นายกฯ สั่งรับมือฝุ่น PM 2.5

ทำเนียบ  วันนี้  (   3 ก.พ.)    นายกฯ สั่งการประเมินสถานการณ์รับมือฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) วางแผน แก้ไขปัญหาในทุกมิติ ทั้งระยะสั้นระยะยาว


นายอนุชา บูรพชัยศรี   รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับ และสั่งการให้เดินหน้าแผน   “3 พื้นที่ 7 มาตรการ” รับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของประเทศไทย    ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ    ทั้งในระยะยาวสั้น และระยะยาว รวมทั้งสั่งการให้ประชาสัมพันธ์สื่อสารให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5  พร้อมแจ้งเตือนถึงความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพ

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้ที่มีความรุนแรงเกิดจาก ภาพรวมของพื้นที่ ทั้งพื้นที่เมือง พื้นที่เกษตร และพื้นที่ป่า ประกอบกับสภาพอุตุนิยมวิทยาที่ไม่เอื้อต่อการกระจายตัวของฝุ่นละออง และเป็นช่วงรอยต่อฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน สภาวะอากาศนิ่ง ลมสงบ ส่งผลต่อการสะสมของฝุ่นละอองในบรรยากาศ ทำให้ระดับฝุ่นละอองมีค่าสูงขึ้น อีกทั้งอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ปีนี้มีความแห้งแล้งมากกว่าปีที่ผ่านมา จึงเป็นปัจจัยเสริมทำให้ PM2.5 อาจมีความรุนแรงขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ทุกหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมทั้ง ติดตามสอบถามการแก้ไขปัญหา การทำงานของทุกหน่วยเป็นระยะ เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแนวทางของนายกรัฐมนตรี ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด


โดยกระทรวงสาธารณสุข กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากจังหวัดใดที่มีค่าฝุ่นเกิน 51 มคก./ลบ.ม. ติดต่อกันเกิน 3 วัน ให้พิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center : PHEOC) เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์อย่างเป็นระบบ ส่วนจังหวัดที่มีค่า PM 2.5 ระหว่าง 37.6-50 มคก./ลบ.ม. ให้เปิดศูนย์บัญชาการสถานการณ์ (OC) ระดับจังหวัดรองรับ รวมถึงให้เร่งรัดสื่อสารความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 แจ้งเตือนถึงความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพ

ด้านกระทรวงคมนาคม   ยกระดับการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เช่น การออกตรวจวัดควันดำจากท่อไอเสียของรถบรรทุกและรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การตรวจสภาพรถบรรทุกและรถโดยสาร การตรวจสอบการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถ การตรวจสอบยานพาหนะของหน่วยงานราชการ และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ขณะที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เร่งรัดการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและแจ้งเตือนล่วงหน้า 7 วันทุกพื้นที่ ยกระดับการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร (ชิงเก็บ ลดเผา และ Burn Check) ลดจุดความร้อน ป้องกันและควบคุมการเกิดไฟในทุกพื้นที่ และพัฒนาระบบพยากรณ์ ความรุนแรงและอันตรายของไฟ (Fire Danger Rating System : FDRS) เป็นต้น รวมทั้งขอความร่วมมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ทำความเข้าใจกับเกษตรกรเพื่อลดปริมาณการเผาในพื้นที่ ทั้งการเคาะประตูบ้านแจ้งข่าวทำ ความเข้าใจ ตลอดจนกำชับให้มีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในแต่ละพื้นที่แบบครบวงจร ทั้งการชิงเก็บ ลดเผา และการใช้แอปพลิเคชัน Burn Check เพื่อลงทะเบียนและจองเวลา ในการเผาล่วงหน้า เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในแต่ละพื้นที่


นายอนุชา กล่าวอีกว่า ในส่วนของการแก้ไขปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน และได้นำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ให้ความเห็นชอบและออกเป็นประกาศ ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศให้เข้มงวดขึ้น โดยกรมควบคุมมลพิษจะมีการประกาศใช้ กำหนดมาตรฐานฝุ่นละออง PM 2.5 ใหม่ จากเดิมประเทศไทยจะใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง กำหนดค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นการดำเนินการตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เป็น ให้ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. และกำหนดมาตรฐานค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. โดยจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 โดยจะส่งผลให้มาตรการการควบคุมการปล่อยมลพิษโรงงานอุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่งรถยนต์ จะมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพื่อลดอัตราการปล่อยมลภาวะออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ยังจะมีมาตรการการควบคุมและลดปริมาณการเผาอ้อยหรือการเผาป่า

“รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ กำหนดแนวทาง และมาตรการรับมือสถานการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในทุกมิติ พร้อมกับได้เร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุก แจ้งเตือน รวมทั้งยกระดับมาตรการการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี ขอความร่วมมือประชาชนให้หันมาใช้รถสาธารณะให้มากขึ้น หมั่นตรวจบำรุงรักษารถ พร้อมทั้งเน้นย้ำให้สวมใส่หน้ากากทุกครั้งที่ออกจากบ้าน เพื่อป้องกันตนเองจากฝุ่น”  นายอนุชา กล่าว .- สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้

ปภ.ยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ใช่ผลจากอาฟเตอร์ช็อก

ปภ.แถลงชี้แจงกรณีสถานการณ์อพยพออกจากอาคาร ยืนยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ได้เป็นผลกระทบจากอาฟเตอร์ช็อก ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก

นายกฯ ติดตามภารกิจช่วยเหลือคนติดซาก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุอาคาร สตง.ถล่ม ติดตามภารกิจช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างอยู่ใต้ซากอาคาร พร้อมให้กำลังใจทุกหน่วยงานทำงานอย่างเต็มที่

ตึกถล่มแผ่นดินไหว

72 ชั่วโมง ยังมีหวังพบผู้รอดชีวิตตึก สตง. ถล่ม

ใกล้ครบ 72 ชั่วโมงเหตุตึก สตง. ถล่ม แต่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายาม และยังมีความหวังในการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซาก