จับตาปม 50,000 ล้าน อุ้มการบินไทย

กทม. 8 พ.ค. – แม้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเห็นชอบให้ ก.คลัง ค้ำประกันเงินกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาท ให้การบินไทยที่กำลังขาดสภาพคล่องอย่างหนัก แต่การประชุม ครม.ที่ผ่านมา ยังไม่มีการพิจารณาอนุมัติวงเงิน ขณะที่มีเสียงสะท้อนจากนักวิชาการและอดีตผู้บริหารการบินไทย ถึงการบริหารจัดการแผนฟื้นฟู หากมีการอนุมัติวงเงินนี้ ท่ามกลางภาวะอุตสาหกรรมการบินที่ตกต่ำและสถานการณ์โควิด-19



น้ำเสียงย้ำชัดเจนของนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นการให้โอกาสครั้งสุดท้ายสำหรับแผนฟื้นฟูการบินไทย หลังประชุม ครม.เมื่อ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ยังไม่มีการอนุมัติเงินอุ้มการบินไทย หลังที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้การบินไทย วงเงิน 50,000 ล้านบาท จากที่การบินไทยส่งแผนค้ำประกันเงินกู้มา 70,000 ล้านบาท พร้อมดักคอสหภาพต่างๆ ต้องร่วมมือ


วันนี้ ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พนักงานทุกคนยินดีร่วมมือในแผนฟื้นฟู แต่ขอมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนดำเนินการ เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีการฟื้นฟูมาแล้ว 3 ครั้ง แต่พนักงานไม่เคยมีส่วนร่วม ไม่มีโอกาสได้รับรู้ หวั่นเงิน 50,000 ล้านบาท จะจบเหมือนทุกครั้ง แต่หากเข้าไปมีส่วนร่วมแล้ว เชื่อมั่นว่าแผนฟื้นฟูจะไปได้

ประเด็นเงิน 50,000 ล้านอุ้มการบินไทย กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ เตือนว่าอนาคตของอุตสาหกรรมการบินจากสถานการณ์โควิด-19 บวกกับภาวะขาดทุนสะสมและความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารองค์กร อาจทำให้การอุ้มการบินไทยด้วยเงินหลายหมื่นล้านเป็นการ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำครั้งประวัติศาสตร์ด้วยภาษีของประชาชนไทยทุกคน”


ขณะที่อดีตกรรมการบริษัทการบินไทย อย่าง “บรรยง พงษ์พานิช” เห็นด้วยที่รัฐจะให้เงินอุดหนุน 50,000 ล้านบาท แต่มองว่าควรเป็นการให้กู้มากกว่าการค้ำประกัน แม้สุดท้ายต้องจ่ายเหมือนกัน แต่สถานะของผู้ให้กู้กับผู้ค้ำไม่เหมือนกัน แต่ก่อนที่จะให้กู้ รัฐควรจะให้การบินไทยขอเข้าแผนฟื้นฟูตามกระบวนการของกฎหมายล้มละลายก่อน เพราะภายใต้แผน ผู้ให้กู้รายสุดท้ายมีอำนาจต่อรองสูง สามารถล้มเลิกสิทธิประโยชน์อดีตพนักงานและต่อรองกับสหภาพได้ดีกว่า เรียกได้ว่าสามารถผ่าตัดใหญ่ได้ มิฉะนั้นจะกลายเป็น “ตำน้ำพริก โปรยทิ้งบนท้องฟ้า”

ปีที่แล้ว 62 การบินไทยและบริษัทย่อย ผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 12,017 ล้านบาท ยังไม่นับรวมผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยังกระหน่ำซัดอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก

ต้องจับตาการประชุม ครม.ครั้งหน้า ว่าจะมีการพิจารณาอนุมัติเงิน 50,000 ล้านบาท ค้ำประกันการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติอยู่รอดต่อไปได้หรือไม่.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า