ทำเนียบรัฐบาล 15 ต.ค.-ศบค.เปิดแผนรองรับการเปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้ ชู 5 กลยุทธ์ 4 เป้าหมาย
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า ระบุถึง แผนรองรับการเปิดประเทศในช่วงพฤศจิกายนถึงธันวาคม ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศก่อนหน้านี้ โดยเน้นย้ำว่าองค์กรหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่งจะทำโดยลำพังคงเป็นไปไม่ได้ ต้องขอความร่วมมือทั้งประเทศ ทั้งในส่วนของภาครัฐ ผู้ประกอบการและภาคประชาชนด้วย
“สำหรับหลักการของแผนเปิดประเทศ จะมี 5 กลยุทธ์ และ 4 เป้าหมาย โดย 5 กลุทธ์ประกอบด้วย 1. การเปิดประเทศอย่างปลอดภัย 2. การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมดรคในกลุ่มเสี่ยง/สถานที่เสี่ยง/กลุ่มเปราะบาง 3. การเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข 4. การพัฒนาระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความเสี่ยง 5. การสร้างกลไกการบริหารจัดการแบบบูรณาการ” ผู้ช่วยโฆษกศบค. กล่าว
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ส่วนเป้าหมายสำหรับรองรับแผนการเปิดประเทศ ประกอบไปด้วย 1. สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) หรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามหลักการแพทย์และสาธารณสุข 2. สร้างความมมั่นคงด้านสุขภาพ ให้ประชาชนไทยมีภูมิคุ้มกันหมู่และมีควาปลอดภัยจาการเสียชีวิตเนื่องจากโรคดควิด-19 รวมถึงการรักษาระดับความมั่นคงด้านสาธารณสุขได้อย่างต่อเนื่อง
“3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัว โดยมีอัตราเติบโตของ GDP เป็นไปตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล 4. เสริมสร้างสังคมและวัฒนธรรม โดยประชาชนสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรมตามเดิมได้ โดยยังคงปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันและควบคุมโรค DMHTTA ต่อไป ซึ่งการเปิดประเทศอย่างปลอดภัยขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขทำแผนว่ามีประเทศไหนบ้างที่อนุญาตได้เลย คือ 5 ประเทศเดิม คือ สหรัฐ อังกฤษ เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น ตอนนี้กำลังพิจารณาเพิ่ม” ผู้ช่วยโฆษกศบค. กล่าว
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ส่วนการปรับมาตรการ เช่น ลดวันกักตัว การปรับการตรวจหาเชื้อ ปรับลดค่าประกันรักษาดโควิด และมาตรการที่เกี่ยวข้อง เช่น ประชาชนคนไทยได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม มีการใช้มาตรการ covid free setting หรือสถานประกอบการปลอดโควิด เป็นต้น นอกจากนี้ยังเฝ้าระวังการลักลอบหลบหนีเข้าออกประเทศ การจัดระบบแรงงานต่างด้าวกลับเข้าประเทศ
“การลดการจ้างงานที่ผิดกฎหมาย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน โดยกระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดูแล เฝ้าระวังป้องกันการควบคุมโรค โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง สถานที่เสี่ยง กลุ่มเปราะบางในชุมชน ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด รวมถึงการค้นหาเชิงรุก การดำเนินการป้องกันในรูปแบบ bubble and seal เป็นต้น” ผู้ช่วยโฆษกศบค. กล่าว.-สำนักข่าวไทย