fbpx

ระวัง ! เว็บไซต์-ไลน์บริษัทเงินกู้ปลอม ซ้ำอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ หลอกโอนเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อของบริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Country Group Holdings) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
อุบาย : ใช้เว็บไซต์ และบัญชีไลน์ปลอม หลอกให้ส่งข้อมูลสำคัญ ทำสัญญาเงินกู้ และโอนเงิน
ช่องทาง : เว็บไซต์, แอปพลิเคชันไลน์

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์บริษัทผู้ให้บริการด้านการเงิน หลอกแอดไลน์ อ้างเหตุต้องทำเอกสาร ฉวยข้อมูลสำคัญ และเงินค่าบริการ รวมถึงสร้างสถานการณ์ให้เหยื่อติดต่อไลน์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปลอม เพื่อข่มขู่ หวังให้กลัวจนโอนเงินเพิ่ม ด้าน ‘โฆษก’ แนะให้ระมัดระวังในการกู้เงินลักษณะนี้ พร้อมแนบ “แนวทางป้องกันการถูกหลอกให้กู้เงินออนไลน์”

กรุงเทพฯ 12 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์ของบริษัทผู้ให้บริการด้านการเงิน หลอกแอดไลน์ เพื่อดักเอาข้อมูลสำคัญ และเงินค่าบริการของเหยื่อไป นอกจากนี้ยังสร้างสถานการณ์ให้เกิดความเข้าใจผิด และแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ อย่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างอีกด้วย

สร้างเว็บไซต์-ไอดีไลน์ปลอม แอบอ้าง เพื่อหลอกให้โอนเงิน



บช.สอท. ได้รับรายงานจาก กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่า ก่อนหน้านี้ได้รับแจ้งร้องทุกข์เกี่ยวกับการหลอกลวงให้กู้เงิน ผ่านเว็บไซต์ปลอมของบริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริง (https://www.cgholdings.co.th/th) เป็นอย่างมาก มิจฉาชีพอาศัยความน่าเชื่อถือขององค์กรประกอบกับความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน มาสร้างความเสียหาย โดยแอบอ้างว่าเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินแบบครบวงจร และโฆษณาชวนเชื่อถึงข้อเสนอที่ดีมากเกินไป เช่น สมัครได้ง่าย, ให้วงเงินไม่อั้น, อนุมัติเร็ว, มีดอกเบี้ยต่ำ, ไม่ตรวจสอบเครดิตบูโร, ใช้เอกสารน้อย, ปลอดภัย และมีกฎหมาย PDPA คุ้มครอง ทำให้เหยื่อหลงเชื่อจนยอมแอดไลน์ เพื่อติดต่อไปขอรายละเอียดเพิ่มเติม


อุบายดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้นที่มิจฉาชีพจะได้ข้อมูลสำคัญ และเงินของเหยื่อไป ผ่านทางการขอข้อมูล เพื่อทำเอกสารสัญญาเงินกู้ รวมถึงแจ้งให้โอนเงินที่อ้างว่าเป็นค่าธรรมเนียม ค่าเบี้ยประกัน หรือค่าอื่น ๆ

ครั้งเดียวคงไม่พอ ! ยังอ้างเหตุต้องโอนเพิ่ม แถมสร้างสถานการณ์ให้เข้าใจผิด
เมื่อเหยื่อโอนเงินไปแล้ว มิจฉาชีพจะอ้างเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้เหยื่อโอนเงินมาเพิ่มเป็นครั้งที่สอง หรือมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินผิดบัญชี การโอนเงินเกินเวลาที่กำหนด หรือการทำธุรกรรมผิดพลาดก็ตาม ภายหลังจะมีการแนะให้ทางเหยื่อติดต่อไปยังไลน์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นไลน์ปลอม เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติม เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ และติดต่อเข้าไปก็จะถูกข่มขู่ว่า “กระทำผิดกฎหมาย” ให้โอนเงินมาเพิ่มอีก

โฆษก บช.สอท. แนะให้ประชาชนระมัดระวังในการกู้เงินลักษณะนี้
ด้านโฆษก บช.สอท. กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ประชาชนควรพึงระวังการกู้เงินที่โฆษณาชวนเชื่อถึงข้อเสนอที่ดีมากเกินไป ควรตรวจสอบให้ถี่ถ้วนว่าผู้ให้บริการได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องหรือไม่ หากประชาชนจำเป็นต้องกู้เงิน ควรเลือกใช้บริการสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ ศึกษารายละเอียดให้ดี รวมถึงต้องมีสัญญากู้ยืมเงินที่ชัดเจน และเป็นธรรมด้วย โดยแนวทางป้องกันการถูกหลอกให้กู้เงินออนไลน์ มีดังนี้
1. ถ้าผู้ให้บริการกู้เงินรายใด แจ้งให้ผู้ขอกู้โอนเงินก่อน ไม่ว่าจะเป็นค่าใด ๆ ก็ตาม ให้สันนิษฐานว่าเป็นมิจฉาชีพหลอกลวงแน่นอน
2. ตรวจสอบผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตได้ที่ เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th)
3. เว็บไซต์ปลอมจะไม่สามารถเข้าถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ ใช้เพียงหลอกลวงให้เหยื่อเพิ่มเพื่อนทางไอดีไลน์เท่านั้น
4. ระวังไลน์ทางการปลอม ตรวจสอบให้ดีว่า มีสัญลักษณ์ยืนยันตัวตนโล่สีเขียว หรือสีน้ำเงิน หรือไม่
5. ไม่ควรกู้เงินผ่านแอปพลิเคชันที่ถูกส่งลิงก์แนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ
6. แอปพลิเคชันเงินกู้นอกระบบ มักจะตั้งชื่อคล้ายคลึงกับผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต หรือแอบอ้างเป็นผู้ได้รับอนุญาต ควรสอบถาม หรือหาข้อมูลด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่า เป็นแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการจริงหรือไม่
7. แอปพลิเคชันเงินกู้สามารถเข้าถึงข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์มือถือได้ มิจฉาชีพจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ข่มขู่บุคคลดังกล่าว เพื่อให้ผู้กู้อับอาย และรีบนำเงินมาชำระโดยเร็ว
8. ไม่ควรหลงเชื่อ เพียงเพราะมีการสร้างความน่าเชื่อ เช่น สอบถามข้อมูลส่วนตัว ให้ทำสัญญาเงินกู้ และขอเอกสารต่าง ๆ อย่างสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สมุดบัญชีเงินฝากที่คล้ายกันกับการขอกู้ที่ธนาคาร

ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
ผู้สื่อข่าว : สุวัชรียา จันทร์บัว
พิสูจน์อักษร : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย, เบญจมา ส้มเช้า


ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง