🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
โรค SLE คืออะไร
โรค SLE เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดหนึ่ง
SLE ย่อมาจาก Systemic Lupus Erythematosus
โรค SLE ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง
มีกลุ่มภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่เล่นงานเนื้อเยื่อดี ๆ ของตัวเราได้หลาย ๆ ระบบพร้อมกัน
อาการที่ปรากฏขึ้น จะเกิดที่อวัยวะใด ๆ ก็ได้ และค่อนข้างหลากหลาย
โรค SLE เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ แทนที่ภูมิคุ้มกันจะไปจัดการกับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย แต่กลับเล่นงานเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย
โรคแพ้ภูมิตนเอง อาจจะเป็น SLE หรือโรคแพ้ภูมิชนิดอื่น ๆ ก็ได้
อาการแสดงที่ปรากฏของโรค SLE
อาการแสดงที่ปรากฏคือการทำลายอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย พบได้บ่อยหลายอวัยวะ เช่น
1. ไขข้อ เกิดอาการข้ออักเสบ
2. ผิวหนัง เกิดอาการผิวหนังอักเสบ หรือผื่นไวแสง ที่พบบ่อยคือผื่นปีกผีเสื้อบนใบหน้า
3. ไต เกิดไตอักเสบ มีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอาการที่ไม่ได้พบบ่อยเหมือนกับ 3 กลุ่มอาการนี้ เช่น ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หลอดเลือดหัวใจ สามารถเกิดได้ทุกที่เหมือนกัน
อาการของโรค SLE หลากหลายมาก และเป็นอาการอักเสบเรื้อรัง
การดำเนินของโรค SLE มีทั้งระยะโรคสงบ และระยะกำเริบ
ระยะโรคสงบตัวผู้ป่วย SLE เหมือนคนปกติทั่วไป แต่ระยะกำเริบก็จะแสดงอาการให้เห็น
อาการต่าง ๆ ที่ปรากฏของผู้ป่วย SLE ถ้าเป็นนานและไม่ได้รับการรักษา จะเกิดการทำลายอวัยวะอย่างถาวร และนำมาซึ่งความพิการ
ถ้าเกิดขึ้นที่อวัยวะสำคัญ ทำให้เสียชีวิตได้เหมือนกัน
อะไรคือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค SLE
โรค SLE มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วย
แพทย์ตรวจเลือดแล้วไม่สามารถบอกได้ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรค SLE แต่ถึงจะมีความเสี่ยง ก็ไม่ใช่ทุกคนจะต้องเป็นโรค SLE
ในคนที่สมาชิกในครอบครัวมีภาวะแพ้ภูมิตนเอง ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม อาจจะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติทั่วไป
แพทย์จึงไม่สามารถทำนายได้เลยว่าใครจะเป็นโรค SLE หรือไม่เป็น
ไม่มีใครรู้ได้เลยว่าในร่างกายของคนเรา มีอะไรเป็นปัจจัยที่ชักนำให้เกิดโรค SLE เพียงแค่มีปัจจัยทางพันธุกรรมบางส่วน หรือมีการติดเชื้อที่รบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น การติดเชื้อ หรือการใช้ยาบางชนิด อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค SLE ได้
ดังนั้น บางคนอาจมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องพันธุกรรม แต่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เข้ามาด้วย ก็อาจจะไม่เกิดโรค SLE ตลอดชีวิตของเขาเลยก็เป็นได้
โรค SLE รักษาให้หายขาดได้มั้ย
ปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาโรค SLE ให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมให้โรคอยู่ในระยะสงบ
ถ้าผู้ป่วยที่โรคอยู่ในระยะสงบก็สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติได้ทุกอย่าง
เวลาที่คุณหมอดูแลผู้ป่วยโรค SLE ระยะยาว เชิงการป้องกันเรื่องของแสงแดดที่ทำให้โรค SLE กำเริบได้ ก็จะแนะนำให้ผู้ป่วยทาครีมกันแดด ทาอย่างไรให้มีประสิทธิภาพดีพอตามที่เขียนไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์
เมื่อเป็นโรค SLE แล้ว ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
สิ่งสำคัญคือ ต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็ง และดำเนินชีวิตต่อไป
ปัจจุบัน ทางการแพทย์มียารักษาโรค SLE ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
ใครก็ตามที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค SLE ต้องติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีวินัยกินยา หลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้โรค SLE กำเริบ
ดูเพิ่มเติมรายการ “ชัวร์ก่อนแชร์” https://www.youtube.com/watch?v=5SoVoes2LYc
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter