โรคหืดยังคร่าชีวิตคนไทยสูง

รร.สุโกศล 17 ต.ค.-แนวโน้มคนไทยเป็นโรคหืดยังคงพุ่งสูง เสียชีวิต 2,000 คนต่อปี เข้าฉุกเฉินปีละล้านครั้ง สาเหตุฝุ่นมาเร็วและนานขึ้น  ต้องรับมือ  ประเมินอาการเบื้องต้นด้วยตัวเอง หากเป็นหวัดเรื้อรัง ไอนาน พบแพทย์ทันที


ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทยและผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้โรคหืดและโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  กล่าวในงาน “การดูแลโรคหืดในมิติใหม่และพันธมิตรระดับสากล” ว่า สถานการณ์ปัจจุบันพบโรคหืดได้มากถึงร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ  ข้อมูลของสำนักโรคไม่ติดต่อ  พบผู้ป่วยโรคหืดมีแนวโน้มเสียชีวิตมากกว่า 2,000 รายต่อปี และรุนแรงขึ้นทุกปี 


โดยสาเหตุของโรคนี้นอกจากได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองควันมลพิษแล้ว  ยังเกิดจากภาวะการขาดภูมิคุ้มกัน ตั้งแต่แรกคลอด เช่น การคลอดโดยการผ่าท้อง ที่มีเพิ่มมากขึ้น  ทำให้เด็กไม่ได้รับภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ จากแม่ทางช่องคลอด เป็นต้น 

ขณะที่ปัจจุบันวิธีดูแลรักษาคนไข้โรคหืด ต้องใช้แบบองค์รวมทั้งรักษาโดยใช้ยาและไม่ใช้ยา ประเทศไทยประยุกต์ใช้ทฤษฎี 4Es คือให้ผู้ป่วยหันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ exercise กินอาหารมีประโยชน์ eating สิ่งแวดล้อม environment และหลีกเลี่ยงอารมณ์ความรู้สึกที่ทำให้เครียด  emotions


ด้าน ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ อาจารย์หน่วยวิชาโรคระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กล่าวว่าทุก ๆ 10 ไมโครกรัมของพีเอ็ม 2.5 ที่เพิ่มขึ้นต่อวัน จะส่งผลให้มีผู้ป่วยมารักษาตัว  ที่โรงพยาบาลทั้งเข้าห้องฉุกเฉินและนอนรักษาตัวเพิ่มขึ้น ด้วยอาการภาวะเฉียบพลันของโรคหอบหืดกำเริบและโรคอื่น เช่น เส้นเลือดในสมองแตก  ตีบตัน  อัมพฤกษ์ อัมพาต  กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว  ปอดอักเสบ  ถุงลมโป่งพอง

และเปิดเผยว่า ภาวะอากาศที่ไทยเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการวันที่ 17 ตุลาคมนี้โดยปกติสภาวะอากาศจะมีความกดอากาศสูงทำให้ภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีโอกาสที่จะมีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนอีกโดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่คาดว่าจะมีการเผาจากฝั่งประเทศกัมพูชาซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยเฉพาะฝั่งตะวันออก   และปัญหาหมอกควันที่เดิมเคยเกิดขึ้น 1 – 2 เดือน แต่ปัจจุบันเกิดขึ้นยาวนานต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3 – 5 เดือน  ฉะนั้น หน่วยงานภาครัฐจะต้องจริงจังในการแก้ไขปัญหา และตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นกับคนที่เผาป่า ซึ่งก่อมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน  สำหรับการออกมาติดตั้งเครื่องฟอกอากาศขนาดใหญ่กลางแจ้งในกรุงเทพฯ นั้น มองว่าไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะเครื่องฟอกอากาศจะใช้ได้  มีประสิทธิภาพ ดีต้องอยู่ในพื้นที่ปิด 

ด้าน ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ สาขาวิชาเวชเภสัชวิทยาและพิษวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า กัญชาสามารถช่วยบรรเทาอาการบางโรคได้  แต่ในโรคหืดเนื่องจากกัญชามีปริมาณสารแตกต่างกัน จึงต้องมีแพทย์ควบคุมให้ผู้ป่วยใช้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้สารสารสำคัญในระดับที่ปลอดภัย.-  สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง