สพฐ. จับมือกสศ. เร่งระดมแนวทางช่วยเหลือเด็กช่วงโควิด-19

กรุงเทพฯ 14เม.ย..-  สพฐ. จับมือกสศ. เร่งทำ Crowdsourcing จากครูและผู้ปกครองทั่วประเทศ  เพื่อระดมแนวทางช่วยเหลือเด็กให้แม่นยำและตรงสภาพปัญหามากที่สุดช่วงโควิด-19 ขณะที่บอร์ดกสศ.อนุมัติงบช่วยเหลือฉุกเฉินเพิ่มอีก 300 ล้านบาทเพื่อเร่งบรรเทาความเดือดร้อน


นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ  รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)  กล่าวว่า  ระหว่างวันที่ 13 – 19 เมษายน 2563  สพฐ.ร่วมกับ กสศ. ทำการสำรวจผลกระทบและแนวทางการช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษ โดยกระบวนการระดมข้อมูลและประสบการณ์จากสังคม (Crowdsourcing)  ผ่านทางโทรศัพท์ (Telephone Survey) และแบบสอบถามออนไลน์ ใน 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู  นักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและตรงจุดจากผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่หน้างานจริง  มากกว่า 1,000 คนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อครอบครัวของเด็กยากจน และเด็กยากจนพิเศษ และเชื่อมโยงมาถึงเรื่องอาหาร และสวัสดิภาพ ความปลอดภัย ดังนั้นเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและครอบครัวในกลุ่มเสี่ยงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะสำหรับเด็กบางคนอาจส่งผลกระทบหลายมิติ สิ่งสำคัญที่สุดตอนนี้คือการเฝ้าติดตามครอบครัวเด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิด เพื่อหาทางช่วยเหลือสนับสนุนนบรรเทาปัญหาอุปสรรคอย่างเหมาะสม เพราะถือว่ามีความจำเป็นที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ


ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  กล่าวว่า  สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ได้ทำการสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ในกลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองนักเรียนยากจนพิเศษ หรือนักเรียนทุนเสมอภาค ผ่านทางโทรศัพท์  จำนวน 1,100 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่าประเด็นที่เป็นผลกระทบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1.ไม่มีอาหารกิน 2.ถูกพักงานหรือถูกเลิกจ้าง 3.ไม่มีของใช้จำเป็นในครอบครัว 4.การศึกษาเล่าเรียนของคนในครอบครัว และ5.ปัญหาสุขภาพ    

“จากการสำรวจเบื้องต้นจะพบว่า การไม่มีอาหารกิน คือปัญหาเร่งด่วนของครอบครัวนักเรียนยากจนพิเศษ  ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทบต่อการจ้างงาน และรายได้ที่น้อยอยู่แล้วของคนกลุ่มนี้ ต้องมีแนวโน้มลดลงอีกหรือไม่มีรายได้เลย  เงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อการศึกษาที่ต่อเนื่อง และมีคุณภาพของนักเรียนกลุ่มนี้ คือเรื่องปัจจัยสี่ โดยเฉพาะอาหารที่จำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กและผู้ปกครองได้รับผลกระทบมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กกลุ่มนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เบื้องต้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของครอบครัวนักเรียนยากจนพิเศษ และป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาในปีการศึกษานี้ คณะกรรมการบริหาร กสศ.  ได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉินเพิ่มเติมจำนวน 300 ล้านบาท เพื่อสมทบทุนเสมอภาคที่นักเรียนยากจนพิเศษจะได้รับในเทอม 1/2563 ให้กับกลุ่มเป้าหมายในครอบครัวที่มีความเดือดร้อนจำเป็นเร่งด่วน จากการระบาดของโรคโควิด-19 ” ดร.ไกรยส กล่าว 


รองผู้จัดการกสศ. กล่าวว่า นอกจากนี้ กสศ.ได้จัดประชุมระดมสมองร่วมกับองค์การยูเนสโก และองค์การยูนิเซฟ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากนานาชาติในการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อระบบการศึกษาและเด็กเยาวชนในครอบครัวที่มีรายได้น้อยและด้อยโอกาสที่จะเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาในประเทศไทยเมื่อเปิดเทอม ซึ่งข้อสรุปที่ได้จากการประชุมระดมสมองดังกล่าวพบว่า เด็กเยาวชนและครอบครัวที่มีรายได้น้อยล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แล้วตั้งแต่วันนี้ และระยะเวลาอีกเกือบ 3 เดือนที่จะเปิดเทอมถือเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอย่างมาก หากได้รับการช่วยเหลือที่ตรงจุดและทันเวลา นักเรียนยากจนพิเศษเหล่านี้จะมีโอกาสกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ครบทุกคน  หน่วยงานที่จะมีบทบาทอย่างมากคือสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจาก 3 ภาคส่วน โดยเฉพาะประธานกรรมการสถานศึกษาที่ส่วนใหญ่มักเป็นผู้นำชุมชนท้องถิ่น สามารถเป็นตัวกลางประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ท้องถิ่น และภาคเอกชน เพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนในครอบครัวยากจนพิเศษที่ได้รับผลกระทบในระดับรุนแรง โดยเฉพาะด้านโภชนาการ การขาดแคลนอาหาร นม และน้ำสะอาด ซึ่งในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาหรือiSEE รายงานว่า ประเทศไทยมีนักเรียนยากจนพิเศษที่มีภาวะทุพโภชนาการมากกว่า 20,000 คน

ดังนั้น กสศ. จึงขอเชิญชวนให้ครู  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองและนักเรียน ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาของนักเรียนทุนเสมอภาค สามารถเข้ามาให้ข้อมูลผ่านการตอบแบบสอบถามในช่องทางออนไลน์ที่ www.eef.or.th  ด้วย” ดร.ไกรยส กล่าว  .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่ม 31 ซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับคาที่ หลังมีปากเสียงเรื่องขับเฉี่ยวชน

หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย ลูกเจ้าของร้านขายผ้าซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับ ริมถนนสุขุมวิท หลังมีปากเสียงเรื่องขับรถเฉี่ยวไม่ลงมาเจรจา

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ขับรถชนไรเดอร์ดับ

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ที่หัวร้อนขับรถชนไรเดอร์ดับคาที่กลางสุขุมวิท เมื่อวานนี้ พร้อมไหว้ขอสื่อ อย่ามายุ่งกับครอบครัว

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ศาลให้ประกันหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนไรเดอร์ดับ

ครอบครัวไรเดอร์ที่ถูกหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนเสียชีวิต กอดกันร้องไห้รับร่างและรดน้ำศพ ด้านศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหา วงเงิน 600,000 บาท ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ

ข่าวแนะนำ

สมรสเท่าเทียม

นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้

“แพทองธาร” นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมแสดงความยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้ ขอบคุณทุกภาคส่วนผ่านการต่อสู้กับอคติกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ ทุกตารางนิ้วของประเทศไทยโอบรับความหลากหลาย และเท่าเทียม

จำคุกสมรักษ์คำสิงห์

ศาลสั่งคุก 2 ปี 13 เดือน 10 วัน “สมรักษ์” พยายามข่มขืนสาววัย 17

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก “สมรักษ์ คำสิงห์” อดีตนักมวยฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก เป็นเวลา 2 ปี 13 เดือน 10 วัน พร้อมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 170,000 บาท คดีพยายามข่มขืนเด็กสาววัย 17 ปี

คึกคัก คู่รักจูงมือกันไปจดทะเบียนวันแรกกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผล

วันนี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ หลายคู่รักควงแขนไปจดทะเบียนสมรสกันชื่นมื่น ที่สยามพารากอน มีคู่รักที่ลงทะเบียนมาจดทะเบียนสมรสที่นี่กว่า 300 คู่

ฝุ่น กทม.

คนกรุงจมฝุ่นต่อเนื่อง เช้านี้อยู่ระดับสีแดง 21 พื้นที่

กทม. อ่วมหนัก ฝุ่น PM 2.5 พุ่งต่อเนื่อง อยู่ระดับสีแดง ผลกระทบต่อสุขภาพ 21 พื้นที่ ย้ำสวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่นอกอาคาร และงดกิจกรรมกลางแจ้ง