กมธ.ประชุมหารือกำหนดแนวทางแก้ไข รธน.

รัฐสภา 14 ม.ค.-กมธ.ศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดเวทีให้กรรมาธิการหงายไพ่แก้ไข รธน. 2 นัด ก่อนเปิดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนทั่วประเทศ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2560 สภาผู้แทนราษฎร ได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก  ซึ่งนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ประธานกรรมาธิการฯ เปิดโอกาสให้กรรมาธิการทุกคนแสดงความคิดเห็นว่าจะเริ่มต้นในการศึกษาหาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร

นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองประธานกรรมาธิการฯ ก็เห็นด้วยในข้อเสนอว่าควรวางกรอบการทำงานก่อนจะลงรายละเอียดเนื้อหา แต่ยังไม่ควรออกไปเปิดรับฟังความเห็นประชาชน เพราะในชั้นกรรมาธิการยังไม่ได้พิจารณาประเด็นที่จะนำไปสำรวจความคิดเห็น แต่สามารถเปิดให้ประชาชนส่งความคิดเห็นมาที่กรรมาธิการได้


เช่นเดียวกับนายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เห็นว่าควรให้สมาชิกวุฒิสภาตั้งกรรมาธิการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญควบคู่ไปกับสภาผู้แทนราษฎร หรือให้ตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อให้การศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ ก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็น

ด้านนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ เห็นว่าการตั้งกรรมาธิการชุดนี้เพื่อต้องการผ่อนหนักให้เป็นเบา เพราะทราบดีกันอยู่แล้วว่าหาก ส.ส.เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขต่อรัฐสภา ก็จะถูกตีตกทันที เพราะ ส.ว.เพียง 84 คนก็สามารถสกัดได้แล้ว ดังนั้นจำเป็นต้องตั้งกรรมาธิการชุดนี้ด้วยเพื่อกำหนดเป็นข้อเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีประชาชนสนับสนุน จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องเปิดให้มีการรับฟังความเห็นประชาชน  โดยการตั้งอนุกรรมาธิหารลงพื้นที่ควบคู่ทำงานไปกับคณะกรรมาธิการฯ

ขณะที่ นายนิกร จำนง ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา เสนอให้มีการรับฟังความเห็นประชาชน 2 ชั้น ชั้นแรก คือ การรับฟังความเห็นก่อนพิจารณาเพื่อดูว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร ก่อนรับฟังความเห็นอีกชั้นเมื่อลงรายมาตรา


ด้านนายทศพล เพ็งส้ม กรรมาธิการจากพรรคพลังประชารัฐ เห็นว่าเราศึกษาวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อดูว่าปัญหาในการแก้ไขมีปัญหาอย่างไร เพื่อให้ประชาชนทราบก่อนวางแนวทาง แล้วค่อยไปถามประชาชน

ส่วนนายกฤษ เอื้อวงษ์ รองเลขาธิการ กกต. มองว่าควรกำหนดแนวทางการแก้ไขให้ชัดเจน ควบคู่ไปกับเนื้อหาสาระที่จะแก้ไข และเห็นด้วยว่าควรรับฟังความเห็นประชาชนแบบคู่ขนาน เป็น 2 ช่วง ช่างแรกรับฟังแบบกว้าง ๆ และให้กรรมาธิการมากำหนดประเด็นในการแก้ไข ก่อนไปรับฟังความเห็นอีกครั้งว่าเห็นด้วยกับประเด็นที่จะแก้ไขหรือไม่

ขณะที่นายสุทิน คลังแสง ส.ส.พรรคเพื่อไทย เห็นด้วยที่จะให้รับฟังความเห็นทั้งขั้นตอนศึกษาและขั้นตอนการแก้ไข แต่ต้องรับฟังอย่างจริงจัง เพราะประชาชนมีความรู้และทราบปัญหาเป็นอย่างดี

ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการ กกต. เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมี 3 แนวทาง คือ แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพียงอย่างเดียว เพื่อเปิดทางให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ง่าย แต่คงเป็นไปได้ยาก เพราะ ส.ว.ไม่ยอม เนื่องจากมาตรานี้กำหนดให้ ส.ว.เข้ามาร่วมถ่วงดุลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแก้ไขมาตราที่เป็นปัญหาเลยโดยไม่ต้องแก้ที่มาตรา 256 แต่จะเกิดปัญหาความได้เปรียบเสียเปรียบในการแก้ไข เพราะแต่ละฝ่ายเห็นปัญหาที่แตกต่างกัน และแนวทางสุดท้าย คือ การแก้มาตรา 256 แล้วให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ขึ้นมาร่างกติกาใหม่ แต่จะส่งผลให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสียหน้าเพราะสิ่งที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญทำมาต้องกลับมาร่างใหม่ทั้งหมด รวมทั้งการตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมา อาจใช้เวลาในการพิจารณานานถึง 2 ปี พร้อมเสนอให้กรรมาธิการกำหนดตารางการทำงานที่ชัดเจนและตั้งเป้าหมายในแต่ละเดือน และต้องสื่อสารกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง และเปิดรับฟังความห็นประขาชน 1 เดือนเต็มเพื่อนำความเห็นมาพิจารณา ทั้งนี้ยังเห็นว่ากรรมาธิการควรมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะไม่ขยายเวลาการทำงาน เพราะคณะกรรมาธิการมีโอกาสและทรัพยากรเต็มที่ หากไม่สามารถทำงานแล้วเสร็จตามกรอบที่กำหนด ถือว่าเป็นปัญหาของกรรมาธิการชุดนี้ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เตือนว่า เรื่องการรับฟังความคิดเห็น ควรดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการ และไม่ควรปล่อยให้พรรคการเมืองดำเนินการกันเอง ขณะที่นายโภคิน พลกุล กรรมาธิการสัดส่วนพรรคเพื่อไทย ระบุว่า การรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่คงไม่ดีหากกระจุกอยู่เฉพาะความเห็นกรรมาธิการ จึงควรเปิดรับฟังความคิดเห็นคนนอกด้วย

ทั้งนี้ นายพีระพันธุ์ เห็นว่าเราต้องทำควบคู่กันไป หากเรารอประชาชน ก็คงไม่ต้องทำงาน และหากเรามัวทำงานแต่ไม่ฟังประชาชน คงไม่ได้ ดังนั้นในเบื้องต้นจะทำงานไปสักระยะหนึ่งก่อน และพิจารณาว่าจะมีความจำเป็นต้องตั้งคณะอนุกรรมาธิการหรือไม่ แต่อาจจะเหลือเพียงอนุกรรมาธิการ 3 ภาคเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีการหารือในรูปแบบต่อไป

สำหรับเวทีรับฟังความคิดเห็นจากกรรมาธิการฯ นั้น นายพีระพันธุ์ กำหนดให้มี 2 นัดการประชุม คือ ในวันนี้ (14 ม.ค.) และวันที่ 17 มกราคม 2563 ก่อนนำความคิดเห็นที่ได้มาประมวลพูดคุยในกรรมาธิการอีกครั้ง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เอกภพ” เข้าพบ พนง.สอบสวน หลังถูกออกหมายจับ

“เอกภพ สายไหมต้องรอด” เข้าพบ พนง.สอบสวน หลังถูกออกหมายจับปมพยานเท็จดิไอคอน ยันบริสุทธิ์ใจ หากช่วยเหลือประชาชนแล้วโดนจับก็พร้อมรับ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่