PDPC ตรวจสอบเชิงรุก 2 เดือน สกัดการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลกว่า 5,000 เคส

14 ม.ค. – PDPC เดินหน้าตรวจสอบเชิงรุกต่อเนื่อง ในรอบ 2 เดือน สกัดการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลกว่า 5,000 เคส และร่วมตรวจสอบเพื่อขยายผลสู่การจับกุมผู้ต้องหาซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว 5 ราย โดยมีโทษหนักถึงจำคุก


PDPC หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เร่งทำงานเชิงรุกตรวจสอบเฝ้าระวังการรั่วไหลและการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตามข้อสั่งการของรัฐบาล และมาตรการยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ ที่นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการและบูรณาการความร่วมมือกัน เมื่อคราวประชุมวันที่ 9 พ.ย.2566

ในช่วงเวลากว่า 2 เดือน นับแต่วันที่ 9 พ.ย. 2566 – 12 ม.ค. 2567 ศูนย์ PDPC Eagle Eye ได้ตรวจพบการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลประชาชนบนเว็บไซต์ของหน่วยงานอย่างเกินความจำเป็นหรือไม่มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม และได้แจ้งเตือนให้หน่วยงานปรับปรุงแก้ไขแล้ว จำนวน 5,261 กรณี เป็นหน่วยงานภาครัฐและส่วนท้องถิ่น จำนวน 4886 กรณี โดยสำนักงานฯ จะดำเนินการที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด กับหน่วยงานที่มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่องต่อไป


นอกจากนี้ ได้ตรวจสอบพบการประกาศซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) และดำเนินการปิดเพจแล้ว จำนวน 23 กรณี และได้มีการดำเนินการร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ในการสืบสวนสอบสวนขยายผลกรณีการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลประชาชนให้แก่แก๊งมิจฉาชีพ เมื่อวันที่ 23 พ.ย. และ 12 ธ.ค. 2566 ซึ่งล่าสุดวันที่ 11 ม.ค. 2567 ซึ่งนำไปสู่การจับกุมหรืออยู่ระหว่างการจับกุมผู้ต้องหาซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ จำนวน 5 ราย

ทั้งนี้ ศาลได้ตัดสินลงโทษจำคุกผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในช่วงก่อนหน้านี้แล้วจำนวน 2 ราย โดยรายล่าสุด เมื่อวันที่ 14 พ.ย.66 ศาลจังหวัดภูเก็ตได้มีคำพิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามกฎหมายหลายฉบับ รวมถึง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 80 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี (หลังลดโทษให้กึ่งหนึ่งจากการรับสารภาพ) แต่ไม่รอลงอาญา ด้วยพิจารณาเห็นว่า “การนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปขายทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างร้ายแรง ทั้งยังส่งผลกระทบกับบุคคลอื่นเป็นวงกว้างและเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มมิจฉาชีพนำข้อมูลดังกล่าวไปกระทำความผิดอื่นอีก พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนก็ไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกจำเลย”

PDPC จะเดินหน้าตรวจสอบเชิงรุกและเฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด เพื่อยกระดับความเชื่อมั่นในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ ตามข้อสั่งการของรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต่อไป . 111 – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่