ผลกระทบโควิด-19 กสศ. ห่วงเด็กด้อยโอกาสความรู้ถดถอย

กรุงเทพฯ 13 เม.ย..-ผลกระทบโควิด-19 สถาบันวิจัย กสศ. ห่วงเด็กยากจนด้อยโอกาสความรู้ถดถอย หลังปิดเทอมใหญ่นานขึ้น ข้อมูล OECD ระบุ หลายประเทศเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงดิจิตัล ชี้ฟรีทีวีและมือถือเป็นตัวเลือกการศึกษาออนไลน์เพราะต้นทุนต่ำและยุ่งยากน้อย 


 ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. รายงานว่า สถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ทำให้นักเรียนจำนวนกว่า 1.57 พันล้านคน จากกว่า 188 ประเทศ หรือคิดเป็น 91.3% ของผู้เรียนทั่วโลกต้องออกนอกโรงเรียนและหันไปสู่การศึกษาในรูปแบบนอกห้องเรียนแบบต่างๆ   ลักษณะเช่นนี้ ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งการที่ต้องอยู่บ้านนานๆ ยิ่งทำให้เกิดการลืมเลือนสิ่งที่เคยเรียนมา ทำให้ต้องมาทบทวนกันใหม่ซ้ำอีกครั้ง เรียกว่าปรากฎการณ์ความรู้ถดถอยไปหลังจากปิดเทอมใหญ่ 

 “จากงานวิจัยพบว่าการที่เด็กต้องออกจากโรงเรียนประมาณ 6 สัปดาห์ อาจจะทำให้ความรู้ของเขาหายไปถึงครึ่งปีการศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาส หรือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่างๆ เด็กที่ต้องพึ่งพิงอาหารเช้า อาหารกลางวันจากโรงเรียน ผู้ที่ต้องการการดูแลจากครูอย่างใกล้ชิด เด็กกลุ่มยากจนและเปราะบาง  ไม่มีคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต  บ้านมีปัญหา เช่น ยาเสพติด ความรุนแรงในครอบครัว ถือว่าได้รับผลกระทบนี้ที่มีความรุนแรงและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง” ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าว  


ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลายแห่งในโลกหันไปใช้ระบบการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์  เพื่อแก้ปัญหาการปิดโรงเรียนชั่วคราว แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือระบบการศึกษาและระดับสาธารณูปโภคพื้นฐานแต่ละประเทศแตกต่างกัน ประเทศที่ต้องปิดโรงเรียนกลุ่มแรกๆ เช่น จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ อิตาลี หรือสหรัฐอเมริกาพบว่าแม้จะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแล้วก็ยังมีความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ระหว่างนักเรียนหรือโรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มยากจนด้อยโอกาสกับโรงเรียนที่มีความพร้อมอยู่ไม่น้อย

 

ขณะที่องค์กร OECD ร่วมกับ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้จัดทำกรอบแนวทางสำหรับภาคการศึกษาในการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ COVID-19 โดยการใช้ข้อมูลการสำรวจของ OECD สำหรับนักเรียนอายุ 15 ปี จำนวนกว่า 600,000 คน จาก 79 ประเทศทั่วโลกในปี 2018 ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ในการสำรวจนี้ด้วย พบว่ามีความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ เช่น สถานที่ในบ้านไม่เอื้ออำนวย การขาดอุปกรณ์เครื่องมือในการเรียน โดยพบว่ามีเด็กไทยที่เข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และ แท็ปเล็ต 57.8% และ 43.4% ตามลำดับ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลายๆ ประเทศจะมีการเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้มากกว่า เช่น อเมริกามีการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และแท็ปเล็ต 88.6% และ 79.2% สิงคโปร์ 89.3% และ 76.7%  ตามลำดับ ซึ่งประเทศเหล่านี้แม้จะต้องอยู่ในสถานการณ์ของการปิดโรงเรียนแต่นักเรียนก็มีโอกาสในการเข้าถึงการเรียนแบบออนไลน์ได้ในสัดส่วนที่สูงอยู่มาก 


 ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าวต่อว่า อีกปัจจัยหนึ่งคือการเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เนต จากการสำรวจพบว่านักเรียนอายุ 15 ปี ที่บ้านมีการเข้าถึงสัญญานอินเตอร์เนต มีประมาณ 81.6 % ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีพอสมควร แต่หากแบ่งตามระดับเศรษฐฐานะของนักเรียน พบว่า นักเรียนในกลุ่มเศรษฐฐานะล่างสุดเพียง 57% ที่บ้านมีการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เนต อาจเป็นเพราะไม่มีเงินสำหรับสมัครสมาชิกหรืออยู่ในบริเวณสัญญาณเข้าไม่ถึง ซึ่งก็มีหลายประเทศแก้โดยใช้การจัดสรรอุปกรณ์ Wifi แบบพกพา ให้กับนักเรียนที่บ้านไม่มีสัญญาณอินเตอร์เนท หรือจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ครัวเรือนยากจนมีเงินในการสมัครบริการอินเตอร์เนท เป็นต้น  

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา  กสศ. กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับเศรษฐฐานะจะสามารถเข้าถึงโทรทัศน์ หรือสมาร์ทโฟนได้ไม่ยาก  เช่น นักเรียนไทยมีการเข้าถึงสมาร์ทโฟนค่อนข้างมาก คือ ประมาณ 86.1%  แม้แต่เด็กในกลุ่มที่ยากจนที่สุดถึงเกือบ 80% ยังมีการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งนับว่าอาจจะเป็นอุปกรณ์ที่เด็กไทยสามารถเข้าถึงได้ง่ายในกรณีที่มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดังนั้นหากมีการประยุกต์แนวทางการเรียนการสอน หรือเนื้อหาให้ถ่ายทอดผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ก็อาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เด็กสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนในแบบทางไกลได้ ภาครัฐหรือโรงเรียนหรือผู้พัฒนาระบบดิจิตัลแพลตฟอร์มในไทยน่าจะพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านทางมือถือ และขยายผลการใช้ให้มากขึ้นเพื่อการเข้าถึงการเรียนแบบออนไลน์   สิ่งที่สำคัญคือ การเลือกให้เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของผู้เรียนและผู้สอน  ข้อสำคัญ ควรช่วยกันคิดต่อ สำหรับนักเรียนกลุ่มการศึกษาพิเศษ ผู้พิการ ผู้บกพร่องในการเรียนรู้ กลุ่มเด็กเล็กที่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ไม่สามารถเลี้ยงได้เพราะต้องออกไปทำงานหาเงิน นักเรียนที่มีในสภาพแวดล้อมเลวร้าย  มีความรุนแรงในครอบครัว ทางโรงเรียน หรือภาครัฐ ควรจะทำอย่างไร เนื่องจากเด็กในกลุ่มเหล่านี้คงต้องการการสนับสนุนแบบพิเศษและมิอาจรอคอยสภาวะวิกฤติเช่นนี้ได้นาน” ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าว.- สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน