fbpx

เปิดขั้นตอนบำบัดจิต 45 วัน หนุ่มแว่นหัวร้อน

นครปฐม 26 ต.ค.-หนุ่มแว่นหัวร้อน ถูกส่งตัวเข้าสู่กระบวนการนิติจิตเวช และบำบัดรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์แล้ว โดยมีทีมสหวิชาชีพดูแลใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตอบข้อสงสัยศาลว่ามีปัญหาทางจิตหรือไม่ ขณะเกิดเหตุมีสติหรือไม่ สมควรเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาหรือต่อสู้ทางคดี เพื่อให้ความเป็นธรรมกับคนไข้ โดยผอ.สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ แจงขั้นตอนบำบัดจิต 45 วัน ขณะที่ “จิตแพทย์” ชี้หากเลี้ยงลูกไม่ดีเป็นต้นเหตุหัวร้อน ไบโพลาร์ และขี้โมโห



หนุ่มขับรถจักรยานยนต์หัวร้อน ไม่พอใจโดนแท็กซี่บีบแตรใส่ ควักมีดขี่ไล่ตามแทง พร้อมทำร้ายร่างกาย จนลุงแท็กซี่ล้มหัวฟาดทางเท้า เลือดอาบเต็มริมถนน แล้วหลบหนี     


อาจารย์สอนแผนกช่างเชื่อม วิทยาลัยเทคนิคสตูล ใช้ปืนพกสั้นไม่ทราบขนาด ยิงใส่พื้นคอนกรีต ข่มขู่นักศึกษาชั้น ปวช.ปี 1 อ้างเคยบาดหมางกันมาก่อน ตักเตือนไม่เชื่อฟัง ไม่เคารพ สร้างความตกใจกลัวให้กับนักศึกษาทั้งแผนก


หนุ่มแว่นหัวร้อน อายุ 24 ปี ขับรถเก๋งเฉี่ยวชนกับรถกระบะ ด่าทอคู่กรณี จิกกัดถึงประเทศและชนชั้น จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เป็นเหตุการณ์บานปลายถึงขั้นชาวบ้านรวมตัวกันกว่า 500 คน มารุมรอด่าหนุ่มแว่นที่สถานีตำรวจ ครอบครัวอ้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 

มีหลายเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผู้ก่อเหตุมักอ้างว่า ก่อเหตุเนื่องจากมีอาการป่วยทางจิต จึงต้องเข้าสู่กระบวนการ “นิติจิตเวช” เพื่อบำบัดรักษาและพิสูจน์ว่าป่วยจริงหรือไม่ กรณีของหนุ่มแว่นหัวร้อนก็เข้าสู่กระบวนการนี้แล้วเช่นกัน เจ้าตัวเกิดอาการเครียด วิ่งชนข้าวของในโรงพยาบาล พ่อแม่ต้องเข้าห้ามปลอบประโลมจนอารมณ์เย็นลง

       

ผอ.สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ บอกว่า ขั้นตอนบำบัดอาการป่วยทางจิต ใช้ระยะเวลา 45 หรือ 90 วัน โดยทีมสหวิชาชีพจะใช้เครื่องมือตรวจสอบว่าแกล้งป่วยหรือไม่ และมีพยาบาลคอยตรวจจับพฤติกรรม ตลอด 24 ชั่วโมง จากนั้นจะลงคำวินิจฉัยว่าป่วยหรือไม่ เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา และตอบข้อซักถามของศาลว่าคนไข้รายนี้มีอาการทางจิตและสมควรรับการบำบัดหรือไม่ และขณะก่อเหตุมีสติรู้ตัวหรือไม่ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับคนไข้และผู้เสียหาย 

ทั้งนี้ ในช่วงปี 2561 พบมีเคส “นิติจิตเวช” ที่เข้าสู่กระบวนการดังกล่าวประมาณ 100 คน แต่ในจำนวนนี้มีผู้ที่ไม่มีอาการป่วยเพียง 2-3 คนเท่านั้น

ด้าน ศ.พญ.อุมาพร ตรังคสมบัติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ให้ความเห็นผ่านแฟนเพจ เกี่ยวกับอาการหัวร้อน กรณีพ่อแม่พาลูกมาปรึกษาเรื่องอารมณ์เสียง่าย ขี้โมโห หงุดหงิด ก้าวร้าว จะต้องทำการตรวจประเมินอย่างละเอียดว่าอะไรเป็นสาเหตุของอารมณ์เหล่านั้น  เช่น ปัญหาทางสมอง ความบกพร่องทางพัฒนาการ อาทิ กลุ่มออทิสติก และโรคสมาธิบกพร่อง ความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรคไบโพลาร์ และโรคซึมเศร้า ปัญหาจากการเลี้ยงดู เช่น ตามใจมากเกินไป หรือใช้ความรุนแรง ปัญหาบุคลิกภาพ แบบอันธพาล หรือหลงตัวเอง และปัญหาปมในใจ บางคนมีปมฝังอยู่ พอใครไปจี้ปมเข้าก็เกิดเรื่อง

     

ทั้งนี้ ลักษณะความหัวร้อนของแต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกัน หากหัวร้อนมากก็ต้องใช้ยาคุมอารมณ์ พ่อแม่ที่มีลูกหัวร้อนน่าเห็นใจ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นออทิสติก ซึ่งยากที่จะสอนให้เข้าใจ ส่วนเด็กกลุ่มที่หัวร้อนจากปัญหาบุคลิกภาพและมีปมในใจ ล้วนเป็นบทเรียนราคาแพงจากการที่ครอบครัวเลี้ยงลูกได้ไม่ดีพอ. – สำนักข่าวไทย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย