ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบมาตรการเยียวยาลดผลกระทบโควิด -19

ทำเนียบฯ 6 มี.ค. – ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบมาตรการเยียวยา ลดผลกระทบไวรัสโควิด-19 ย้ำโอนเงินช่วยเหลือรายย่อยช่วงสั้นเดือนละ 1 พันบาท เพียง 2 เดือน เริ่ม เม.ย.นี้ ย้ำช่วยเหลือทุกกลุ่มทั้งเติมสภาพคล่อง ยืดเวลาชำระหนี้ หักลดหย่อนภาษี นำกองทุน SSF พยุงตลาดหุ้น ยอมรับใช้เวลาดูแลปัญหาช่วงแรก 6 เดือน


ในการประชุม ครม.เศรษฐกิจ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบชุดมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ชุดที่ 1 จากนั้นเตรียมเสนอ ครม.พิจารณาวันที่ 10 มีนาคมนี้ เพื่อใช้เป็นมาตรการชั่วคราว 2-3 เดือนนี้ หวังดูแลผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม  และพร้อมโอนผ่านพร้อมเพย์ให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยคนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน เริ่มเดือนเมษายนนี้ เพื่อลดภาระค่าครองชีพ เพราะต่างประเทศช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเหมือนกัน การลดภาระค่าไฟฟ้า น้ำประปา เป็นรายเดือนในช่วงเวลากำหนด นายกรัฐมนตรีย้ำว่ารัฐบาลพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายช่วยกันฟันฝ่าปัญหาครั้งนี้ไปให้ได้  ช่วงแรกจึงต้องออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือและพร้อมใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง  


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวยอมรับว่า ปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดหลายประเทศทั่วโลกส่งผลกระทบหลายกลุ่มทั้งภาคการผลิต ภาคบริการ ไม่ใช่เพียงด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลหารือกับทุกฝ่ายอย่างระมัดระวัง เมื่อออกมาตรการชุดแรกไปแล้วจะประเมินผล หากเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย พร้อมออกมาตรการชุดใหม่มาดูแลเพิ่มเติม ยอมรับการโอนเงินช่วยเหลือเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของมาตรการทั้งหมด ขณะนี้ต้องใช้ทุกมาตรการดูแลทุกส่วน ยอมรับว่าปัญหาครั้งนี้แพร่ระบาดไปหลายประเทศทั่วโลก จึงสร้างปัญหาเกิดขึ้นกับไทย 

นายสมคิด กล่าวว่า รัฐบาลเป็นห่วงดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงค่อนข้างมากจากหลายปัจจัยเข้ามากระทบ แนวทางช่วยเหลือที่ผ่านมาจะใช้กองทุนพยุงหุ้น แต่ครั้งนี้พร้อมดูแลตลาดหุ้นด้วยการแก้ไขกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) ปรับเงื่อนไขให้เหมือนกับกองทุน LTF  ที่เคยให้สิทธิ์รายย่อยซื้อหน่วยลงทุนลดหย่อนภาษี 500,000 บาทต่อปี เพื่อเป็นกำลังหลักเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยกองทุน SSF 17 แห่ง เตรียมเปิดจำหน่ายต้องลงทุนในหลักทรัพย์ตลาดหุ้นไทยมากกว่าร้อยละ 65 ของเงินกองทุน หลัง ครม.เห็นชอบต้องลงทุนก่อนเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อพยุงตลาดหุ้นไทย ยอมรับว่าต้องตั้งรับสถานการณ์ครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อใช้มาตรการอื่นเข้ามาดูแลเพิ่มเติม 


นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ชุดที่ 1 ได้แก่ มาตรการทางการเงิน เพื่อบรรเทาดูแลผู้ประกอบการ การลดภาระต้นทุน บรรเทาไม่ให้มีการเลิกจ้างงาน  การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จากสินเชื่อซอฟท์โลน โดยให้ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อแบงก์รัฐ และธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 จากนั้นปล่อยกู้ต่อให้รายย่อยร้อยละ 2 โดยมีธนาคารพาณิชย์พร้อมเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก เพื่อลดการผ่อนชำระรายเดือน ทั้งพักเงินต้น และขยายเวลาชำระหนี้ให้ยาวขึ้น ตลอดจนปัญหาหนี้ส่วนบุคคล หากมีปัญหาหนี้บัตรเครดิตชำระร้อยละ 5 ของวงเงินค้าง จากเดิมชำระขั้นต่ำร้อยละ 10 

สำหรับมาตรการภาษี หากผู้ประกอบการจ้างงานต่อ เพื่อการลดปัญหาตกงาน สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้นำค่าใช้จ่ายจ้างงานหักลดหย่อนภาษีได้ถึง 3 เท่า นับตั้งแต่ 1 เมษายน – 31 กรกฎาคม 2563 เพื่อดูแลพนักงานลูกจ้าง รวมถึงการเร่งรัดคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการนิติบุคคลในประเทศ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียน ตลอดจนการลดการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับรายย่อย ภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นช่วงนี้ยังหักลดหย่อนภาษีได้ และขอให้หลายหน่วยงานลดค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทนเพื่อผ่อนคลายให้กับเอกชน  และการให้เอกชนชะลอนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในกิจการ นอกจากนี้ ยังแก้ไข พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเร่งรัดเบิกจ่ายการลงทุน เพื่อให้งบประมาณปี 2563 ออกสู่ระบบเร็วขึ้น และยังได้หารือกับสำนักงบประมาณจัดตั้งกองทุนรองรับปัญหาฉุกเฉิน หากสถานการณ์ดีขึ้นอาจไม่จำเป็นต้องใช้เงินดังกล่าวได้ 

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ได้ประกาศผ่อนคลายกฎเกณฑ์ เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อผ่อนปรนมากขึ้น รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้ หรือการยืดระยะเวลาชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ครอบคลุมผลกระทบจากปลายปี 2562 ทั้งลูกหนี้ NPL และลูกหนี้ที่กำลังมีปัญหา จึงกำหนดให้ย้อนหลังถึง 1 มกราคม 2563-31 ธันวาคม 2564 เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ธนาคารเจรจาลดชำระหนี้เงินต้นและขยายเวลาชำระดอกเบี้ยให้นานขึ้น 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขานุการนายกรัฐมตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะเลขานุการที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจห่วงปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 กระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก หลังจากได้รับปัจจัยลบทั้งงบประมาณปี 2563 ออกสู่ระบบล่าช้า สงครามทางการค้า การส่งออกชะลอตัว สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงคาดการณ์เศรษฐกิจมีปัญหาร้ายแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ลุกลามไปหลายประเทศทั่วโลก ยอมรับจีดีพีไตรมากแรกอาจไม่ดีเหมือนไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา แต่ช่วงไตรมาส 2 เงินลงทุนภาครัฐเริ่มขับเคลื่อนออกสู่ระบบ แต่การท่องเที่ยวยังย่ำแย่ จากนั้นค่อยส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มเติมภายหลัง ช่วงนี้จึงต้องช่วยลดภาระค่าเช่าแผงลอย ร้านค้าของพ่อค้า แม่ค้ารายย่อย และการขับเคลื่อนมาตรการอื่นเพิ่มเติม.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร