หุ้นแบงก์คาดร่วงหลัง แบงก์ชาติออกประกาศงดจ่ายปันผล




กรุงเทพฯ
20 มี.ค. –“กรณ์-ธีระชัย” 2 อดีต รมว.คลัง เห็นพ้องหนี้เสียกระทบหนักจาก
พิษ”โควิด-19” ทำให้
แบงก์ชาติออกออกประกาศทั้งลดดอกเบี้ยช่วยรายย่อยและห้ามแบงก์พาณิชย์ซื้อหุ้นคืน-จ่ายปันผลระหว่างกาล
คาดจันทร์นี้หุ้นแบงก์ร่วง 

จากกรณี  ธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) ประกาศวานนี้ (20
มิ.ย. )ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบ
Covid-19 เฟส2  โดยลดดอกเบี้ยร้อยละ 2-4
สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
และเพิ่มวงเงินให้การช่วยเหลือกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท/เดือน เป็น 2
เท่าจากเดิม 1.5 เท่า และสั่งธนาคารพาณิชย์ ทำแผนบริหารเงินกองทุนช่วง 3 ปี
รวมทั้งห้ามซื้อหุ้นคืน-งดจ่ายปันผลระหว่างกาล จากผลดำเนินการปี 2563
เพื่อรักษาเงินกองทุนให้แข็งแกร่ง จากความเสี่ยงหลังเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค
Covid-19  ที่อาจกระทบต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป 

นายกรณ์
จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า
คำสั่งห้ามธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินปันผลและห้ามซื้อหุ้นตัวเองคืน (ลดทุน) เป็นสัญญาณว่า
ธปท.  ได้ประเมินสถานการณ์หนี้เสียว่า
เลวร้ายกว่าที่ปรากฏ โดย สาเหตุที่ ธปท.ต้องออกคำสั่ง  ดังกล่าวอาจจะเป็นเพราะนายแบงค์ต้องการคำสั่งเป็นเกราะกำบังจากความไม่พอใจของนักลงทุนที่รอรับเงินปันผล
เนื่องจากในช่วงหลัง หลายคนเข้าไปซื้อหุ้นเพราะราคาลดลงมาก
ด้วยหวังผลตอบแทนจากเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนั้นจึงคาดว่า วันจันทร์นี้(22
มิ.ย.)ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารมีโอกาสสูงที่จะปรับลงแรง และมีผลกระทบต่อความมั่นใจทางเศรษฐกิจจะต้องมีอย่างแน่นอน


  นายกรณ์ กล่าวด้วยว่า สำคัญที่สุดคือการช่วยเหลือสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการอยู่รอด
วันนี้ ผู้ประกอบการการขนาดกลางและเล็ก (
SME)ทุกระดับยังเข้าไม่ถึงมาตรการของรัฐบาล
ดังนั้นการใช้เงินกู้ของรัฐบาลต้องมีการออกแบบให้ถึงมือผู้ประกอบการโดยตรง รวดเร็ว
ไม่รั่วไหล และต้องมีการใช้ในการจัดซื้อสินค้านำเข้าให้น้อยที่สุด
รอบหมุนของเงินต้องมากที่สุด 

 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  ระบุว่า
ได้ให้ข้อคิดเห็นหลายครั้งว่า วิกฤตโควิด-19จะหนักพอกับมหาวิกฤตปี 1930
( พ.ศ.2473 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลก (The Great Depression)  ) และคาดว่าตั้งแต่ไตรมาส
3/2563 เป็นต้นไป จะเกิดปัญหาสภาพคล่อง  ดึงกันไปมา จากบริษัทหนึ่งไปอีกบริษัทหนึ่ง เป็นเหมือนแชร์ลูกโซ่
และสุดท้ายจะวนไปที่แบงค์ ในรูปของ NPL (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ) ซึ่งขณะนี้ปัญหานี้ถูกแช่แข็งอยู่
กว่าจะรู้ตัวเลข
NPL จริง ก็เมื่อพ้นเดือน ต.ค. ไปแล้ว

นายธีระชัย
ระบุว่า เห็นด้วยกับ การที่  ธปท.
ออกมาตรการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนให้รัดกุม
และให้ธนาคารพาณิชย์ งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในปี 2563
รวมถึงงดการซื้อหุ้นคืน 
เพราะเป็นการยอมรับความจริง และเตรียมตั้งรับแต่เนิ่นๆอย่างไรก็ตาม ธปท.
เห็นตัวอย่างหลายประเทศตะวันตก ที่ประกาศมาตรการนี้มาหลายเดือนแล้ว ทำไมไม่ประกาศไปพร้อมกับการออก
พระราชกำหนดเกี่ยวกับ เงินกู้ เพื่อดูแลปัญหาผลกระทบจาก โควิด-19 ให้เป็นแพคเกจ
ใหญ่ แต่กลับไปเลือกเลียนแบบเฉพาะแต่การทำ QE โดยรับซื้อตราสารหนี้เอกชน

การประกาศมาตรการเมื่อจวนตัว
ย่อมทำให้นักลงทุนสงสัยว่า ธปท. เริ่มเห็นอาการปัญหาหนักขึ้นในขณะที่ท่านรองนายกรัฐมนตรี
“สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ “ประกาศว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับมาเป็นมังกรบินได้
ก็ยิ่งทำให้คนสงสัยหนักขึ้นว่า ธปท. พบปัญหาอะไรเป็นพิเศษ”นายธีระชัย ระบุ

ด้าน
บล. กสิกรไทย วิเคราะห์ว่า การที่ ธปท.สั่งแบงค์งดจ่ายปันผลครึ่งปีและงดโครงการซื้อหุ้นคืน
จะเป็นเชิงลบต่อตลาดซึ่งเป็นการส่งสัญญาณถึงสภาพคล่องและผลกระทบจาก
COVID-19 ที่อาจสูงกว่าที่ประเมินเบื้องต้น
คาดราคาหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลงประมาณร้อยละ
3-4  และคาดส่งผลต่อ ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ประมาณ 7-10จุด ในเช้าวันจันทร์ และเม็ดเงินลงทุนย้ายเข้ากลุ่มพลังงาน, โรงไฟฟ้า

ด้านบล.
กรุงไทย
 ซีมิโก้  วิเคราะห์ว่า มาตรการห้ามซื้อคืนและงดจ่ายเงินปันผลปีนี้
แม้ว่าจะเป็นมาตรการใหม่สำหรับประเทศไทย
แต่ถือเป็นแนวทางปฎิบัติทั่วไปต่อระบบสถาบันการเงินโลก  เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ( เฟด)จะทำ
Stress Test  เพื่อทดสอบระดับเงินกองทุนของธนาคารสหรัฐฯ
ภายใต้สมมุติฐานทางเศรษฐกิจที่แย่กว่าปัจจุบัน ฯลฯ
ก่อนที่จะมีการดำเนินการให้ธนาคารฯใดที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
จะต้องเพิ่มทุนหรืองดการทำธุรกิจเพิ่มเติม 
หรือ อนุญาตให้ธนาคารฯที่ดีกว่าเกณฑ์ สามารถจ่ายปันผลได้ เป็นต้น
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบสถาบันการเงินในระยะยาว

ส่วนประเด็นมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของ
ธปท. ที่ประกาศล่าสุด ได้กระทบต่อราคาหุ้นกลุ่มแบงก์และหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์
ไปแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา
 ก็คาดว่า ข่าวดังกล่าวจะเป็นลบระยะสั้นต่อหุ้นสถาบันการเงินที่มีประวัติจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและในระดับที่สูงกว่าร้อยละ
4 เช่น  ธ.ทิสโก้
(TISCO ), ธ.กรุงเทพ (BBL),ธ.ไทยพาณิชย์ ( SCB) ธ.เกียรตินาคิน (KKP)  แต่เป็นผลบวกในระยะยาวต่อเสถียรภาพของกลุ่มธนาคารพาณิชย์
 ในทางตรงกันข้าม หุ้นที่มิใช่สถาบันการเงิน
ที่มีประวัติการจ่ายปันผลสูงสม่ำเสมอ 
คาดว่าจะได้รับผลบวกจากการย้ายเงินลงทุนเพือรับปันผลจากกลุ่มสถาบันการเงิน
เข้ามาเพิ่มเติม -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร