“นพ.ยง” โควิด-19 กับการตรวจภูมิต้านทาน

กทม.26 เม.ย.-“นพ.ยง” โพสต์ 12 ข้อเท็จจริงโรคโควิด-19 กับการตรวจภูมิต้านทาน โดย WHOชี้การตรวจพบภูมิไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันถึงการป้องกันโรคที่จะไม่ให้เป็นซ้ำ ขณะที่ rapid test ที่ตรวจเร็ว อาจสร้างความสับสนในการแปลผล ทั้งผลบวกปลอม-ลบปลอม


ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว  เรื่อง “โควิด-19 การตรวจภูมิต้านทาน” โดยมีรายละเอียดว่า


 

“โควิด-19 การตรวจภูมิต้านทาน

1.องค์การอนามัยโลกรายงานว่าการตรวจพบภูมิต้านทานไม่ได้เป็นเครื่องยืนยัน หรือเป็นใบเบิกทาง ถึงการป้องกันโรคที่จะไม่ให้เป็นซ้ำได้อีก 


2. ภูมิต้านทานที่ตรวจ มีทั้ง IgG และ IgM กว่าจะขึ้นให้ตรวจพบได้ ต้องใช้เวลา 1-2 อาทิตย์หลังมีอาการ ระบบภูมิต้านทาน ไม่ใช่มีเพียงแค่  antibody  ยังมีระบบอื่นร่วมด้วย ตามทฤษฎีของภูมิคุ้มกันวิทยาที่เป็นแบบแอนติบอดี้และอาศัยเซลล์ 

3.องค์การอนามัยโลกได้ทบทวนการสร้างภูมิคุ้มกัน บางคนสร้างได้สูง บางคนสร้างได้ต่ำ

4.จากการศึกษาในปัจจุบัน 24 april ยังไม่มีรายงานใดที่จะบอกได้ว่าการมีภูมิต้านทานจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำได้อีก

5.การตรวจภูมิต้านทานที่อยู่ในท้องตลาด จำนวนมากเป็น rapid test หรือตรวจได้อย่างรวดเร็ว จะต้องคำนึงถึง ความถูกต้องของการตรวจ มีทั้งผลบวก ปลอม และผล ลบปลอม ซึ่งจะสร้างความสับสนในการแปลผล

6.การตรวจภูมิต้านทาน ไม่สามารถเอามาใช้ในการวินิจฉัย การติดเชื้อของผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกได้ ต้อง 1-2 อาทิตย์ไปแล้ว

7.การตรวจได้ผลลบ ไม่ได้บอกว่าผู้นั้นไม่มีการติดเชื้อ การตรวจหาเชื้อที่หลังโพรงจมูกยังเป็นวิธีมาตรฐาน ผู้ป่วยอาจจะติดเชื้อ มีเชื้ออยู่ แล้วแต่ภูมิต้านทานยังไม่ขึ้น ผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ในระยะนี้

8.การตรวจได้ผลบวก ก็ยังมีผลบวกปลอม เพราะยังมี coronavirus ตัวอื่นๆ อาจจะให้ผลบวกปลอม

9.ในการระบาดที่นิวยอร์กพบว่าครึ่งหนึ่งเป็นแบบไม่มีอาการและการตรวจเชื้อ จะพบได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการเมื่อติดตามแล้วมีจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีอาการ และยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ (NEJM; April 24, 2020)

10.การตรวจกรองหาผู้ติดเชื้อ จึงควรใช้วิธีการตรวจหาเชื้อ มากกว่าที่จะใช้วิธีการตรวจหาภูมิต้านทาน ขณะนี้มีการนำเอาการตรวจหาภูมิต้านทานไปตรวจตามโรงงาน เพื่อหาการติดเชื้อ จะไม่มีประโยชน์ในการค้นหาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ เพื่อการควบคุมการแพร่กระจายของโรค โดยเฉพาะโรงงานหรือแหล่งชุมชน 

11.การตรวจเกมรุกเพื่อหาผู้ติดเชื้อและลดการแพร่กระจายเชื้อ จำเป็นจะ ต้องใช้วิธีตรวจหาเชื้อด้วยกระบวนการ PCR ถ้าบริหารจัดการให้ดี ในอนาคต ค่าตรวจควรจะลดลงได้มากกว่านี้มาก ประเทศไทยสามารถพัฒนาชุดตรวจได้เอง อย่างที่กรมวิทย์ทำ และแทนที่จะตรวจ 2 gene ถ้าตรวจเกมรุก เป็นการตรวจกรอง อาจจะตรวจ gene เดียวก็พอ ถ้าให้ผลบวก แล้วจึงค่อยตรวจยืนยันอีกครั้งเหมือนการตรวจไวรัสตัวอื่นๆที่รู้จักดี เราก็ตรวจยีนส์เดียว โควิด-19 ปัจจุบันเป็นโรคที่รู้จักดีแล้วในการตรวจ

12.ข้อมูลรายละเอียด อ่านเพิ่มเติมได้จาก NEJM 24 April และ https://www.who.int/news-room/commentaries/detail/immunity-passports-in-the-context-of-covid-19”  .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

หนุ่มอุดรฯ ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ 45 ล้านบาท

สุดเฮง! หนุ่มอุดรฯ ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ รับเงินรางวัล 45 ล้านบาท ลูกสาวเผยพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ก่อนหน้านี้เพิ่งโทรมาบอกให้ใส่บาตร เชื่อผลบุญหนุนโชคลาภ

สามีภรรยาจากอยุธยารับ “เจ้าจอร์จ” ไปดูแล

สามีภรรยาใจบุญจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขอรับ “เจ้าจอร์จ” สุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ ไปอุปการะแล้ว หลังกัดแทะร่างพระเจ้าของที่มรณภาพในกุฏิด้วยโรคประจำตัว

ดีเอสไออนุมัติสืบสวนคดีแตงโม คาดตั้งชุดเริ่มสืบได้ 27 ม.ค.นี้

อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติให้สืบสวนคดีแตงโม ว่ามีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ คาดเริ่มได้ 27 ม.ค.นี้