fbpx

มท.1 ชูโคกหนองนาโมเดล ทางเลือกทางรอดในยุค NEW NORMAL

กทม. 14 ส.ค.- มท.1 ชูโคกหนองนาโมเดล ทางเลือกทางรอดในยุค NEW NORMAL


วันที่ 14 ส.ค.2563 พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมโครงการ “ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล” พร้อมมอบรางวัลบุคคลต้นแบบการน้อมนำแนวทางพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวรายงาน ณ ห้องคอนเวนชั่น ชั้น 4 โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร ในการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดทั้งภาคีเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด พัฒนาการจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานในสังกัด พช. จำนวน 330 คน

พลเอกอนุพงษ์ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประเทศหายไปอย่างฉับพลัน ผู้ประกอบการรายย่อยขาดกำลัง ทุน และประชาชนขาดกำลังซื้อ ซึ่งเมื่อปัจจัยภายนอกเหล่านี้ไม่อาจเป็นที่พึ่งได้ดังที่เคยเป็นมา ในสภาวะการณ์เช่นนี้พี่น้องข้าราชการกระทรวงมหาดไทยต้องตระหนักรู้ในภารกิจหน้าที่ “ต้องช่วยกันเพื่อชาติ เศรษฐกิจต้องเดินต่อ คนต้องมีรายได้ การดำเนินการทุกขั้นตอนต้องโปร่งใส และมาจากความต้องการของประชาชน รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในระดับฐานรากของประเทศ จึงกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้เสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แผนงาน 3.2 ฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” งบประมาณ 4,787.916 ล้านบาท เป็นการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้น ในการประชุมวันนี้ก็เพื่อกำหนดจุดเน้นที่สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสในบริบทใหม่ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และยั่งยืน เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาว จึงขอฝากแนวทางสำคัญ ๆ เพื่อใช้ในการบริหารโครงการ คือ การจัดทำระบบสื่อสารสร้างการรับรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชน รวมถึงแสดงให้เห็นว่าโครงการเกิดผลดีต่อประชาชนอย่างไรบ้าง วางระบบการบริหารจัดการโครงการให้ดี ไม่มีการทุจริต โปร่งใสตรวจสอบได้ วางแผนการใช้จ่ายงบประมาณ วิธีการแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ กำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินการให้ชัดเจน และดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ขอย้ำอีกครั้งว่าเรา “ต้องช่วยกันเพื่อชาติ เศรษฐกิจต้องเดินต่อ คนต้องมีรายได้ การดำเนินการทุกขั้นตอนต้องโปร่งใส และมาจากความต้องการของประชาชน” รมว.มหาดไทย กล่าว

ด้านนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน มีเป้าหมายสำคัญคือ เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้ โดยการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวได้คำนึงถึงศักยภาพจากฐานเดิม ที่มีอยู่ และโอกาสภายใต้บริบทใหม่แล้ว ยังต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาวที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน ขับเคลื่อนโครงการสำคัญ คือ การพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยครอบคลุมหมู่บ้านชุมชนทั้งหมด 35,032 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ในระยะแรกคือ การลดรายจ่าย สร้างรายได้ระยะสั้น ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ โดยการน้อมนำโครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาขยายต่อยอดสู่กิจกรรม แผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ระยะที่ 1 ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2563 มีครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 12.9 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งว่ามีพี่น้องประชาชนทั่วประเทศร่วมปลูกผักสวนครัวถึง 12,601,491 ครัวเรือน คิดเป็น 97.11% พี่น้องประชาชนที่ร่วมโครงการได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม มีผักกินในบ้านโดยที่ไม่ต้องซื้อหา “ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก” ประหยัดรายจ่าย หากคิดมูลค่าเพียง 50 บาทต่อวัน 12 ล้านครัวเรือน สามารถประหยัดเงินได้มากกว่า 200,000 ล้านบาท/ปี นอกจากนี้ยังเกิดการแบ่งปันกัน ช่วยเหลือ เอื้ออาทรประโยชน์ที่ได้มากกว่าการประหยัด คือ การรักษาสุขภาพ เพราะเป็นผักปลอดภัย และกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นระยะที่ 2 เพื่อสร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน ดำเนินการขับเคลื่อนระหว่าง 1 กรกฎาคม ถึง 5 ธันวาคม 2563 ภายใต้แนวคิด “ความต่อเนื่องคือพลัง” ส่งเสริมการปลูกพืชผักเพิ่มเติม “ทำเป็นบ้านสานเป็นกลุ่ม” ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกิน ให้มีมูลค่าเพิ่ม “ชุมชนสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” สร้างจิตวิญญาณรักสิ่งแวดล้อม “จากวัฒนธรรม สู่นวัตกรรม” ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจากพืชผัก และสิ่งสำคัญคือเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับโภชนาการ ส่งเสริมการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ

กิจกรรมที่สอง คือโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ ในแผ่นดิน” เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกับ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ น้อมถวายความจงรักภักดี ด้วยการมุ่งมั่นที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดผ้าพื้นถิ่นไทยซึ่งเป็นศิลปะอันล้ำค่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ผ้าไทยในพื้นถิ่นได้รับการดูแล สืบทอดให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นการเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนผู้มีอาชีพเกี่ยวข้อง การใช้หรือสวมใส่ผ้าทอพื้นเมืองของไทยจะช่วยสร้างรายได้นับแสนล้านบาทต่อปี เพียงแค่คนไทย 35 ล้านคนใช้ผ้าคนละ 10 เมตร นับว่าเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง และรัฐบาลเองได้ให้ความสำคัญและมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายรายไดสู่ชุมชน นำมาซึ่งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 เรื่องมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้กระจายสู่ชุมชน ซึ่งปัจจุบันมียอดจำหน่ายประเภทผ้าที่สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจฐานราก 105,000 ล้านบาท


กิจกรรมที่สาม เป็นการสร้างความยั่งยืน โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนปฏิบัติจนเป็นวิถี จากสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม น้ำท่วม ภัยแล้ง ระบบนิเวศเสื่อมโทรม การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ปัญหาทางสังคม ความยากจน หนี้สิน ตกงาน ถูกเลิกจ้าง ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ กรมฯ จึงได้ดำเนินงานตามโครงการ “พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล” โดยมุ่งหวังให้พี่น้องประชาชนในชนบทที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีศักยภาพในการบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมอย่างเป็นระบบ เป็นการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยเริ่มจากการสร้างการเรียนรู้ให้แก่บุคลากร การพัฒนาและ สร้างพื้นที่ต้นแบบศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ๑๑ แห่ง ขยายผลร่วมกับภาคีเครือข่าย 22 แห่ง รวมเป็น 33 แห่ง สร้างเครือข่ายผู้นำการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเด” จำนวน 22,500 คน ในระยะแรก และมีเป้าหมายพัฒนาครัวเรือนต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จำนวน 11,414 ครัวเรือน รวมถึงดำเนินการโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แผนงาน 3.2 ฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” งบประมาณ 4,787,916 ล้านบาท ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนจัดประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดแก่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง ในวันนี้

ทั้งสามกิจกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเพื่อไปสู่เป้าหมายที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด คือ “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้ภายในปี 2565” ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชน เราได้บูรณาการความร่วมมือ และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากจังหวัดทุกจังหวัด ส่วนราชการทุกระดับ ภาคีเครือข่ายทั้งภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ด้านศาสนา สื่อมวลชน และพี่น้องประชาชน เพื่อให้การดำเนินโครงการเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง” อธิบดี พช. กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบรอง ผอ.โรงเรียนดัง หน.แก๊งค้ายา พบข้าราชการเป็นลูกค้าเพียบ

รวบหัวหน้าแก๊งค้ายาเป็น “รอง ผอ.” โรงเรียนดังย่านปากเกร็ด พร้อมสมุน ขยายผลพบลูกค้าเป็นข้าราชการอีกจำนวนมาก

คนไทย-คนจีนขับรถไล่ชนกันหน้าคลับดังเมืองพัทยา คาดหึงหวงสาวที่มาด้วย

รถตู้ 3 คัน และรถฟอร์จูนเนอร์ 1 คัน ขับไล่ชนกันไปมา บริเวณหน้าคลับแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา พบเป็นศึกระหว่างคนไทย 1 กลุ่ม และคนจีน 1 กลุ่ม สาเหตุคาดมาจากคนจีนหึงหวงแฟนสาวที่มาด้วย

ปัญหาต่างชาติในภูเก็ต ตอนที่ 3

ปัจจุบันการเข้ามาทำธุรกิจรถเช่าของต่างชาติที่ใช้คนไทยเป็นนอมินีในภูเก็ตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถของชาวต่างชาติในภูเก็ตก็มากขึ้นด้วย ปัญหานี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่โยงใยไปถึงเรื่องของภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว ไม่เฉพาะแค่ภูเก็ต แต่เป็นของเมืองไทยด้วย

ศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้อง คุณหญิงพรทิพย์ และพวก ในคดี GT200

ศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้อง “คุณหญิงพรทิพย์” และพวกรวม 10 คน ในคดีจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT200 ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ระบุไม่พบมีมูลความผิด ทุจริต มีการแสวงหาประโยชนแก่ตนเองและผู้อื่นโดยมิชอบ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ขอให้เชื่อมั่น นำ ปท.แก้วิกฤติ เหน็บบางคนนั่งบนหอคอย  

“เศรษฐา” ขอให้เชื่อมั่นในตัวนายกฯ เข้าใจธุรกิจ พร้อมนำประเทศแก้วิกฤติ เหน็บบางคนนั่งบนหอคอย ลงมามือเปื้อนดิน ตีนเปื้อนโคลนบ้าง น้อยใจ รมว.คลัง ไม่มีอำนาจลดดอกเบี้ย  

“บิ๊กต่อ” ส่งทนายยื่นฟ้อง “ทนายตั้ม” แฉโยงเส้นเงินพนัน

“บิ๊กต่อ” ส่ง “อัจฉริยะ” เดินหน้าชน “ทนายตั้ม” ยกแรกยื่นฟ้องฐานหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท หลังถูกกล่าวหาว่ามีเส้นเงินจากเว็บพนันโยงคนใกล้ชิด ผบ.ตร.

ทองคำนิวไฮ พุ่งกระฉูด 550 บาท ทองรูปพรรณแตะ 39,000 บาท

ทองคำเปิดตลาดปรับขึ้นรวดเดียว 550 บาท ทองแท่งขายออก 38,500 บาท ทองรูปพรรณขายออก 39,000 บาท ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่

รถไฟฟ้าสีเหลืองขัดข้องอีกแล้ว (29 มี.ค.)

รถไฟฟ้าสีเหลืองขัดข้องอีกแล้วช่วงสายวันนี้ (29 มี.ค.) ทำให้รถจากสถานีลาดพร้าว เดินทางไปถึงสถานีหัวหมาก ต้องสิ้นสุดที่สถานีศรีกรีฑา