กนอ.ลงนาม “กัลฟ์ เอ็มทีพี” เดินหน้ามาบตาพุดเฟส 3 บิ๊กโปรเจกต์แรกอีอีซี

กรุงเทพฯ 1 ต.ค. – กนอ.ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล เดินหน้าพัฒนาโครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 มูลค่า 47,900 ล้านบาท คาดเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ปี 68



นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นสักขีพยานระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล เพื่อพัฒนาโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการลงทุนโครงการขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นพื้นที่ถมทะเล 1,000 ไร่  โดยบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นโครงการนี้ร้อยละ 70 และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ร้อยละ 30  โดยสัญญาร่วมทุนอยู่ในรูปแบบ Public Private Partnership (PPP) NET Cost หรือร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน โดยให้เอกชนได้รับสิทธิ์ประกอบกิจการบนพื้นที่ 200 ไร่ และจัดสรรผลตอบแทนบางส่วนให้แก่ภาครัฐตามข้อตกลง กนอ.คาดว่าจะดำเนินการเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ปี 2568


สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 55,400 ล้านบาท โดยในช่วงที่ 1 จะเป็นการพัฒนาในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยบริษัทคู่สัญญาที่ลงนามวันนี้ (1 ต.ค.) สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่ได้ทันที ซึ่งเอกชนที่ชนะการประมูลช่วงที่ 1 จะได้สิทธิ์พัฒนาพื้นที่ท่าเรือ (Superstructure) ประมาณ 200 ไร่  รวมมูลค่าการลงทุน ประมาณ 47,900 ล้านบาท แบ่งเป็น กนอ.ร่วมลงทุนเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิไม่เกิน 12,900 ล้านบาท และภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท ได้แก่ การขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ 550 ไร่ และพื้นที่เก็บกักตะกอน 450 ไร่ การขุดลอกร่องน้ำ และแอ่งกลับเรือ การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือ ท่าเทียบเรือบริการ และท่าเรือก๊าซรองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซได้ 10 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2568

นายสมคิด กล่าวว่า รัฐบาลเริ่มโครงการอีอีซี ประมาณ 3-4 ปีมาแล้ว โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 เป็นโครงการที่มีความสำคัญ เพราะในช่วง 30-40  ปีที่มีการพัฒนาโครงการท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด ในช่วงที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาถึงขณะนี้ 2 โครงการใช้พื้นที่เต็มศักยภาพแล้ว การลงทุนโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 จึงเป็นศูนย์กลางพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัล ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีอุตสาหกรรมนี้มูลค่านับล้านล้านบาท ประเทศอื่นไม่มี และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นสูงจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมไฮเทคต่อไป โครงการนี้จึงรองรับการเป็นศูนย์กลางพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลต่อไป 

โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 ช่วงที่ 1 มูลค่า 47,900 ล้านบาท ต้องการให้เร่งเดินหน้าโดยเร็ว เพราะนับเป็น 1 ใน 5 โครงสร้างพื้นฐานหลักในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือ EEC Project List ที่ถือเป็นโครงการแรกในการเซ็นสัญญาร่วมทุน  และคาดว่าโครงการอื่น ๆ จะมีการลงนามกับผู้ชนะการประมูลตามมา โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะลงนามกับเอกชนผู้ชนะการประมูล คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) หรือกลุ่มซีพี ก่อนวันที่ 15 ตุลาคมนี้ และยืนยันว่าไม่ได้กดดันกลุ่มซีพี 


“หากโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักของอีอีซีทยอยเดินหน้าลงนามในสัญญาไปได้ ก็จะเป็นการยืนยันว่า ประเทศไทยสามารถเริ่มต้นโครงการขนาดใหญ่อย่างอีอีซีได้ ซึ่งต่างประเทศรอดูอยู่ และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในขณะนี้ เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถประคับประคองจีดีพีประเทศให้เติบโตระดับที่เหมาะสม แต่โครงการนี้จะสร้างอนาคตให้ประเทศได้ และให้ประโยชน์ตกอยู่กับประชาชน” นายสมคิด กล่าว  

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า  โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 จะช่วยให้การการสร้างงานในพื้นที่และเพิ่มการขนส่งสินค้าทางเรือมากขึ้นมีความปลอดภัย และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเกิดขึ้น จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำวัตถุดิบไปผลิตสินค้าขายในราคาถูกเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของประเทศ

นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอจี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 มีส่วนสำคัญผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่น หรือ LNG HUB ในอนาคตและช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศให้ดีขึ้น เชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการหลักช่วยให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศเข้มแข็งขึ้น และมีส่วนเกื้อหนุนธุรกิจอื่น ๆ ผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกมา และช่วยภาพลักษณ์เพิ่มรายได้ของประเทศด้วย

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  โครงการนี้เป็นการเปิดประตูค้าขายของประเทศและเป็นที่ที่เหมาะสร้างเท่าเรือก๊าซธรรมชาติเหลวหรือ LNG capacity ความจุประมาณ 5 ล้านตันต่อปี ปัจจุบัน ปตท.มีอยู่แล้วประมาณ 11.5 ล้านตัน กำลังก่อสร้างที่หนองแฟบอีก 7.5 ล้านตัน รวมเป็น 19 ล้านตัน ถ้าตรงนี้ได้มาบวกอีก 5 ล้านตัน เชื่อว่าจะรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศในอนาคต รวมถึงรองรับการที่จะให้ประเทศไทยเป็น LNG HUB ของประเทศด้วย คือ เป็นศูนย์กลางการค้าของก๊าซธรรมชาติเหลว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ คาดโซน C พบผู้เสียชีวิตมากสุด

เข้าสู่วันที่ 10 ค้นหาผู้ประสบภัยในซากตึก สตง.ถล่ม “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” คาดโซน C น่าจะพบผู้เสียชีวิตมากที่สุด เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตบริเวณนี้ประมาณ 10-20 ร่าง ด้าน “ช่างเบิร์ด” ที่ทำงานวางระบบไฟฟ้า เผยเจรจากับบริษัทผู้จ้างมาแล้ว 3 ครั้ง แต่จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับเงินที่ค้างอยู่

สิ้น “ผ่องศรี วรนุช” ศิลปินแห่งชาติ วัย 85 ปี

วงการบันเทิงเศร้า “ผ่องศรี วรนุช” ศิลปินแห่งชาติ ราชินีลูกทุ่งคนแรกของไทย จากไปอย่างสงบ ในวัย 85 ปี หลังป่วยมะเร็งปอดและเข้ารับการรักษามาระยะหนึ่ง

Trump signs order on new tariffs

สหรัฐเริ่มแล้วเก็บภาษี 10% สินค้านำเข้าจากทั่วโลก

วอชิงตัน 6 เม.ย.- ศุลกากรสหรัฐเริ่มมาตรการเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าทั้งหมดจากทั่วโลกแล้วตั้งแต่วันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ ก่อนที่จะเก็บภาษีเพิ่มกับแต่ละประเทศในสัปดาห์หน้า อัตราภาษีพื้นฐานร้อยละ 10 มีผลกับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าสหรัฐผ่านด่านทางทะเล ทางอากาศ และโกดังของศุลกากรตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 5 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ตรงกับเวลา 11.01 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกลำเลียงแล้วหรืออยู่ระหว่างขนส่งเข้าสหรัฐก่อนเวลาดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันไม่ถูกเก็บภาษีร้อยละ 10 โดยต้องมาถึงสหรัฐภายในวันที่ 27 พฤษภาคมหรือภายใน 51 วัน ส่วนภาษีที่สหรัฐจะเรียกเก็บเพิ่มจากแต่ละประเทศในอัตราที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ร้อยละ 11 ไปจนถึงร้อยละ 50 จะเริ่มมีผลตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 9 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ซึ่งขณะนี้ช้ากว่าไทย 11 ชั่วโมงเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อน โดยไทยจะถูกเรียกเก็บเพิ่มในอัตราร้อยละ 36 สำหรับสินค้าประมาณ 1,000 ประเภทที่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการภาษีใหม่ของสหรัฐ เช่น ยา ยูเรเนียม เซมิคอนดักเตอร์ รัฐบาลสหรัฐกำลังพิจารณาเรื่องอัตราภาษีใหม่ที่จะใช้กับสินค้าเหล่านี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ […]

ทีมกู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม

วันที่ 9 ของภารกิจค้นหาผู้ติดค้างใต้ซากตึก สตง. เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นๆ นำกำลังเข้าพื้นที่ค้นหา ล่าสุดสามารถนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม