ปภ. เผย 6 จังหวัดยังมีสถานการณ์อุทกภัย

S__29319191กทม. 15 ม.ค. – ปภ.เผยยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 6 จังหวัด เตรียมเร่งช่วยเหลือต่อเนื่องพร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยจากภาวะฝนหนัก 12 จังหวัดภาคใต้ ช่วง16 – 20 ม.ค.นี้


ผู้สื่อข่าวรายานว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์ปัจจุบันว่าระดับน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ลดลงทุกจังหวัดแล้วแต่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 6 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ รวม 34 อำเภอ 194 ตำบล 1,398 หมู่บ้าน  ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว อย่างไรก็ตาม ระหว่างวันที่ 16 – 20 มกราคม 2560 ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะ 12 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร  สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต พัทลุง กระบี่  ตรัง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่ง ปภ.ได้ประสานจังหวัดเตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มจากฝนตกหนัก พร้อมจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัย เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ว่า ฝนที่ตกหนักตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดอุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีจังหวัดได้รับผลกระทบ 12 จังหวัด รวม 119 อำเภอ 722 ตำบล 5,613 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 531,911 ครัวเรือน 1,621,414 คน ผู้เสียชีวิต 41 ราย สถานที่ราชการเสียหาย 20 แห่ง ถนน 1,172 จุด คอสะพาน 191 แห่ง ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ ยะลา ระนอง นราธิวาส ปัตตานี กระบี่ และชุมพร ยังคงมีสถานการณ์ใน 6  จังหวัด ได้แก่ พัทลุง สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ รวม 34 อำเภอ 194 ตำบล 1,398 หมู่บ้าน โดยพัทลุง มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง  อำเภอควนขนุน อำเภอปากพะยูน อำเภอเขาชัยสน และอำเภอบางแก้ว รวม 12 ตำบล 37 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,274 ครัวเรือน 64,018 คน อพยพ 233 ครัวเรือน 663 คน ผู้เสียชีวิต 5 ราย สงขลา มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนเนียง อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ และอำเภอระโนด รวม 17 ตำบล 86 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,880 ครัวเรือน 26,715 คน อพยพ 19 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 3 ราย ตรัง มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง และอำเภอกันตัง รวม 19 ตำบล 119 หมู่บ้าน 3 เทศบาล 18 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,242 ครัวเรือน 18,369 คน อพยพ 776 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 2 ราย  สุราษฎร์ธานี มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิม และอำเภอพุนพิน รวม 37 ตำบล   202 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,645 ครัวเรือน 24,905 คน ประชาชนอพยพ  190 ครัวเรือน 614 คน ผู้เสียชีวิต 7 ราย นครศรีธรรมราช มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร อำเภอปากพนัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอพระพรหม อำเภอถ้ำพรรณรา และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช รวม 72 ตำบล 629 หมู่บ้าน  84 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 145,294 ครัวเรือน 460,270 คน ผู้เสียชีวิต 11 ราย และประจวบคีรีขันธ์ มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอบางสะพานน้อย อำเภอกุยบุรี อำเภอสามร้อยยอด อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี รวม 37 ตำบล 325 หมู่บ้าน 2 เทศบาล 25 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30,810 ครัวเรือน 66,486 คน อพยพ 105 ครัวเรือน  320 คน ผู้เสียชีวิต 4 ราย โดยภาพรวมสถานการณ์ในปัจจุบันระดับน้ำลดลงทุกจังหวัดแล้ว ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่พร้อมรถบรรทุกขนาดใหญ่ เรือท้องแบนอำนวยความสะดวกในการสัญจรแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัย ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบและสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ รวมถึงดำเนินการซ่อมแซมถนนและสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหายให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว


นายฉัตรชัย กล่าวว่าจากการติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 16 – 18 มกราคม 2560 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น และในช่วงวันที่ 19 – 20 มกราคม 2560 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พักปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นอีก ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง พังงา ภูเก็ต สงขลา กระบี่ ตรัง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสานจังหวัดและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมรับมืออุทกภัยและดินถล่ม โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัย เฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างใกล้ชิดพร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำจุดเสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป.- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เปิดเนื้อหาหนังสือแจง UNSC กัมพูชาวางทุ่นระเบิด-เริ่มยิงก่อน

25 ก.ค.- เปิดเนื้อหาหนังสือจากผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติที่นิวยอร์ก เพื่อชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ส่งหนังสือชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ระบุว่า ขอแจ้งให้ท่านและสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทุกท่านทราบ ถึงสถานการณ์อันร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย อันเป็นผลจากการรุกรานทางทหารของประเทศกัมพูชา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.     เมื่อวันที่ 16 และ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารไทยกำลังลาดตระเวนตามเส้นทางปกติที่กำหนดไว้ ซึ่งอยู่ภายในอาณาเขตของประเทศไทย ทหารได้เหยียบทุ่นระเบิดชนิด PMN-2 ส่งผลให้ทหาร 2 นาย ได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสส่งผลถึงขั้นพิการถาวร ขณะที่ทหารนายอื่น ๆ ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทุ่นระเบิด PMN-2 ทั้งหมดที่พบอยู่ในสภาพใหม่ ยังมีเครื่องหมายที่มองเห็นได้ชัดเจน หลักฐานบ่งชี้ว่าทุ่นระเบิดเหล่านี้เพิ่งถูกวางใหม่ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ไทยได้ยื่นรายงานประจำปีเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญาดังกล่าว ตามมาตรา 7 ของอนุสัญญาฯ อย่างต่อเนื่อง รายงานดังกล่าวระบุว่าประเทศไทยได้ทำลายทุ่นระเบิดในคลังทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 และต่อมา ได้ทำลายทุ่นระเบิดทั้งหมดที่เก็บไว้เพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยในปี ค.ศ. […]

“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน”

ก.มหาดไทย 25 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน” ชี้รับฟังทุกความไม่พอใจ แต่ทุกอย่างเป็นไปตามยุทธวิธี ให้ทหารมีอิสระในการทำงาน มอง “ก่อแก้ว” ขอศาล รธน. คืนอำนาจให้ “แพทองธาร” เป็นความเห็นเหมือนประชาชนจำนวนมาก แต่ให้เป็นตามกระบวนการยุติธรรม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ระบุถึง อยากให้กองทัพสั่งสอนความเจ้าเล่ห์ของฮุนเซนก่อน ว่า ก็เหมือนประชาชนทั่วไป ที่เวลานี้มีความรู้สึกเช่นนั้น หลายคนแสดงความเห็นให้ทำแบบนู้นแบบนี้ เราก็รับฟังความห่วงใยความไม่พอใจที่เราถูกกระทำ ตนเข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น และเห็นว่าเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพราะเรื่องอธิปไตยของประเทศ การรุกล้ำเข้ามา กระทบประชาชนเรายอมไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาทุกฝ่ายจะเห็นว่าเราประนีประนอม (Compromise) ให้มากที่สุด แต่เมื่อสิ่งดังกล่าวไม่เกิดขึ้น และเป็นปัญหา วันนี้จึงได้สั่งการให้ทหารมีอิสระในพื้นที่ โดยผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้คุมยุทธการ ปฏิบัติได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้มีการทำความเข้าใจกับ พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีการโทรคุยกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด […]

เข้าสู่วันที่ 2 กัมพูชาเปิดฉากตั้งแต่เช้ามืด ที่ปราสาทตาเมือนธม

สุรินทร์ 25 ก.ค.-เข้าสู่วันที่ 2 เหตุปะทะไทย-กัมพูชา เริ่มเปิดฉากยิงกันตั้งแต่เช้ามืด บริเวณปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ขณะนี้เสียงยังดังต่อเนื่อง ก่อนขยายการสู้รบไปตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านอีสานใต้ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่แรกที่ฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิงก่อนด้านปราสาทตาเมือนครับ เช้ามืดวันนี้ ราวตี 5 ครึ่ง ก็เริ่มปะทะกันอีก ขณะนี้ก็มีเสียงดังอย่างต่อเนื่อง เส้นทางจากอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เข้าสู่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แม้สายแล้ว ก็มีรถสัญจรไปมาค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยการสู้รบ โดยอำเภอพนมดงรักเป็นหนึ่งใน 4 อำเภอ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประกาศให้ผู้ที่ไม่มีความจำเป็นเข้าพื้นที่ร่วมกับอำเภอกาบเชิง บัวเชดและสังขะ โดยตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา ในพื้นที่ตามแนวชายแดนได้ยินเสียงการปะทะด้วยกระสุนปืนใหญ่ดังอย่างต่อเนื่อง ผู้นำหมู่บ้านบันทึกสถิติเฉพาะฝั่งไทยตอบโต้เกินกว่า 100 ลูกแล้ว บ้านหนองแรด ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก ที่จรวดหลายลำกล้อง BM 21 ตกเยอะสุด 10 ลูก วานนี้โดยรอบหมู่บ้าน โชคดีไม่ลงบ้านเรือน มีกระจกแตกเล็กน้อยจากแรงอัดลูกจรวดเท่านั้น วันนี้ ยังมีชาวบ้านอยู่นับร้อยคนหลบอยู่ในหลุมหลบภัย จากทั้งหมด […]

เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน

ศรีสะเกษ 24 ก.ค. – บรรยากาศคืนแรกที่ศูนย์อพยพฯ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนมาพักอาศัยชั่วคราว จากเหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นี่เป็นบรรยากาศค่ำคืนแรกที่ประชาชนในเขต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ต้องออกมาพักอาศัยนอกบ้านเรือน ตั้งแต่เกิดเหตุกัมพูชายิงจรวดเข้าใส่เขตพักอาศัยของพลเรือน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้ตลอดทั้งวัน อ.กันทรลักษ์ มีการอพยพประชาชนแล้วมากกว่า 41,000 คน กระจายไปตามจุดต่างๆ โดยจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีผู้อพยพมากที่สุด เพราะใกล้แนวชายแดนที่อยู่ในระยะปลอดภัยมากที่สุด คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร จากแนวชายแดน มีประชาชนเข้ามาพักอาศัย 4,865 คน และยังมีจุดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกระจายกันไป ผลจากสถานการณ์ตึงเครียดและพลเรือนตกเป็นเป้าของการโจมตี ทำให้หลายคนอยู่ในอาการเครียดและกังวล เจ้าหน้าที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้กำลังใจเป็นระยะ รวมทั้งให้บริการยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น พร้อมกันนี้ได้ย้ำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ฝากแจ้งประชาชนที่ยังลังเลไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินหรือสัตว์เลี้ยง ว่า ขณะนี้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิดทุกหมู่บ้าน จึงขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือ และออกมาจากพื้นที่เสี่ยงตามจุดนัดหมาย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว. – สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” ยังมีฝนตกหนักบางแห่ง

กทม. 26 ก.ค.- กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เตือน 7 จังหวัดรับมือ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาเผยประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อน “ก๋อมัย” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย.- สำนักข่าวไทย

9 ทันโลก : แจงด่วน! คณะมนตรีความมั่นคง ไทยนี้รักสงบ

25 ก.ค. – นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ตามที่กัมพูชาร้องขอไว้ รายงาน 9 ทันโลก พาไปติดตามบทบาทและโอกาสของไทยบนเวทีสำคัญนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาตินานเกือบ 80 ปี จะได้แสดงบทบาทอีกครั้งในคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการสื่อสารกับประชาคมโลก ถึงการกระทำของกัมพูชา ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศหลายด้าน รวมถึงกฎบัตรสหประชาชาติที่ไทยยึดมั่น ในห้องประชุมนี้ ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ ลำดับที่ 55 จะทำหน้าที่อีกครั้งในภารกิจด้านสันติภาพ ตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2489 ที่นี่ไทยเคยทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง โดยพลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา และหม่อมหลวง พีระพงศ์ เกษมศรี ทำหน้าที่สองวาระ ในปี 2528 และ 2529 ในเวลาที่สงครามเย็นคุกรุ่น มาในวันนี้ไทยกำลังจะมีโอกาสอันดีที่ได้ใช้ช่องทางการทูตสำคัญ เสาหลักความมั่นคงของสหประชาชาติ ในอีกบทบาทหนึ่งที่ยังคงอยู่บนพื้นฐานการแสวงหาสันติภาพตามกลไกนี้ เมื่อประเทศสมาชิก ในกรณีนี้คือกัมพูชา ร้องขอให้เปิดประชุมเร่งด่วน สมาชิกคณะมนตรีซึ่งมีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ พิจารณากรณีที่เป็นภัยคุกคามใดต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่น กรณีการปะทะระหว่างไทยกับกัมพูชา […]

น่านยังอ่วม บางจุดน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร

น่าน 25 ก.ค. – เข้าสู่วันที่ 3 น้ำท่วมใหญ่เป็นประวัติการณ์ของเมืองน่าน แม้ระดับน้ำลดลงบ้างแล้ว แต่ในตัวเมือง-เขตเศรษฐกิจยังท่วมสูง บางจุดระดับน้ำเกือบ 2 เมตร ขณะที่ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” นำทีมกู้ภัยฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวเข้าช่วยเหลือชาวบ้าน .-สำนักข่าวไทย

มีผลทันที! ประกาศกฎอัยการศึก 8 อำเภอ “จันทบุรี-ตราด”

25 ก.ค.- กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ประกาศใช้กฎอัยการศึกบางพื้นที่ มีผลทันที กองทัพเรือ โดย กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “ประกาศใช้กฎอัยการศึก” บางพื้นที่ ดังนี้ ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 21.05 นาฬิกา ซึ่งต่อมาได้มีพระบรมราชโองการเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ และให้ใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 นั้น โดยที่ปรากฏว่าประเทศกัมพูชาได้ใช้กำลังและอาวุธรุกรานเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตลอดแนวชายแดน จึงมีความจำเป็นโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่ต้องใช้กำลังทหาร ตำรวจ พลเรือน ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกคน เพื่อป้องกันประเทศให้พ้นจากภัยคุกคามอันมีที่มาจากภายนอกราชอาณาจักรดังกล่าว เพื่อรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติและบูรณภาพแห่งดินแดน ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทย และจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่เพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 176 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 จึงให้ใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 จังหวัดจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี […]