กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เผย 5 เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่

กรุงเทพฯ  22 พ.ค.-   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เผย ชีวิตวิถีใหม่เร่งสังคมไทยก้าวสู่ยุคสังคมไร้เงินสด เปิด 5 เทรนด์ใหม่ครองใจลูกค้า 


นายฐากร ปิยะพันธ์  ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์  ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล กล่าวว่า พฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อในเครือของบริษัท ตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนเมษายน 2563 ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ชีวิตวิถีใหม่ (The New Normal) ที่คนไม่ค่อยเดินทางออกนอกบ้าน เร่งให้สังคมไทยก้าวสู่สังคมไร้เงินสด โดยคนทุกวัยเริ่มคุ้นชินกับการใช้จ่ายออนไลน์  แม้ในภาพรวม ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของบริษัทจะลดลง 37% ในเดือนเมษายน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่จากข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ยังคงมีความต้องการซื้อในตลาด เพียงแต่เปลี่ยนหมวดการใช้จ่าย ไปตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ธุรกิจต่างๆ จึงควรเร่งปรับกลยุทธ์ โดยหันมาให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และมุ่งเจาะตลาดที่ยังคงมีศักยภาพสูง 


โดย 5 เทรนด์พฤติกรรมการใช้จ่าย คือ 1.ก้าวสู่สังคมไร้เงินสด  ทุกวัยหันมาใช้จ่ายออนไลน์ จากข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตร ชี้ให้เห็นว่าช่วงมีนาคมถึงเมษายน 2563 จำนวนผู้ใช้บัตรเครดิตที่ทำรายการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์เฉลี่ยต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นถึง 37% โดยในจำนวนนี้ 10% เป็นผู้ใช้รายใหม่ ทั้งนี้ พบว่า ทุกวัยมีแนวโน้มใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น  แม้ว่ากลุ่มผู้ใช้ที่มีจำนวนมากที่สุดจะเป็นกลุ่ม Gen Y แต่กลุ่ม Baby Boomers ก็ปรับตัวมาใช้ช่องทางดิจิทัลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหมวดบริการส่งอาหาร และการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยพบว่ากลุ่ม Baby Boomer มีจำนวนครั้งที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในบางแพลทฟอร์มเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า แสดงให้เห็นว่า ชีวิตวิถีใหม่เป็นตัวเร่งให้สังคมไทยก้าวสู่ยุคสังคมไร้เงินสด 

2. กิน ช้อป ออนไลน์ ชีวิตต้องง่าย แค่ปลายนิ้ว  ยอดช้อปปิ้งออนไลน์ บริการส่งอาหาร เติบโตก้าวกระโดด ในช่วงที่ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ไม่สามารถเปิดให้บริการได้เต็มรูปแบบ ผู้บริโภคเริ่มปรับตัว คุ้นชินกับวิถีชีวิตที่ง่าย สะดวกสบาย นิยมการสั่งอาหาร ช้อปปิ้งผ่านทางออนไลน์ เห็นได้จากยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในหมวดดังกล่าวในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน 2563 ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยหมวดช้อปปิ้งออนไลน์มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 46% ในเดือนมีนาคม และ 75% ในเดือนเมษายน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ส่วนบริการส่งอาหาร มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรในเดือนมีนาคมและเมษายนเพิ่มขึ้น ถึง 300% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ช่วงเวลาการสั่งอาหารก่อนเที่ยงมีการเติบโตขึ้นมากจากก่อนหน้าช่วงโควิด น่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงการกระจุกตัวของคำสั่งซื้อในช่วงเที่ยงถึงบ่ายโมง ทั้งนี้ พบว่า 92% ของลูกค้ามักใช้บริการผู้ให้บริการเพียงรายเดียว มากกว่าจะเปลี่ยนผู้ให้บริการไปมา เป็นโอกาสที่ดีสำหรับ    แบรนด์ผู้ให้บริการที่ควรเร่งสร้าง brand loyalty ในหมู่ลูกค้า


3. เว้นระยะห่าง แต่เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยี – อินกับอุปกรณ์ไอที และความบันเทิงออนไลน์ จากข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตร พบว่า หมวดอุปกรณ์ไอที มียอดใช้จ่ายสูงขึ้น ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ก่อนที่จะเริ่มลดลงในเดือนเมษายน เนื่องจากนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลให้หลายบริษัทให้พนักงาน Work from Home  โดยกลุ่มที่มียอดใช้จ่ายในหมวดนี้สูงสุด คือ กลุ่ม Gen Y นอกจากนี้ การใช้จ่ายในหมวดความบันเทิงออนไลน์ เช่น บริการสตรีมมิ่ง เกมออนไลน์ โซเชียลมีเดียในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เทียบกับค่าเฉลี่ยยอดใช้จ่ายในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

4. เน้นใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น  ยอดใช้จ่ายหมวดซุปเปอร์มาร์เก็ต เติบโตต่อเนื่อง

วิกฤติที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้จ่ายในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง แต่หันมาใช้จ่ายในหมวดสินค้าจำเป็นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหมวดซุปเปอร์มาร์เก็ต ทั้งนี้ หมวดที่ได้รับผลกระทบ คือ หมวดสายการบิน หมวดโรงแรมและหมวดท่องเที่ยว ซึ่งยอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงถึง 100%, 89% และ 66% ตามลำดับในเดือนเมษายน 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหมวดร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า รวมถึงสินค้าแฟชั่น ลดลง 85%, 72% และ 77% ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม หมวดซุปเปอร์มาร์เก็ต ในเดือนมีนาคม เติบโตถึง 34% และมียอดใช้จ่ายรายวันเฉลี่ยเติบโตถึงสองเท่า เทียบกับยอดเมื่อปีที่ผ่านมา สำหรับพฤติกรรมการซื้อเห็นได้ชัดว่าเปลี่ยนไป โดยลูกค้าจำนวนมาก ใช้จ่ายในหมวดนี้ ก่อนเที่ยง โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และมีจำนวนการใช้จ่ายลดลงหลังสองทุ่ม ยอดใช้จ่ายต่อครั้ง เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราว 15% ในเดือนมีนาคม และมีการซื้อจำนวนมากในช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคม เนื่องจากประชาชนส่วนหนึ่งซื้อเพื่อกักตุนสินค้า ก่อนจะลดลงในเดือนเมษายน โดยยอดใช้จ่ายในหมวดนี้ในเดือนเมษายนเติบโต 2% และมียอดใช้จ่ายรายวัน ใกล้เคียงกับยอดใช้จ่ายรายวันของปีที่ผ่านมา 

5.สนใจการออมและความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น  ยอดใช้จ่ายหมวดกองทุนรวมพุ่ง

ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในหมวดกองทุนรวม เพิ่มขึ้น 196% ในเดือนมีนาคม และ 157% ในเดือนเมษายน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อซื้อกองทุน SSF และยอดใช้จ่ายเพื่อชำระเบี้ยประกันกรมธรรม์ควบการลงทุน แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้บริโภคที่ยังมีกำลังซื้อ หันมาให้ความสำคัญกับการออม และการลงทุน เพื่อความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผบช.น.ยอมรับการอบรมอาสาตำรวจให้คนจีนมีจริง-ตร.แค่เป็นวิทยากร

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยอมรับการอบรมอาสาตำรวจให้กับคนจีนมีจริง แต่เจ้าของโครงการ ไม่ใช่ตำรวจนครบาล 3 เพียงแต่ถูกเชิญไปเป็นวิทยากรเท่านั้น ส่วนเจ้าของโครงการ เป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังย่านฝั่งธนบุรี

ชายวัย 53 เมาคว้าปืนลูกซองยิงเพื่อนบ้านวัย 60 ดับ ฉุนฉลองปีใหม่

ชายวัย 53 ปี อารมณ์ร้อน คว้าปืนลูกซองยิงชายวัย 60 ปี เสียชีวิต ฉุนนั่งย่างเนื้อให้ลูกๆ ที่กลับมาเยี่ยมบ้านฉลองปีใหม่

ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ

นึกว่าแจกฟรี ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น เมืองเชียงใหม่

เอาใจสายเนื้อ ขึ้นเหนือไปกินก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ย่านถนนราชดำเนิน กลางเมืองเชียงใหม่ ขายดิบขายดี นึกว่าแจกฟรี ลูกค้าต่อแถวยาวเหยียด

ข่าวแนะนำ

กต.เผยเมียนมาปล่อยนักโทษไทย 152 คน-ไม่มี 4 ลูกเรือประมง

กระทรวงการต่างประเทศ เผยเมียนมาปล่อยตัวนักโทษชาวไทย 152 คน แต่ยังไม่มี 4 ลูกเรือประมง ยืนยันพยายามอย่างเต็มที่

นศ.ซิ่งเก๋งชนเสาไฟล้ม 12 ต้น ทับรถ 3 คัน โค้งถนนกาญจนาภิเษก

นักศึกษาซิ่งเก๋งชนเสาไฟฟ้าล้ม 12 ต้น ทับรถที่วิ่งผ่านไปมาเสียหาย 3 คัน บริเวณโค้งถนนกาญจนาภิเษก ตัดเพชรเกษม ประชาชน 150 ครัวเรือนเดือดร้อนไฟดับ การไฟฟ้านครหลวงเร่งซ่อมแซม คาดเย็นนี้กลับมาใช้การได้ตามปกติ

นายหน้าลอยแพ 250 แรงงานไทย ไร้ตั๋วบินทำงานต่างประเทศ

ฝันสลาย แรงงานไทย 250 ชีวิต เหมารถมาสนามบินเก้อ หวังได้ไปทำงานในต่างประเทศ สุดท้ายไม่มีตั๋วบิน รวมตัวแจ้งความตำรวจ หวั่นถูกหลอกสูญเงินกว่า 12 ล้านบาท