fbpx

GPSC โชว์ความสำเร็จการลงทุนพอร์ตพลังงานสีเขียว 

กรุงเทพฯ 8 พ.ย.-GPSC ประกาศความสำเร็จในปี 2566 อีกครั้งของ Avaada Energy ชนะประมูลโครงการโซลาร์กำลังการผลิต 1.4 GW ดันกำลังการผลิตในประเทศอินเดียเพิ่มต่อเนื่อง สร้างปัจจัยบวกให้ GPSC ก้าวเข้าใกล้เป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานสะอาดมากกว่า 50% ในปี 2573  


นายวรวัฒน์ พิทยศิริ   ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า  บริษัท  อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ไพรเวท จำกัด(Avaada Energy Private Limited) หรือ Avaada Energy ในกลุ่มอวาด้า (Avaada Group) ผู้ดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนชั้นนำในประเทศอินเดีย ซึ่ง GPSC ถือหุ้นในสัดส่วน 42.93% ผ่านบริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล ซินเนอร์ยี่จำกัด (GRSC) ได้ชนะการประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตติดตั้ง 1.4 GW (กิกะวัตต์) ที่มีรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวทำให้ปัจจุบัน กำลังการผลิตรวมของ Avaada Energy สูงขึ้นอยู่ที่ 8.76 GW จึงเป็นปีแห่งการเติบโตที่สำคัญของพอร์ตการลงทุนพลังงานสีเขียวของกลุ่มอวาด้า และ GPSC ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจ พร้อมกับการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายของ GPSC ในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนของบริษัทฯ ให้มากกว่า 50% ภายในปี 2573

การเปิดประมูลในครั้งนี้จัดขึ้นโดย NHPC Limited หรือ NHPC องค์กรภาครัฐผู้ประกอบธุรกิจไฟฟ้าในประเทศอินเดีย เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศ ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่สูงขึ้น  ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลอินเดียส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพลังงานสะอาดในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เพื่อเดินหน้าสู่นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน ทำให้ NHPC ได้เปิดให้ภาคเอกชนเข้าร่วมประมูล ตั้งแต่มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา และ Avaada Energy ได้รับชัยชนะจำนวนราว 1 ใน 3 ของขนาดกำลังการผลิตรวมที่เปิดประมูล โดยผ่านการคัดเลือกจากการเสนอราคาในรูปแบบ e-Reverse Auction ซึ่งจะมีการลงนามซื้อขายไฟฟ้าหรือ PPA ที่มีอายุสัญญารับซื้อเป็นเวลา 25 ปี คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ภายใน 24 เดือน ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ2,500 ล้านหน่วยต่อปี สามารถจ่ายไฟฟ้าครอบคลุมภาคครัวเรือน ประมาณ 1.8 ล้านครัวเรือน และยังมีส่วนสำคัญต่อการลดการปล่อย CO2 สู่ชั้นบรรยากาศเทียบเท่า กว่า 2.3 ล้านตันต่อปี .-สำนักข่าวไทย  


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย