คลังเอเปค ยอมรับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อ APEC

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 20 ต.ค.- ผลการประชุมคลังเอเปค ครั้งที่ 29 ยอมรับปัญหาเศรษฐกิจโลก ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ APEC หนุนชำระเงิน โอนเงินข้ามพรมแดน ส่งไม้ต่อสหรัฐ เจ้าภาพจัดประชุมปี 66


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 (The 29thAPEC Finance Ministers’ Meeting: APEC FMM) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ และผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศได้แก่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กองทุน IMF กลุ่มธนาคารโลก (WBG) องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ร่วมหารือ ด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งสู่การเงินการคลังยั่งยืน” โดยมีผลการประชุมAPEC FMM ดังนี้

1. ผลการประชุม APEC FMM ครั้งที่ 29 IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2566 ขยายตัว ร้อยละ 2.7 ต่อปี จากแนวโน้ม ชะลอตัวลงจากปี 2565 ส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค ในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5ต่อปี ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปีและคาดการณ์ว่าในปี 2566 เศรษฐกิจของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 เร่งขึ้นเล็กน้อยจากปี2565 โดยเศรษฐกิจโลกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานที่สูงขึ้น ผลการคาดการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของ ADB และ APEC PSUนอกจากนี้ADB ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าความร่วมมือของภูมิภาคเอเปคในด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเงินจะช่วยส่งผลให้เศรษฐกิจของเอเปคสามารถฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ


ในการนี้ผู้แทนไทยได้นำเสนอสถานการณ์และทิศทางเศรษฐกิจไทยโดยคาดว่าในปี 2565 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 – 3.5 ต่อปี เป็นการขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและนโยบายการคลังในลักษณะที่มุ่งเป้า (Targeted)เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นพร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระดับประเทศและระดับภูมิภาค

2. ผลการหารือในประเด็นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ADB และ OECDได้นำเสนอประสบการณ์ด้านการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ องค์การระหว่างประเทศข้างต้น ได้กล่าวถึงกลไกที่จะสามารถส่งเสริมให้แต่ละเขตเศรษฐกิจสามารถบรรลุสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ เช่น การพิจารณาใช้กลไกของกองทุนสีเขียวของอาเซียน (ASEAN Catalytic Green Finance Facility: ACGF) เพื่อช่วยในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Green infrastructure) การมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับการออกพันธบัตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่าง ๆ ได้แก่ การพันธบัตรสีเขียว (Green bond) พันธบัตรเพื่อสังคม (Social bond) พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability bond) พันธบัตรสีฟ้า (Blue bond) หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นนอกจากนี้ OECD ได้เน้นด้านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนและการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาเครื่องมือและมาตรฐานที่สอดคล้องและดำเนินการร่วมกันได้

ในการนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการสัมมนาเรืองDeveloping the Ecosystem for Sustainable Finance in the Capital Market เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 และการจัดทำเอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่องการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดทำนิยามด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน การพัฒนาตลาดซื้อขายคาร์บอน การส่งเสริม SMEs ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นต้น


3. ผลการหารือในประเด็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลที่ประชุมได้รับทราบผลของการจัดทำรายงานเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลและนโยบายด้านภาษีในภูมิภาคเอเปค(Digitalization and tax policy in Asia and the Pacific)ของ ADB ซึ่งมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายด้านภาษี เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในการให้ความช่วยเหลือต่อกลุ่มเป้าหมายโดยตรง การเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การอำนวยความสะดวกโดยการเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลหรือธุรกิจเข้ากับเลขประจำตัวการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลต่าง ๆ เป็นต้น

ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการสัมมนาเรื่อง Digital Technology for Efficient Tax Collection ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2565โดยเป็นการหารือเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ในการบริหารจัดการด้านข้อมูลภาษี รวมถึงแนวทางปฎิบัติด้านภาษีที่เป็นสากลยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำเอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่อง Digitalization of Fiscal Measures and Policy Innovations during the COVID-19 Pandemic ที่กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินนโยบายช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านภาษี การเงิน การบริการของภาครัฐ การศึกษา และสาธารณสุข ทั้งนี้ เอกสารข้อเสนอดังกล่าว ได้ระบุถึงกรณีศึกษาของไทยในการดำเนินนโยบายผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล อาทิ ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Payment) การเพิ่มการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture: EDC) ระบบภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government e-Payment system)

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดทำเอกสารการพิจารณาเชิงนโยบายการเชื่อมโยงการชำระเงินและการโอนเงินข้ามพรมแดน (APEC Policy Considerations for Developing Cross-border Payments and Remittances) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเขตเศรษฐกิจในเอเปคที่ต้องการเชื่อมโยงการโอนเงินและการชำระเงินระหว่างกันซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัยด้วยต้นทุนที่ถูกลงรวมทั้งสนับสนุนการค้าและการท่องเที่ยวในภูมิภาคซึ่งจะช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในช่วงหลังโควิด-19

4. ผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเซบูที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของผลลัพธ์ภายใต้การประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อประสบการณ์และวิธีการสำหรับการลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค(APEC Experiences and Available Tools for Financing a Just Energy Transition) จากผู้แทนสหรัฐอเมริกา ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวทำให้ได้ทราบถึงแนวทางในการจัดหาเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน(Just Energy Transition)ซึ่งสมาชิกเขตเศรษฐกิจสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับรูปแบบของแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละเขตเศรษฐกิจในอนาคตต่อไป .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบกุญแจมือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนดัง ส่งนอนห้องขัง

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบ “กุญแจมือ” เป็นของขวัญปีใหม่ให้อินฟลูฯ นักร้อง คนดัง ส่งนอนห้องขังวีไอพี เผยปม “ฟิล์ม รัฐภูมิ” คาดมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง