สั่งเพิ่มแหล่งรองรับน้ำ เก็บฝนทุกหยดใช้ประโยชน์

กรุงเทพฯ 17 ก.พ. – รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทานเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำ ชี้พื้นที่เกษตรส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทานอาศัยน้ำฝน เร่งจัดทำแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กครอบคลุมทั่วประเทศ


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สั่งการให้กรมชลประทานเร่งเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำทั่วประเทศทั้งด้วยการขุดลอกแม่น้ำลำคลอง อ่างเก็บน้ำในระบบชลประทาน ทำแก้มลิง รวมถึงการสร้างแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กทั่วประเทศรองรับฝน ทั้งนี้ พื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ของไทยอยู่นอกเขตชลประทานต้องอาศัยน้ำฝน แต่เมื่อฝนตกลงมากลับขาดแหล่งเก็บกัก จึงได้เสนอนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กรมชลประทานจัดทำแหล่งเก็บกักน้ำทุกรูปแบบและขยายศักยภาพแหล่งเก็บกักน้ำที่มีอยู่ให้สามารถรองรับฝนได้เพิ่มขึ้น


ศูนย์ติดตามและแก้ปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ รายงานว่าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใช้การอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30 ของความจุอ่างมี 17อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลมีน้ำร้อยละ 14 สิริกิติ์มีน้ำร้อยละ 23 แม่กวงอุดมธารามีน้ำร้อยละ 23 แม่มอกมีน้ำร้อยละ 15 จุฬาภรณ์มีน้ำร้อยละ 4 อุบลรัตน์มีน้ำร้อยละ -8 ลำพระเพลิงมีน้ำร้อยละ 11 มูลบนมีน้ำร้อยละ 25 ลำแซะมีน้ำร้อยละ 23 ลำนางรองมีน้ำร้อยละ 15 ป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำร้อยละ 19 ทับเสลามีน้ำร้อยละ 12 กระเสียวมีน้ำร้อยละ 7 คลองสียัดมีน้ำร้อยละ 11 บางพระมีน้ำร้อยละ 25 หนองปลาไหลมีน้ำร้อยละ 12 และประแสร์มีน้ำร้อยละ 26 สภาพน้ำท่านั้น แม่น้ำปิง วัง ยม น่านมูล พระสทึง บางประกง ท่าตะเภา และตาปีมีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย 

สำหรับแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2562/2563 ทั้งประเทศกำหนดไว้ 7.21 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 4.54 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 2.67 ล้านไร่ ปรากฏว่าเพาะปลูกรวม 7.16 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 5.49 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 1.67 ล้านไร่คิดเป็นร้อยละ 99.31 ของแผน โดยข้าวเก็บเกี่ยวแล้ว 260,000 ไร่และรอเก็บเกี่ยว 5.23 ล้านไร่ 


ขณะนี้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเปิดปฏิบัติฝนหลวงสู้ภัยแล้งประจำปี 2563 แล้ว โดยมีหน่วยปฏิบัติการทั้งหมด 18 หน่วย ขณะนี้ (3–16 ก.พ.) มีพื้นที่ขอรับบริการฝนหลวงรวม 22 จังหวัด 77 อำเภอ ภาคเหนือได้แก่ น่านมี 2 อำเภอ ลำปางมี 1 อำเภอ พิษณุโลกมี 1 อำเภอ ตากมี 1 อำเภอ อุตรดิตถ์มี 2 อำเภอ ภาคกลางได้แก่ สระบุรีมี 1 อำเภอ อุทัยธานีมี 1 อำเภอ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ ขอนแก่นมี 1 อำเภอ ชัยภูมิมี 3 อำเภอ นครราชสีมามี 8 อำเภอ บุรีรัมย์ มี 4 อำเภอ ภาคกลางได้แก่ เพชรบุรีมี 1 อำเภอ ราชบุรีมี 1 อำเภอ ภาคตะวันออกได้แก่ ระยองมี 2 อำเภอ จันทบุรีมี 1 อำเภอ ชลบุรีมี 2 อำเภอ และภาคใต้ได้แก่ กระบี่มี 8 อำเภอ ตรังมี 3 อำเภอ นครศรีธรรมราชมี 23 อำเภอ นราธิวาสมี 5 อำเภอ สงขลามี 4 อำเภอ พังงามี 2 อำเภอ 

“พื้นที่ห่วงเป็นพิเศษ คือ ลุ่มเจ้าพระยาที่ไม่มีแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง เนื่องจากไม่มีน้ำเพียงพอสนับสนุน แต่เกษตรกรเพาะปลูกไปเกือบ 2 ล้านไร่ จึงขอย้ำเตือนเกษตรกรเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว อย่าทำนาต่อเนื่องทันที ให้รอจนกว่าฝนตกต้องตามฤดูกาลจึงเริ่มทำ ไม่เช่นนั้นหากเกิดฝนทิ้งช่วงเสี่ยงจะเสียหาย” นายเฉลิมชัยกล่าว

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พื้นที่ปลูกข้าวรอบ 2 เกินกว่าแผนมี 44 จังหวัดแบ่งเป็นในเขตชลประทาน 40 จังหวัด พื้นที่ 2.34 ล้านไร่ ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด อ านาจเจริญ อุดรธานี กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นนทุบรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ฉะชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี ตรัง สตูล และสุราษฎร์ธานี ส่วนนอกเขตชลประทานมี 16 จังหวัด พื้นที่ 350,000 ไร่ได้แก่ เชียงใหม่ พะเยา นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร อ านาจเจริญ อุดรธานี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน (17 ก.พ.) มีน้ำในอ่างรวมกัน 42,773 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 56 ของความจุอ่าง มีน้ำใช้การได้ประมาณ 19,000 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 36 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 3,435 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน

ทั้งนี้ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มีแผนการเพาะปลูกพืช เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอที่จะสนับสนุน แต่จากการสำรวจพบว่ามีการเพาะปลูกพืชนอกแผนไปแล้วประมาณ 1.92 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 100,000 ไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ของตนเองในการเพาะปลูก เหลือที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวอีกมาก รมว. เกษตรฯ ย้ำให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงด้านน้ำที่จะต้องมีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค พร้อมกันนี้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำที่กระจายอยู่ตามสำนักงานชลประทานและพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งทั่วประเทศรวม 1,935 เครื่อง ปัจจุบันได้ทำการติดตั้งในพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 43 จังหวัด รวม 332 เครื่อง นอกจากนี้เตรียมรถบรรทุกอีก 106 คัน ซึ่งขณะนี้ได้เข้าไปสนับสนุนแจกจ่ายน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศแล้ว 11 คัน รวมถึงการกำจัดวัชพืชและผักตบชวาไม่ให้กีดขวางทางน้ำ อีกทั้งขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันใช้น้ำ อย่างประหยัดและคุ้มค่ามากที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ได้เบาะแสเพิ่ม โจร 30 วิ ล็อกเป้าชิงทอง 1.6 ล้าน

เหตุคนร้ายสวมชุดไรเดอร์ควงปืนปลอม ชิงทองมูลค่า 1.6 ล้าน กลางห้างอุดรฯ ชุดสืบยังเร่งแกะรอยล่า ยืนยันได้วงจรปิดเส้นทางมาชิงทองและเส้นทางหนีแล้ว มั่นใจคนร้ายล็อกเป้ามาชิงทองร้านนี้ร้านเดียว

สส.ปชน.โต้ “ทักษิณ” ปราศรัยหยาบคาย-ดูถูก

สส.เหนือ พรรคประชาชน โต้ “ทักษิณ” หลังซัด “เท้ง” สึ่งตึง “พุธิตา” ย้อน ตลกดี เป็นถึงผู้หลักผู้ใหญ่ ปราศรัยหยาบคาย-ดูถูก ลั่นดิสเครดิตแบบนี้ไม่ได้อะไร ไล่ไปทำหน้าที่รัฐบาลให้ดี เห็นมากี่ทีขอ สส.คืน

“ชัยธวัช” น้อมรับ ปชน.พ่ายเลือกตั้งซ่อมนครศรีฯ เขต 8

“ชัยธวัช” น้อมรับ ปชน.พ่ายเลือกตั้งซ่อม สส.นครศรีฯ เขต 8 หลัง “กล้าธรรม” ชิงประกาศชัยชนะ ผิดหวังภาคใต้ซื้อเสียงโจ๋งครึ่ม หวังประชาชนยังเทใจให้ชนะเลือกตั้งทั่วไป

ข่าวแนะนำ

น้ำทะลักแม่สายคลี่คลาย ชาวบ้านหวั่นซ้ำรอยท่วมใหญ่

ปภ.เชียงราย แจ้งสถานการณ์น้ำท่วมหลายชุมชน อ.แม่สาย จ.เชียงราย คลี่คลายแล้ว หลังฝนตกหนักบริเวณรัฐฉานของเมียนมา ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่สาย ขณะที่ชาวบ้านผวา หวั่นซ้ำรอยวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ปีที่ผ่านมา

แจ้งข้อหาโชเฟอร์แท็กซี่ขวางรถพยาบาล ทำผู้ป่วยฉุกเฉินเสียชีวิต

แท็กซี่ป้ายเขียวขวางรถพยาบาล เปิดไซเรนขอทางแต่ไม่สนใจ ทำผู้ป่วยฉุกเฉินเสียชีวิตคารถ ล่าสุดตำรวจเรียกโชเฟอร์แท็กซี่แจ้งข้อหาแล้ว

ต้นน้ำฝนตกหนัก แม่น้ำสายเอ่อท่วมหลายชุมชน

ต้นน้ำฝนตกหนัก แม่น้ำสายเอ่อท่วมหลายใน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ชาวบ้านต่างรีบเก็บของขึ้นที่สูง ล่าสุดระดับน้ำเริ่มลดลง

รื้อซากตึกสตง.

รื้อซาก สตง.ถึงชั้นใต้ดินแล้วบางส่วน-พบผู้สูญหายอีก 1 ร่าง

เจ้าหน้าที่ลดความสูงซากตึก สตง. ถึงชั้น 1 แล้ว และลงไปถึงชั้นใต้ดินได้บางส่วน โดยวันนี้จะเสริมรถหัวเจาะกระแทกเข้ามาเพิ่ม ขณะที่เมื่อคืนพบร่างผู้สูญหายอีก 1 ร่าง ยืนยันจะทำงานให้เร็วที่สุด เพื่อคืนร่างผู้สูญหายทั้งหมดให้ญาติ