กกท. แจงสาเหตุจอดำ ระบบดาวเทียมจานดำ

กรุงเทพฯ 2 ธ.ค. – กกท. แจ้งสาเหตุ ที่ กสทช. มีมติ “จอดำ” การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ที่ดูผ่านจานดาวเทียม C-Band หรือ “จานดำ” หลังถูกฟีฟ่าเตือนหลายครั้งจนถูกและขู่ระงับสัญญาณ


หลังจากที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ ฟุตบอลโลก 2022 ตรวจพบการลักลอบใช้สัญญาณถ่ายทอดสดแบบผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย จากการเข้ารหัสสัญญาณดาวเทียมแบบเดิมที่ประเทศไทยใช้อยู่ ในระบบ BISSKY โดย ฟีฟ่า ได้ส่งคำเตือนไทยมาแล้วถึง 6 ครั้ง และหากประเทศไทยไม่แก้ไข ก็อาจถูกระงับสัญญาณ ห้ามถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่เหลือ แม้ว่าจะมีการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ไปแล้วก็ตาม เพราะผิดเงื่อนไขการควบคุมที่ให้สิทธิ์การถ่ายทอสดให้อยู่ภายในประเทศไทยเท่านั้น

ทำให้การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้ช่วยประสานดำเนินการกับผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ของประเทศไทย ในการเข้ารหัสชั้นสูง (CAS) จากผู้ให้บริการโครงข่าย MUX และงดการส่งสัญญาณภาพในระบบดาวเทียม C-Band หรือ (จานดำ) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ผู้ชมในระบบดาวเทียม C-Band ไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ได้ตั้งแต่คู่เวลา 2 นาฬิกาเมื่อคืนที่ผ่านมาในเกม คอสตาริกา พบ เยอรมนี และ ญี่ปุ่น พบ สเปน จนถึงรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจอดำในระบบดาวเทียม C-Band เฉพาะช่วงที่มีการแข่งขันเท่านั้น แต่แฟนบอลยังสามารถรับชมฟุตบอลโลก 2022 ได้ตามปกติ ระบบดิจิตอลทีวี ระบบดาวเทียมเฉพาะ KU-Band (จานเล็ก), DTV Samart และโครงข่าย True Visions


ขณะเดียวกัน ผู้ว่า กกท. ยังกล่าวถึงที่มีข่าว กสทช. จะขอคืนเงิน 600 ล้านบาท หลังจากมองว่า กกท. ไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนในข้อบันทึกตกลงระหว่าง กกท. กับ กสทช. ซึ่ง กกท. ได้ทำหนังสือชี้แจงรายละเอียดถึง กสทช. ไม่ได้ละเมิดข้อตกลงแต่อย่างใด ทั้งการถ่ายทอดอย่างทั่วถึง ในกระจายสิทธิ์ให้กับดิจิตอลทีวี และปฏิบัติตามข้อกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วย

สำหรับฟุตบอลโลก 2022 แม้ว่าจะถ่ายทอดสดมา 13 วัน ให้คนไทยได้รับชม แต่ก็ยังมีปัญหาในการรับชมของประชาชนอย่างทั่วถึง และหวังว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะจบลงด้วยความเข้าใจของทุกฝ่าย เพราะมีหลายปัจจัยในข้อกฎหมายทั้งภายใน- และภายนอกประเทศของเจ้าของสิทธิ์ .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า

เครื่องจักรหนักทำงานต่อ เน้นรื้อถอนซากอาคาร โซน D

ช่วงบ่ายวันนี้ เครื่องจักรหนักเริ่มทำงานต่อ เน้นเคลียร์รื้อถอนซากอาคาร โซน D พร้อมเจาะหาโพรงเข้าหาผู้สูญหายเพิ่ม