กรุงเทพฯ 13 มิ.ย. –ซีอีโอ ปตท.
คนที่ 10 “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์”
กับภารกิจ ขับเคลื่อน ปตท.ระบบนิเวศน์ด้านพลังงานของประเทศ
ให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลง ด้วยกลยุทธ์
“PTT by
PTT”
“อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คนที่ 10 โชว์วิสัยทัศน์ต่อสื่อครั้งแรกเมื่อ 12 มิ.ย.63 เปรียบ ปตท.เป็นต้นไม้ใหญ่เป็น
Platform
ที่หลายส่วนมาเกาะ หรือเกี่ยวข้อง
ดังนั้น การขับเคลื่อน ก็ต้องโตไปกันพันธมิตร ทุกภาคส่วน ทั้งในและต่างประเทศ win-win ทุกฝ่าย ด้วยPartnership&platform เช่นธุรกิจก็ดู Solution ทั้งvalue chain การปรับเปลี่ยนขับเคลื่อนทุกทุกด้าน
ทุกธุรกิจจะเกิดขึ้นให้ไวต่อการเปลี่ยนแปลง จะมีอย่างต่อเนื่อง
” ธุรกิจของ ปตท. คือ Ecosystem
ด้านพลังงานของประเทศ ปตท.เป็นผู้ดูแลและต้องปรับเปลี่ยน Ecosystem นี้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
และจะต้องเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ..การทำหน้าที่ ในตำแหน่ง CEO ปตท.ภาระหน้าที่จะต้องหลอมรวมจิตวิญญาณ
ของพนักงาน ของผู้คน ของผู้มีส่วนได้เสียที่จะทำงานร่วมกัน ให้ก้าวข้ามผ่านพ้นการเปลี่ยนแปลง
สร้างความไว้วางใจ นำมาซึ่งความผูกพัน ความสามัคคี และก้าวสู่ความสำเร็จร่วมกัน”
“อรรถพล” หรือ คุณโด่ง เป็นลูกหม้อ ปตท. เริ่มทำงานในตำแหน่งวิศวกร ปี 2532
และขึ้นมาสู่ระดับบริหารหลายตำแหน่ง จนได้รับการคัดเลือก มาเป็น CEO ช่วง การระบาดCovid-19 เศรษฐกิจติดลบทั่วโลก หุ้นตก ราคาน้ำมันร่วงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ผลประกอบการติดลบ โดย กลุ่ม ปตท.ทั้งกลุ่ม
ขาดทุนสตอกน้ำมันไตรมาส 1/63 ถึง 7 หมื่นล้านบาท ปตท.ขาดทุนสุทธิ 1.5
พันล้านบาท เป็นการซ้ำเติม
ความท้าทายเดิมของธุรกิจปิโตรเลียม จากที่ โลกกำลังเปลี่ยนผ่านการใช้เชื้อเพลิง ไปสู่
New Energy ไปสู่พลังงานทดแทน ตามยุค
disruptive
technology ดังนั้น น้ำผึ้งพระจันทร์
คงไม่มีให้ดื่ม มีแต่ฝีมือต้องแสดงให้เห็น..
องค์กรใหญ่อย่างนี้ ทั้ง กลุ่มปตท.สร้างรายได้แก่ประเทศ เทียบเท่า 13% ของGDP มูลค่าหุ้นปี62 มีมูลค่าอันดับ1ในตลาดหลักทรัพย์
2.1ล้านล้านบาท และตั้งแต่ปี44-62 หรือหลังกระจายหุ้นเป็นต้นมา ปตท.สร้างรายได้รัฐทั้งรูปเงินปันผลและภาษีไปแล้ว9.6แสนล้านบาท … ใครใครก็อยากมาปฏิสัมพันธ์ด้วย ทั้งแง่ การเมือง NGO ธุรกิจ ประชาชน ประชาสังคม.. จะสร้างสมดุลย์ ( Balance
) อย่างไรให้เหมาะสม..โลกยุคใหม่
ยุคดิจิทัล เงินใต้โต๊ะ คงไม่มี มีแต่เงินทอน…จะป้องกันอย่างไร
“ภารกิจ ปตท.
ยังคงต้องรักษาความเข้มแข็งของธุรกิจหลักและสร้างธุรกิจใหม่แทนที่การเติบโตในรูปแบบเดิม
โดยผมมุ่งหวังที่จะให้กลุ่ม ปตท. เป็นองค์กรด้านพลังงานของประเทศ
และเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลง
โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ทุกภาคส่วน
มุ่งยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
พร้อมพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ตามแนวคิดที่เรียกว่า PTT หรือ Powering Thailand’s
Transformation”..ซีอีโอ ปตท.ระบุ
ซีอีโอ “อรรถพล” ชี้แจงว่า จะใช้ กลยุทธ์ PTT by
PTT ขับเคลื่อน
แนวคิด Powering Thailand’s Transformation ซึ่งจะต่อยอดการดำเนินงานจากการสร้างความเข้มแข็งจากภายในผสานด้วยการเปิดกว้างทางความคิด
รับบริบทจากภายนอก (inside-out &
outside-in) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ประกอบด้วย
Partnership and Platform เน้นการดำเนินธุรกิจด้วยการสร้างพันธมิตรและพัฒนาธุรกิจของปตท.ให้มีลักษณะเป็นแพลตฟอร์มากกว่าการเป็นผู้ผลิตสินค้าและจำหน่าย
, Technology for All เทคโนโลยีที่เกิดจากการผสมผสานด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญ
นวัตกรรม และดิจิทัล และ Transparency
and Sustainability สร้างความโปร่งใสและความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ
แนวบริหารจัดการระยะยาวนั้น
ยุทธศาสตร์ของกลุ่มธุรกิจ จัดแยกเป็น 3 กลุ่มหลัก
1.ธุรกิจขั้นต้น ( Upstream) มุ่งสู่การสร้างห่วงโซ่อุปทานธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว
(LNG) หรือ LNG Value Chain ที่จะมองถึงการพัฒนาตั้งแต้ต้นไปถึงการสร้างโรงไฟฟ้า Gas to Power โดยในส่วนของธุรกิจบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
(PTTEP) จะเน้นการขยายในธุรกิจก๊าซฯเป็นหลักเพราะก๊าซฯยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในช่วงเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีพลังงานที่คาดว่าจะใช้เวลา
20 ปี ซึ่งจะต้องพัฒนาต้นทุนให้ต่ำที่สุดเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน
ส่วนธุรกิจก๊าซฯ เน้นการเป็น Regional Hub เน้นเรื่องการตลาดนำเข้าส่งออกในอาเซียน
และขายโซลูชันแก่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศแบบครบวงจน
และใช้ศักยภาพ ปตท.เจรจาจากผู้ค้าแอลเอ็นจีทั่วโลกก็จะ สามารถนำเข้าได้ในราคาที่ถูก
ก็จะทำให้ลูกค้าผู้ใช้ก๊าซฯจากปตท.ไม่ลดลงไป ในขณะที่ กิจก๊าซฯและไฟฟ้า
ต้องมีการปรับโครงสร้างเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในอนาคตด้วย
ซึ่งในส่วนของธุรกิจไฟฟ้าก็จะรุกในต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพราะ
ในประเทศความต้องการไฟฟ้าไม่ขยายตัว
2.ธุรกิจขั้นปลาย (Downstream) ในส่วนของโรงกลั่นน้ำมันต้องวางตัวให้เป็นลำดับต้นของอุตสาหกรรมเพื่อที่จะให้สามารถยืนอยู่ได้จนรายสุดท้าย
เพราะยอมรับว่าราคาน้ำมันผันผวนอย่างหนัก
มองว่าปีนี้แม้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกจะขยับขึ้นมาแล้ว สุดท้ายก็คงจะยืนอยู่ประมาณ
40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ด้านธุรกิจปิโตรเคมีต้องแข่งขันได้แม้จะเผชิญวัฏจักรขาลง
โดยต้องเน้นสินค้ามูลค่าเพิ่มและ Specialty รวมทั้งในภาวะเช่นนี้ก็ต้องมองถึงโอกาสการซื้อกิจการควบคู่กันไป
พร้อมทั้งมองต่อยอดในสินค้ากลุ่มไบโอเคมิคอลด้วย,ธุรกิจเทรดดิ้งจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศและการสร้างรายได้จากการทำธุรกิจ
, ด้านธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกนั้น
จะมุ่งสร้างแบรนด์คนไทยไปขยายในต่างประเทศ ในรูปพาเอสเอ็มอีไทย
และธุรกิจที่ไม่ใช้น้ำมัน (Non-oil ) เติมโตไปพร้อมกัน
3 ธุรกิจนวัตกรรมใหม่ รับ NEW S-Curve
พัฒนา พลังงานใหม่ พลังงานทดแทน
โดยมองให้ครบไปทั้งห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจไฟฟ้า,ธุรกิจโลจิสติกส์
การร่วมทุนกับสตาร์ทอัพต่างๆ การพัฒนานวัตกรรมตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป
การพัฒนา 5 จี ที่มุ่งสู่ทุกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Smart Manufacturing ,Smart city , Smart
Mobility
“อรรถพล” เกิดวันที่ 19 ก.ค. 2508 ปัจจุบันอายุ 54 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนศึกษาต่อปริญญาโท
พัฒนาการเศรษฐกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รวมทั้งอบรมในหลักสูตรต่างๆมาย เข้ารับตำแหน่ง ซีอีโอ ปตท. เมื่อวันที่ 13
พฤษภาคม 2563 วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี -สำนักข่าวไทย