ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : ภัยไซเบอร์ SMS ชวนเชื่อ หลอกดูดเงิน


20 กันยายน 2566 – ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีใครหลายคนได้รับ SMS ชวนเชื่อจากมิจฉาชีพ บ้างอ้างว่ามาจากธนาคารให้กรอกข้อมูลตัวส่วนตัวต่าง ๆ จนกระทั่งถูกดูดเงิน ?! ร่วมเรียนรู้กลโกงของมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในโลกไซเบอร์ และศึกษาหาทางสร้างภูมิคุ้มกันกับชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์


อันดับที่ 5 : เตือนภัย SMS เงินกู้ 

ตรวจสอบข้อมูลกับ : นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย
 
วิธีการของมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะหลอกให้กดลิงก์เข้าไป จากนั้นให้กรอกข้อมูลส่วนตัวแต่เมื่อกดลิงก์หรือกรอกข้อมูลไปแล้วกลายเป็นสมัครสินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ยแพงมหาโหดโดยทันที


ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของท่าน อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว และไม่กดลิงก์จาก sms ต้องสงสัยที่ไม่ทราบที่มาโดยเด็ดขาด


อันดับที่ 4 : อย่าตกใจได้อีเมลใบเสร็จที่ไม่ได้ซื้อ

ตรวจสอบข้อมูลกับ : พ.ต.อ.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ


การส่งอีเมลมาหลอกให้เราตกใจว่าเราไปสมัครใช้บริการ หรือไปซื้อสินค้า เป็นใบเสร็จรับเงินมา เป็นเทคนิคที่คนร้ายใช้หลอกลวงกันเยอะมากในปัจจุบัน

โดยมิจฉาชีพจะมีลิงก์มาให้ แล้วบอกว่าหากคุณไม่ได้ซื้อสินค้าตัวนี้จริง ให้คลิกที่ลิงก์ พอเราคลิกก็จะพาเราไปสู่เว็บ ดูหน้าตาเหมือนเว็บของจริงทุกอย่าง แต่หากสังเกตดีๆ จะพบความแตกต่างระหว่างเว็บจริงกับเว็บปลอม ซึ่งต่างกันตรงคำว่า “apple” ของจริงใช้ตัว l (แอลเล็ก) ของปลอมใช้ตัว I (ไอใหญ่) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมากจนเหยื่ออาจหลงเชื่อ

ข้อสังเกตคือ เว็บจริงจะสามารถคลิกไปยังลิงก์อื่น ๆ ในเว็บได้ แต่เว็บปลอมคลิกไม่ได้ แต่จะให้ใส่รหัส apple id อย่างเดียวเลย และหากใครหลวมตัวใส่รหัส apple id ไปแล้ว หน้าต่อๆ ไปของเว็บปลอมดังกล่าวจะหลอกให้ใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน และล้วงข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ โดยเว้นช่องให้เรากรอกรายละเอียดใส่ลงไป จนกระทั่งไปสู่การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ที่ต้องใส่รหัสต่าง ๆ

หากใครหลวมตัวใส่แค่รหัส apple id แนะนำว่าให้เปลี่ยนรหัสทันที ส่วนใครที่ใส่ข้อมูลบัตรเครดิตไปแล้วควรรีบอายัด หรือโทรปรึกษาบริษัทบัตรเครดิตนั้น ๆ โดยด่วน


อันดับที่ 3 : เตือนภัย ! SMS หลอกเงินเข้า

ตรวจสอบข้อมูลกับ : อาจารย์ ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ประธานกรรมการบริหาร บ. เอซิส โปรเฟสชั่นนัลเซ็นเตอร์ จำกัด

สำหรับมุกการส่ง SMS หลอกว่าคุณเป็นผู้โชคดีที่ได้รับรางวัล มักจะแอบอ้างเป็นองค์กรหรือบริษัทต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ มิจฉาชีพจะแจ้งว่าคุณเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลพร้อมแนบลิงก์ปลอม หลอกให้คุณกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อรับรางวัล จากนั้นมิจฉาชีพจะนำข้อมูลของคุณไปใช้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายได้

ดังนั้น ไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณาหลอกลวงเกินจริง หากตรวจสอบจนมั่นใจแล้วว่าเป็น SMS หลอกลวง ให้รายงานสแปม หรือกดบล็อกหมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องสงสัย

อันดับที่ 2 : เตือนภัย ! SMS ปลอม หลอกดูดเงิน

ตรวจสอบข้อมูลกับ : อาจารย์ ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ประธานกรรมการบริหาร บ. เอซิส โปรเฟสชั่นนัลเซ็นเตอร์ จำกัด

กรณีนี้มิจฉาชีพจะส่ง SMS ไปยังเหยื่อ แอบอ้างว่ามาจากธนาคารต่าง ๆ โทรเข้าโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย จากนั้นจะหลอกให้คลิกลิงก์ปลอม (Phishing) เพื่อขโมยข้อมูลและดูดเงินออกจากบัญชี

หากเหยื่อหลงเชื่อ และกดลิงก์ดังกล่าวก็จะถูกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก มิจฉาชีพจะหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน เพื่อหวังให้ผู้เสียหายกรอกรหัสชุดเดียวกับรหัสการเข้าถึงแอปพลิเคชันธนาคารในโทรศัพท์มือถือ รวมไปถึงขอสิทธิ์ในการควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ เช่น ดูและควบคุมหน้าจอ ดูและดำเนินการ เป็นต้น

เมื่อผู้เสียหายเชื่อและติดตั้งแอปเรียบร้อยแล้ว ก็จะไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ มิจฉาชีพจะทำการล็อกหน้าจอทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง โดยจะแสดงข้อความว่า อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบห้ามใช้งานมือถือ จากนั้นก็จะนำรหัสที่ผู้เสียหายเคยกรอกไว้มาทำการโอนเงินออกจากบัญชีจนหมด

อันดับที่  1 : ชำแหละกลโกง “หลอกแจก” มือถือ (และอีกสารพัดรางวัล)

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่า หากได้ข้อความแบบนี้ อย่าหลงเชื่อและอย่าแชร์ต่อ เพราะอาจจะต้องเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ล้วงข้อมูลได้ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนได้เลยว่าเป็นการถูก SCAM เพราะของฟรีมักไม่มีในโลก มิจฉาชีพจะหลอกเหยื่อ ว่า “คุณคือผู้โชคดี ได้รับรางวัล” ซึ่งของรางวัลที่แอบอ้างก็มักจะมีมูลค่าสูง เช่น สมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด เงิน ทอง แต่ก่อนที่จะได้รางวัลเหยื่อต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองก่อน หรืออาจจะต้องโอนค่าธรรมเนียมการรับรางวัลด้วย

เมื่อได้ข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อแล้ว มิจฉาชีพจะสวมรอยเป็นตัวเราแล้วอาจจะแชตไปหาเพื่อน ๆ คนสนิทหรือคนที่เรารู้จักเพื่อหยิบยืมเงิน หรืออาจจะเข้าไปดูประวัติแชตซึ่งอาจจะเป็นความลับของเรา และอื่น ๆ ที่เราไม่ทราบจุดประสงค์ได้

ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และณัฐวัฒน์ จิตรมั่น
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร