fbpx

ไขข้อข้องใจ : มาตรการเยียวยาเกษตรกร

สำนักข่าวไทย 23 พ.ค. 63 – วันนี้ (23 พ.ค. 63) เมื่อเวลา 10.00 น. ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้ถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ไขข้อข้องใจใน ประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับมาตรการเยียวยาเกษตรกร ดังนี้


การดำเนินโครงการหรือขั้นตอนการขอรับสิทธิ

– รวบรวมรายชื่อพี่น้องเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง เพื่อเสนอชื่อไปยัง กระทรวงการคลัง


– ตรวจความซ้ำซ้อน รวมถึงเกษตรกรที่มีอยู่จริง และส่งไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ กระทรวงการคลัง

– ตรวจสอบความซ้ำซ้อน ได้แก่

เกษตรกรที่อยู่ใน พ.ร.บ.ประกันสังคม ม.33


ข้าราชการบำนาญ

ได้รับการเยียวยาจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน

จำนวนเกษตรกรที่ได้รับเงินเยียวยาในแต่รอบซึ่งมีทั้งหมด 3 รอบ

กลุ่มที่ 1 เกษตรกรปรับปรุงข้อมูล ปี62/63 ภายใน 30 เม.ย. 63 เช็กสิทธิได้ที่เว็บไซต์ www.moac.go.th กดตรวจสอบ หากได้รับสิทธิให้รอรับเงิน มีประชากรในกลุ่มนี้ประมาณ 7.8 ล้านราย

กลุ่มที่ 2 เกษตรกร ปรับปรุงข้อมูลปลูกพืช ระหว่าง 1-15 พ.ค. 63 เช็กสิทธิได้ 27 พ.ค. 63 เป็นต้นไป มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียน/ยื่นทบทวนสิทธิ ประมาณ 1 ล้านราย

กลุ่มที่ 3 เกษตรกรที่ยังไม่ได้เพาะปลูกในฤดูกาลนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้ยืดสิทธิ โดยให้เกษตรกรมาลงทะเบียนไว้ก่อน (ภายใน 15 พ.ค.) แต่สามารถยืดการรับรองสิทธิได้ถึง 15 ก.ค. และพิจารณาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรภายในเดือนกรกฎาคม มีประเกษตรกรอยู่ในกลุ่มนี้ประมาณ 1 แสนราย

ทำไมผู้ที่อยู่ในประกันสังคมมาตรา33และข้าราชการบำนาญถึงไม่ได้รับสิทธิ์นี้

– เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการเยียวยาครั้งนี้ รัฐบาลตั้งใจจะให้พี่น้องที่ประสบปัญหา เนื่องจากโควิด-19 โดยให้เงินก้อนนี้พาท่านและครอบครัวก้าวผ่านเรื่องนี้ไปได้ จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ กระทรวงการคลัง ขึ้นมาในการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ว่าบุคคลกลุ่มใดมีสิทธิ/ไม่มีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาในโครงการนี้ โดยมีหลักเกณฑ์ที่พิจารณา ซึ่งหนึ่งในหลักเกณฑ์นั้น คือ เกษตรกรที่อยู่ภายใต้ พรบ.ประกันสังคม ม.33 โดยอธิบายได้ว่าบุคคลที่อยู่ในประกันสังคม หากท่านถูกพักงานหรือถูกเลิกจ้าง สำนักงานประกันสังคมก็จะเข้าไปดูแล เป็นกรณีเดียวกันกับข้าราชการบำนาญ

ข้าราชการที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรแท้จริงแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิ์หรือไม่

หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ออกมาไม่มี “ข้าราชการ” แต่จริง ๆ แล้วข้าราชการคือคนที่ได้รับการดูแลจากรัฐบาล ได้รับเงินประจำ ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะได้หรือไม่ได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้รวบรวมข้อมูลตรงนี้ไปให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ วินิจฉัยอีกครั้ง

การยื่นอุทธรณ์สิทธิ์มีวิธีการขั้นตอนอย่างไร และยื่นได้ที่ไหนบ้าง

กลุ่มที่ 1 เกษตรกรปรับปรุงข้อมูล ปี62/63 ภายใน 30 เม.ย. 63 อุทธรณ์ตั้งแต่วันนี้ – 5 มิ.ย. 63

กลุ่มที่ 2 เกษตรกร ปรับปรุงข้อมูลปลูกพืช ระหว่าง 1-15 พ.ค. 63 อุทธรณ์ 31 พ.ค. – 5 มิ.ย. 63

ยื่นอุทธรณ์ได้ 8 หน่วยงาน ดังนี้

– สำนักงานเกษตรอำเภอ

– สำนักงานประมงอำเภอและจังหวัด

– สำนักงานปศุสัตว์อำเภอและจังหวัด

– สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขตหรือศูนย์เครือข่ายใกล้บ้าน

– เขตบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย 1-8 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 1-4

– สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด

– การยางแห่งประเทศไทย (จังหวัด/สาขา)

– สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด

เอกสารประกอบอุทธรณ์

1. บัตรประชาชน/หลักฐานการมอบอำนาจ

2. แบบรับเรื่องอุทธรณ์

*ตรวจสอบสถานะอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกรได้ที่เว็บไซต์   www.moac.go.th ภายใน 8 วัน นับจากการยื่นอุทธรณ์


สอบถามข้อมูลมาตรการเยียวยาเพิ่มเติม

– สายด่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร. 1170

– การยางแห่งประเทศไทย โทร. 0-2433-2222 ต่อ 241, 243

– สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล โทร. 0-2202-3290

– กรมสรรพสามิต ติดต่อ กรมสรรพสามิตในพื้นที่ หรือ โทร. 0-2241-5600-9 (ต่อ 61601-08)

– กรมประมง ติดต่อ สำนักงานประมงอำเภอ/จังหวัด หรือ โทร. 0-2104-9444

– กรมปศุสัตว์ ติดต่อ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ/จังหวัด หรือ โทร. 0-2653-4444

– กรมส่งเสริมการเกษตร ติดต่อ สำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัด หรือ โทร. 0-2579-0121-27

– กรมหม่อนไหม โทร. 0-2558-7924-6

– สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทร. 0-2940-5550

หากพี่น้องเกษตรกรมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลได้ตามหน่วยงานข้างต้นเลยนะคะ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้

ผลสอบ “ครูเบญ” เบื้องต้นไม่ผ่านเกณฑ์ ส่ง พฐ.ร่วมตรวจพิสูจน์

สพฐ. เผยผลสอบ “ครูเบญ” เบื้องต้นคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 ทั้งภาค ก. ภาค ข. และไม่ติด 1 ใน 10 ส่งข้อสอบให้ พฐ. ตรวจพิสูจน์เพื่อความโปร่งใส