พรรคก้าวไกล 15 ธ.ค – “พิธา” ตัดเกรดรัฐบาลทำงาน 100 วันแรกแบบคิดไปทำไป ไม่มีแผนงานชัดเจน แต่ชมช่วยแรงงานไทยในอิสราเอล ชี้ยังไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกฯ แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน บอกบริหารราชการแผ่นดินไม่เหมือนเอกชน
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกล แถลงข่าววิเคราะห์การดำเนินงาน 100 วัน แรกของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ว่า ยังประเมินเป็นเกรดไม่ได้ ทำได้อย่างมากแค่การวิเคราะห์เพราะ ไม่มีโรดแมปออกมาว่ารัฐบาลจะทำอะไรที่ชัดเจน แต่มีหลายเรื่องที่เห็นว่า ทำได้ดีเช่นกันที่เหลือแรงงานไทยและตัวประกันในอิสราเอลอิสราเอล และการดูแล smeจึงถือว่าการทำงานของรัฐบาลผ่านบ้างไม่ผ่านบ้าง ซึ่งทำออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีบางเรื่องทำได้ดีแล้ว ก็ขอให้ทำต่อบางเรื่องที่ทำแล้วยังมีข้อที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงก็หวังว่ารัฐบาลจะรับฟังในการทำงานของฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์และฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน
“โดยในเชิงของรัฐศาสตร์นั้น 100 วันแรกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก เพราะอย่างที่ทุกคนรู้ว่าการเมืองไม่มีเวลาฮันนีมูน โดยเฉพาะวิเคราะห์แบ่งเป็น 3 ประการประการที่ 1 แสดงถึงความมุ่งมั่นในการรักษาสัญญาที่ให้กับประชาชนก่อนมาเป็นรัฐบาล ประการที่ 2 คือ โรดแมป 100 วันแรกในการตามงานหรือสั่งงาน ประการที่ 3 คือการบริหารความคาดหวังความเชื่อมั่นนักลงทุนจากต่างประเทศ แต่เข้าใจว่ามีข้อจำกัดเรื่องเวลาและงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลงานรัฐบาลเศรษฐาประกอบด้วยกรอบ 5 คือ 1.คิดดีทำได้ การช่วยเหลือตัวประกันชาวไทยในอิสราเอล คือสิ่งที่รัฐบาลทำได้ดี ,จัดหาวัคซีน HPV รัฐบาลทำได้ดี การแก้ปัญหาหนี้ในระบบและนอกระบบ ผ่านการผ่านการแถลง 2 ครั้งของนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐบาลเข้าใจว่าปัญหาคืออะไร ทั้งการอนุมัติงบเยียวยา 50,000 บาท
ช่วยเหลือตัวประกันออกมา 23 คน อนุมัติสินเชื่อ คืนถิ่นให้กับกลุ่มแรงงาน พร้อมฝากช่วยเหลือกลุ่มตัวประกันที่ถูกกลุ่มฮามาส อีก 9 คนหวังว่ารัฐบาลจะไม่ลืมพวกเขา” นายพิธา กล่าว
นายพิธา กล่าวว่า 2.คิดไปทำไป การปรับเปลี่ยนไปมา ไม่ว่าจะเป็นที่มาของเงิน เทคโนโลยีที่ใช้ และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายดิจิทัลวอลเลท และการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ รวมถึงเรื่องของโครงการแลนบริด ซึ่งในนโยบาย แจกเงินดิจิตอล wallet ที่มีกรรมเปลี่ยนมาแล้ว 4 ครั้ง จะเป็นการใช้งบประมาณที่เราลูกหลานเราต้องมาชดใช้ในอนาคต รวมถึงเป็นการเบียดบังงบประมาณที่สามารถใช้แก้ปัญหาเรื่องอื่นๆในระยะยาวต่อได้ ซึ่งการที่รัฐบาลไม่คิดอย่างรอบคอบและเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาทำให้เกิดความสับสนในสังคมและในกลุ่มของตลาดทุนด้วย สิ่งที่คาดหวังจากรัฐบาลคือต้องมีแผน 2 หากจะเอา wallet ไม่ควรที่จะต้องปรับเปลี่ยนอีกแล้ว แต่หากจะไม่เอาดิจิตอล wallet ก็จะต้อง มีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาว
นายพิธา กล่าวว่า 3.คิดสั้นไม่คิดยาว เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าไฟ ค่าพลังงาน ค่าคมนาคม ลดรถไฟฟ้า 20 บาทตลอด มีแต่มาตรการระยะสั้นและยังไม่เห็นมาตรการการแก้ปัญหาที่ต้นตอ เช่นเรื่องของการลดค่าไฟฟ้า ให้อยู่ที่ 3 บาท 99 สตางค์ ต่อหน่วย หรือลดค่าโดยสาร รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่ตอนนี้ยังไม่เห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต้นลม 4. คิดใหญ่ทำเล็ก การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไม่ว่าจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ หรือการบริหารการท่องเที่ยวผ่านวีซ่าฟรี และการลดความเหลื่อมล้ำให้กับประเทศไม่ว่าจะเป็นที่ดินสปก. และค่าแรง ซึ่งเราเห็นนายกรัฐมนตรีสั่งการ เมื่อไม่ได้ตัวเลขที่ควรจะเป็น หรือตัวเลขที่ได้สัญญากับพี่น้องประชาชนไว้ ซึ่งมีการแสดงออกถึงความไม่พอใจ
“สิ่งที่รัฐบาลทำแล้วก็เป็นเรื่องที่ดี และมีความคล้ายคลึงกับนโยบายที่ก้าวไกลเคยเสนอไว้ ว่าคณะกรรมการซอฟพาวเวอร์ การเคาะงบประมาณ 5 พันล้านบาท สนับสนุน 11 อุตสาหกรรม หรือการทำเฟสติวัล Winter festival และสงกรานต์ตลอดเมษายน แต่สิ่งที่ควรจะเป็นคืออยากเห็นการเสนอแก้กฎหมาย เช่น พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ เพิ่มเสรีภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน หรือการแก้กฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ เพื่อลดขั้นตอนขออนุญาตกองถ่ายหรือจัดเฟสติวัล หรือการสนับสนุนการรวมตัวของแรงงานฟรีแลนซ์ รวมไปแก้ถึงการแก้กฎกระทรวงสุราก้าวหน้า เป็นต้น” นายพิธา กล่าว
นายพิธา กล่าวว่า 5.คิดอย่างทำอย่าง ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการเมือง เช่น ร่างรัฐธรรมนูญ การทำประชามติที่มาของสสร. และไม่ชัดเจนว่าจะมีสสร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ การปฏิรูปกองทัพ ทั้งนี้ค่อนข้างชัดเจนตั้งแต่สภาสมัยที่แล้วในการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคเพื่อไทยมีความคิดที่เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับพรรคก้าวไกล แต่การกระทำตอนนี้ค่อนข้างตรงข้ามกับสิ่งที่เคยคิดไว้ ความคาดหวังการทำงานของรัฐบาลในปีหน้า ที่รัฐบาลควรมี Strategic Roadmap ที่ชัดเจนที่ต้องการเห็นแผนการทำงานของรัฐบาล 1 ปี ต้องมีการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพมากว่านี้ และในฐานะรัฐบาลผสมก็ต้องทำงานให้มีเอกภาพมากกว่านี้ และควรศึกษารายละเอียดของโครงการที่จะทำให้ดีเสียก่อนที่จะประกาศออกไป และต้องเป็นแผนที่ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถติดตามกับการทำงานของรัฐบาลได้ และมี KPI ที่ชัดเจน
ส่วนสถานการณ์การเมืองในปีหน้า มีการวิเคราะห์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีจากนายเศรษฐา ทวีสินเป็นน.ส.แพทองธาร ชินวัตร และโครงการดิจิตอลวัลเลทจะไม่เกิดนั้น นายพิธา กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนทิศทางน่าจะเหมาะสมมากกว่าการหาทางลง เพราะประเทศไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้ แต่ขอให้ปรับเปลี่ยนทิศทางมีเป้าหมายและมีความเป็นมืออาชีพ ก็จะทำให้สถานการณ์ต่างๆที่ดูแล้วเหมือนร้อนในปีหน้า ก็จะเบาบางลงได้และการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำในตอนนี้ควรให้โอกาสนายกรัฐมนตรีได้ทำงานก่อน ส่วนในอนาคตก็มีการประเมินสถานการณ์อยู่เรื่อยๆแต่คงไม่เป็นสาระสำคัญในการแถลงวันนี้
สำหรับกรณีที่มีการประเมินว่านายเศรษฐา ทวีสินไม่ใช่นายกรัฐมนตรีตัวจริง นายพิธา กล่าวว่าเห็นตัวอย่างเรื่องที่นายกฯ ออกข้อสั่งการที่ไม่พอใจ ค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งหากเป็นตนก็จะไปดูสูตรการคำนวณ ซึ่งนอกจากจะสั่งงานว่าเอาเป้าหมายอย่างไรก็ต้องส่งคนเข้าไปดูว่ากระบวนการเกิดขึ้นอย่างไรก็จะไม่มีเซอร์ไพรส์ออกมาในหน้าข่าว หากมีการตามงานภายใน จึงอยากเสนอแนะนายกรัฐมนตรี ว่า ไม่สามารถสั่งการลงไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทันที เพราะการบริหารราชการแผ่นดินไม่เหมือนกับเอกชน ที่จะต้องมีกระบวนการในการบริหารงานและให้คนไปติดตามว่าสิ่งที่สั่งการนั้นเป็นไปได้ทางกฎหมายหรือไม่ ถ้าเป็นไปไม่ได้ก็จะต้องมีการปรับแก้อย่างไร
“โจทย์หินของรัฐบาล คือเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในปีหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ GDP ที่ไม่แน่ใจว่าจะถึง 2% หรือไม่ เรื่องของดิจิตอลวาเล็ตที่อยู่ในกฤษฎีกา เรื่องของการท่องเที่ยวที่รายได้ไม่ถึง 4 แสนล้านบาทตามเป้าหมาย แม้จะมีคนมาท่องเที่ยว 27 ล้านคนก็ตาม การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่คาดไว้ในระดับ60% ดังนั้นฟรีวีซ่าตรงนี้ ก็ไม่เพียงพอ คำตอบนี้ขึ้นอยู่กับการทำงานของรัฐบาล หากฟังประชาชนบ้าง เพื่อนนักการเมืองบ้างว่ามีความจำเป็นว่าจะต้องทำงานแบบมีโรดแมป” นายพิธา กล่าว
ส่วนจะให้เวลารัฐบาลทำงานนานแค่ไหนก่อนที่จะมีการยื่นญัตติอภิปรายทั่วไป นายพิธา กล่าวว่า เรื่องการยื่น 151จะรอดูว่า หากพ.ร.บงบประมาณไม่มีรายละเอียด การยื่นอภิปรายไม่วางใจ น่าจะเป็นเรื่องที่ผู้นำฝ่ายค้าน ก็คงจะยื่นในไตรมาสที่ 1 หรือไตรมาสที่ 2 ขึ้นอยู่กับผลการชี้แจงผ่านพ.ร.บ.งบประมาณที่เข้ามาก่อน ก็จะใช้โอกาสนั้น ในการชำแหละเรื่องของงบประมาณ ว่าตรงกับสิ่งที่เสนอไว้ในเรื่องวิสัยทัศน์หรือไม่ รวมถึงการชี้แจงคำถามของทางฝ่ายค้านหากทำได้ไม่ดี ก็คงจะมีการยื่นอภิปรายไม่วางใจ ขณะเดียวกันยังติดตามเรื่องการทุจริต การใช้งบประมาณ ก็มีหากมีหลักฐานที่ชัดเจนก็อาจจะอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ขึ้นอยู่กับการทำงานของรัฐบาลในต้นปีหน้า
นายพิธาไม่ตอบคำถามว่ามั่นใจในพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่หรือไม่หลังเปลี่ยนกรรมการบริหารพรรค ว่าจะยังคงเป็นฝ่ายค้านร่วมกันว่า แต่กะว่ามั่นใจในตัวเราเรามั่นใจในตัวเรา ไม่ว่าจะอยู่ฝั่งไหน พรรคก้าวไกลก็ยังเป็นพรรคอันดับ 1 ของประเทศอยู่ดี เป็นพรรคที่มีสส.มากที่สุด มีประธานกรรมาธิการอยู่หลายคณะ ดังนั้น เราตั้งใจที่จะทำงานเพื่อประชาชนไม่ว่าจะผ่านกรรมาธิการผ่านสภาฯ เชื่อว่าจะเป็นฝ่ายค้านเชิงรุกและทำงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างความสุขให้กับพี่น้องประชาชน และเรามั่นใจในตัวของเราและมั่นใจในการทำงานของเราว่าก้าวไกลจะทำงานให้เป็นความหวังของพี่น้องประชาชนให้สมกับที่พี่น้องประชาชนให้มา
ส่วนที่มองกันว่า ฝ่ายค้านมัวแต่แก้ปัญหาภายในพรรคไม่ได้ทำงาน มีผลงานนายพิธา กล่าวว่า ในส่วนที่มีปัญหาก็ต้องแก้กันไป แต่สิ่งสำคัญ จะต้องทำงานตามที่สัญญาไว้กับประชาชน โดยเป็นฝ่ายค้านที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่จ้องแต่จะล้มรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ยอมรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ว่าส.ส.หลายคนของพรรคเป็นส.สส้มหล่นซึ่งก็จะพยายามพัฒนาบุคลากรของพรรคให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่
ผู้สื่อข่าวได้ถามความรู้สึกหลังการแถลงข่าวกรณีนนกุล ชานน สันตินธรกุล เปิดตัวกับแอฟ ทักษอร นายพิธาหัวเราะพร้อมกับบอกว่า “ดีใจด้วยครับ” .-312.-สำนักข่าวไทย