ปัดตกผู้สมัคร สว.เหตุเลือกไขว้ไม่ได้ กกต.อ่อนประชาสัมพันธ์

รัฐสภา 28 พ.ค. – “ไอติม” ระบุปัดตกผู้สมัคร สว. ไม่ยุติธรรม แค่เหตุเลือกไขว้ไม่ได้ ทำเสียทั้งสิทธิ ค่าสมัคร เวลา ชี้ กกต. อ่อนประชาสัมพันธ์เอง หวังใช้กติกานี้ครั้งแรก-ครั้งสุดท้าย ส่วนจะแก้ กม.หรือไม่ ตั้งคำถามยังจำเป็นต้องมี สว. หรือไม่


นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร  กล่าวถึงกรณีมีผู้สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 10 คน ใน 7 อำเภอ ถูกปัดตกรอบ เพราะผู้สมัครน้อยจนไม่สามารถเลือกไขว้สายได้ว่า เป็นเรื่องใหญ่ เพราะการทำให้ประชาชนถูกตัดสิทธิเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก เขาต้องสูญเสียเงินค่าสมัครไปแล้วและอาจจะไม่ได้รับคืน ทั้งที่เขาไม่ได้ทำอะไรผิด

“ผมคิดว่าพอไปดูต้นตอของปัญหานี้ ก็ต้องมองเป็น 2 ปัญหา ปัญหาแรกคือตัวกฎหมาย เพราะการไปล็อกว่าอย่างน้อยต้องมีผู้สมัครขั้นต่ำ 3 กลุ่มอาชีพ จึงจะเลือกไขว้ได้ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.ป.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา นอกจากนี้กติกาการคัดเลือก สว. ยังสร้างความสับสนพอสมควร ทำให้เราไม่ได้ สว. ที่มาจากโครงสร้างอำนาจที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยสากล” นายพริษฐ์ กล่าว


นายพริษฐ์ กล่าวว่า ปัญหาที่สองคือสะท้อนให้เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังทำหน้าที่ไม่ดีพอในการประชาสัมพันธ์ให้มีคนเข้าสู่กระบวนการรับสมัคร

เมื่อถามว่าเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้สมัครหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า แน่นอน เพราะทำให้ประชาชนที่สมัครเข้ามาสูญเสีย ทั้งสิทธิในการเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก และสูญเสียเงินค่าสมัครไปฟรีๆ ทั้งที่เขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย รวมทั้งเวลาในการเตรียมใบสมัครอีกด้วย ส่วนคนที่ถูกตัดสิทธิไปฟ้องร้องได้หรือไม่ ในเชิงกฎหมายต้องศึกษาเพิ่มเติม แต่ในเชิงการเมืองหรือสามัญสำนึก ตนเห็นใจคนที่ถูกตัดสิทธิ

เมื่อถามว่ากติกาแบบนี้อาจได้คนที่ไม่ตรงสเปกของการเป็น สว. หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า เป็นประเด็นที่คาดการณ์ยากมากว่า สว.ชุดใหม่ ที่จะมีคุณสมบัติร่วมกัน หรือทักษะ จุดเด่นเรื่องไหนบ้าง เพราะการคัดเลือกเป็นกระบวนการที่เพิ่งนำมาใช้เต็มรูปแบบครั้งแรก และไม่เคยใช้ที่ประเทศอื่น มีความซับซ้อน ทำให้คาดการณ์ยาก ซึ่งเราจะทำให้กระบวนการทั้งหมดราบรื่น ทันเวลา โปร่งใส และเป็นธรรมที่สุด โดย กมธ.พัฒนาการเมืองฯ จะเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย ตนได้ทำหนังสือถึง กกต. เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง กกต. ต้องการเปิดกว้างให้ภาคประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้


เมื่อถามว่าหากการเลือก สว. ครั้งนี้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก่อนเลือกครั้งหน้าต้องร่างกฎหมายใหม่หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า หวังว่าจะไม่มีกระบวนการแบบนี้เกิดขึ้นอีก อยากให้การเลือกแบบนี้เป็นครั้งเดียวและครั้งสุดท้าย ส่วนการแก้กฎหมายในอนาคตจำเป็นต้องหยิบยกขึ้นมาถกเถียง อาจจะมี 2 โจทย์หลักๆ คือประเทศเราจำเป็นต้องมีวุฒิสภาหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีจะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยสากลคือการมาจากการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชน.-314.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง