระเบียบการค้าโลก ตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามสินค้าและธุรกิจฝ่าฝืนกฎหมาย และให้รายงานผลทุกสัปดาห์


นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมแก้ปัญหาการนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าไม่ได้มาตรฐานและราคาต่ำจากต่างประเทศ โดยมีนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และผู้บริหารระดับสูงจาก 28 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม เพื่อแก้ปัญหาสินค้านำเข้าสู่ตลาดที่ไม่ได้มาตรฐานและราคาต่ำ ในการป้องกันและกำกับดูแลทั้งสินค้าและธุรกิจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายควบคู่กับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs และ E-Commerce ไทยปรับตัวได้ในโลกการค้ายุคใหม่

นายภูมิธรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การหารือในวันนี้ เป็นการติดตามการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐตามมติ ครม.ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการ/แนวทางในการแก้ไขปัญหาและปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในทุกมิติ เช่น ตรวจสอบความถูกต้องของการจดทะเบียนการค้าและใบอนุญาตต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของต่างชาติ ตรวจสอบคุณภาพสินค้าจากต่างประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานได้รับการรับรองจากหน่วยงานของไทย ตรวจสอบใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และการชำระอากรขาเข้าของผู้ประกอบการต่างชาติ และตรวจสอบความถูกต้องของการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง. 4) ควบคู่ไปกับการสร้างภูมิคุ้มกันและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย โดยได้ข้อสรุปร่วมกันสำหรับมาตรการที่หน่วยงานรัฐต้องดำเนินการ 5 มาตรการหลัก แยกเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที และมาตรการยั่งยืน รวม 63 มาตรการย่อย ดังนี้


1) ให้หน่วยงานบังคับใช้ระเบียบ/กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยบูรณาการตรวจเข้มสินค้า ณ ด่านศุลกากร ทั้งในส่วนของการสำแดงพิกัดสินค้า การชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม การตรวจมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) การเพิ่มอัตราการเปิดตู้สินค้า (Full Container Load) เพิ่มความถี่ในการตรวจสอบของ Cyber Team ตรวจสอบสินค้ามาตรฐานจำหน่ายออนไลน์ในส่วนการประกอบธุรกิจ มีมาตรการเชิงรุกตรวจสอบผู้ประกอบการ/ผู้ให้บริการ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายไทย การป้องปรามการกระทำอันมีลักษณะเป็นนอมินี โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นคนไทยต้องส่งเอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงิน พร้อมกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด

2) ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้สอดคล้องกับการค้าอนาคต ซึ่งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) อยู่ระหว่างจัดทำประกาศฯ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามกำหนด “ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล โดยให้มีสำนักงานในไทย” พร้อมให้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภคไทย นอกจากนี้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะเร่งเพิ่มจำนวนรายการสินค้าควบคุมภายใต้มาตรฐานบังคับ ครอบคลุมรายการสินค้าให้มากที่สุดไปด้วยอีกทางหนึ่ง

3) มาตรการภาษี โดยกรมสรรพากรอยู่ระหว่างปรับปรุงประมวลรัษฎากรสำหรับการกำหนดให้ผู้ขายสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ และแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่จำหน่ายสินค้าในไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ในขณะเดียวกัน กรมการค้าต่างประเทศเตรียมการจัดอบรมให้ความรู้เชิงเทคนิคกับภาคเอกชนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ


4) มาตรการช่วยเหลือ SMEs ไทย โดยได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทุกหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาชุมชน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เป็นต้น เร่งพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้า และการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไทย เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคการค้าโลกใหม่ โดยเฉพาะการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้สามารถขยายการส่งออกผ่าน 9 แพลตฟอร์ม E-Commerce พันธมิตรในประเทศเป้าหมาย

5) สร้าง/ต่อยอดความร่วมมือกับประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เพื่อส่งเสริมการค้าผ่านช่องทางตลาด E-Commerce ให้เป็นอีกช่องทางในการผลักดันสินค้าไทยผ่าน E-Commerce ไปตลาดต่างประเทศให้ผู้ประกอบการไทย รวมถึงส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางรวบรวมและกระจายสินค้าสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับภูมิภาค

“ที่ประชุมวันนี้ได้กำหนด 5 มาตรการ ในการดูแลผู้บริโภค ผู้ผลิตผู้ประกอบการไทยควบคู่ไปกับการสร้างความสมดุลระหว่างระเบียบการค้าโลก โดยได้นำข้อกังวลของประชาชนเข้าตรวจสอบและดำเนินการ รายงานผลที่ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามสินค้าและธุรกิจฝ่าฝืนกฎหมาย โดยปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานรับรายงานทุกสัปดาห์ และประชุมร่วมกันทุก 2 สัปดาห์ ถ้ามีความจำเป็นก็จะทำงานให้เข้มข้นขึ้น สินค้าที่จะจำหน่ายในไทยต้องมีคุณภาพ ถูกกฎหมาย ไม่สร้างความเสียหายให้กับประเทศ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล และจะตรวจให้เข้มข้นขึ้น ถ้ามีปัญหาอาจเพิ่มความถี่ในการเปิดตู้สินค้า ซึ่งอาจจะต้องเปิดตู้ 100% โดยจะมีการทบทวนปรับกฎระเบียบเพิ่มเติม รักษาผลประโยชน์ประเทศอย่างเต็มที่ โดยมาตรการ/แนวทางที่จะออกมา จะไม่ถือเป็นการกีดกันทางการค้า แต่จะคำนึงถึงความตกลงทางการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พร้อมกับรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรม และธุรกิจทุกฝ่ายอย่างสมดุลสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถปรับตัวและแข่งขันได้ในโลกการค้ายุคใหม่ ซึ่งทุกประเทศมีกลไกดูแลสินค้าผู้ประกอบการในประเทศของตัวเอง ส่วนกรณี แอพฯ Temu หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศว่าใส่ใจเรื่องนี้ ทางสถานทูตจีนได้ติดต่อมาและได้ขอให้ทูตการค้าของจีนมาชี้แจง สถานทูตจีนเข้าใจในปัญหาที่เราพบ และยินดีให้ความร่วมมือ โดยยอมรับว่า Temu ควรมาตั้งสำนักงานในประเทศไทย และรับจะเป็นผู้เจรจาให้ Temu มาตั้งสำนักงานในไทย โดยระหว่างนี้หากพบปัญหาสามารถแจ้งไปได้ ทางสถานทูตจีนจะรับหน้าที่เป็นตัวกลางประสานให้ เพราะต้องการรักษา ความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทย และเห็นด้วยกับรัฐบาลไทยที่ว่าการค้าระหว่างประเทศควรดำเนินการด้วยความเป็นธรรม” นายภูมิธรรม กล่าว. -517-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานระดมช่วยผู้ประสบภัย

“นายกฯ แพทองธาร” ขอบคุณทุกหน่วยงานระดมช่วยผู้ประสบอุทกภัย หวัง ศปช.รับมือ-ช่วยเหลือรวดเร็วทันท่วงที รวมถึงการเยียวยาหลังจากนี้

ฟื้นฟูชายแดนแม่สาย-เร่งกู้ตลาดสายลมจอย

เจ้าหน้าที่เร่งฟื้นฟูชุมชนชายแดนแม่สายที่ถูกน้ำท่วมและจมโคลนมานาน 10 วัน รวมทั้งเร่งกู้ตลาดสายลมจอยแหล่งจำหน่ายสินค้าชายแดนที่เสียหายอย่างหนัก

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553