กมธ.ป.ป.ช. เชิญ “อภิสิทธิ์” ให้ความเห็นปมถวายสัตย์ฯ

รัฐสภา 18 ธ.ค.-“อภิสิทธิ์” ให้ความเห็นปมถวายสัตย์ฯ ในฐานะอดีตนายกฯ ต่อ กมธ.ป.ป.ช. ยืนยัน นายกฯ ถวายสัตย์ฯไม่ครบ ปัดวิจารณ์ขัดกฎหมายหรือไม่ ขณะที่ ส.ส.อนาคตใหม่ ตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของตุลาการศาล รธน. ไม่รับคำร้องปมถวายสัตย์ฯ ทำ กมธ.วงแตก ไม่ขอรับผิดชอบ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (กมธ.ป.ป.ช.) ที่มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เป็นประธาน เชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าให้ความเห็นกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบตามรัฐธรรมนูญ 

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ พยายามถามนายอภิสิทธิ์ ในฐานะเคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาก่อน ว่า การถวายสัตย์ของนายกรัฐมนตรีครั้งล่าสุด ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่  นายอภิสิทธิ์ ให้ความเห็นว่า การถวายสัตย์ของนายกรัฐมนตรีไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ แต่การจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องของการตีความตามกฎหมาย  ไม่สามารถให้ความเห็นได้ 


จากนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ถามว่า การที่นายกรัฐมนตรีถวายสัตย์ฯไม่ครบ จะทำให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ไม่ชอบกฎหมายด้วยหรือไม่  นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมานานแล้ว  จึงไม่ทราบแนวปฏิบัติว่า หากถวายสัตย์ไม่ครบจะต้องทำอย่างไร และรัฐบาลก็ดำเนินการหลายเรื่องผ่านพ้นไปแล้ว รวมถึง การทำงานภายใต้สภาผู้แทนราษฎรด้วย  และว่า “ผมตอบได้แค่ว่า หากผมเป็นนายกรัฐมนตรี จะถวายสัตย์ฯให้ครบตามรัฐธรรมนูญ”

นอกจากนี้ กรรมาธิการฯ ยังตั้งคำถามว่า การเตรียมการถวายสัตย์ฯของนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้เตรียมการให้ ดังนั้น จึงเป็นความรับผิดชอบของผู้เตรียมเอกสารใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ผู้เตรียมเอกสารจะเป็นใครไม่สำคัญ แต่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีหน้าที่นำคณะรัฐมนตรีถวายสัตย์ฯ จึงต้องเป็นคนรับผิดชอบ

ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะกรรมาธิการฯ พยายามสอบถามนายอภิสิทธิ์ว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องดังกล่าว และให้เหตุผลว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์กับฝ่ายบริหาร  ถือว่าเรื่องดังกล่าวจบสิ้นแล้วลงหรือไม่ 


นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องแยกประเด็นให้ออก เพราะหากกรรมาธิการจะตรวจสอบการทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีว่าครบถ้วนหรือไม่ ควรแยกออกจากเรื่องของพระราชอำนาจ 

จากนั้น นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ในฐานะกรรมาธิการฯ ได้สอบถามนายอภิสิทธิ์ ถึงความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีมติไม่รับคำร้องเรื่องการถวายสัตย์ฯ ของนายกรัฐมนตรี เพราะตุลาการ 2 คนมาจากการสรรหาของ สนช. ที่มีที่มาจาก สนช. และอีก 5 คนก็ถูกต่ออายุมา และล่าสุดก็ยังถูกต่ออายุอยู่  นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ขอแสดงความเห็น เช่นเดียวกับกรรมาธิการฯ หลายคน ที่พยายามยกมือ พร้อมระบุว่า ไม่ขอรับผิดชอบต่อการแสดงความคิดเห็นของนายธีรัจชัย เพราะเห็นว่าเป็นคำพูดที่คล้ายกับการก้าวล่วงอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ .- สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง