ยอดใช้สิทธิ์ FTA-GSP 4 เดือน กว่า 2.42 หมื่นล้านดอลลาร์

นนทบุรี 25 มิ.ย. – ยอดใช้สิทธิ์ FTA และ GSP 4 เดือน กว่า 2.42 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ  5 อาเซียนนำใช้สิทธิ์สูงสุด คาดตั้งแต่ 1 ก.ค.62 เริ่มใช้ Form D แบบซื้อขายผ่านนายหน้าจะช่วยให้ไทยเพิ่มยอดการใช้สิทธิ์ส่งออกมากขึ้น


นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในช่วง 4 เดือนของปี 2562 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่ารวม 24,274.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ อยู่ที่ร้อยละ 80.27 เพิ่มขึ้นร้อยละ  5


แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA มูลค่า 22,546.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.88 และภายใต้ GSP มูลค่า 1,727.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.15 ขณะที่การใช้สิทธิ์ภายใต้ FTA 12 ฉบับ โดย FTA อาเซียน-ฮ่องกง เป็นฉบับล่าสุดที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ที่มีมูลค่า 22,546.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.88 นั้น คิดเป็นร้อยละ 79.79 ของมูลค่าการส่งออกภายใต้ FTA ไปยังประเทศคู่ภาคีความตกลง โดยตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน มูลค่า 8,272.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จีน มูลค่า 6,224.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออสเตรเลีย มูลค่า 2,669.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ญี่ปุ่น มูลค่า 2,578.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอินเดีย มูลค่า 1,535.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม กรมฯ คาดว่าการส่งออกไปยังอาเซียนและ CLMV จะมีการใช้สิทธิประโยชน์ฯ เพิ่มขึ้น หลังจากจะเริ่มใช้ Form D ที่ใช้หลักการซื้อขายผ่านนายหน้า 2 รูปแบบควบคู่กัน คือ Third Country Invoicing ร่วมกับ Back-to-Back ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นไป โดยหลักการนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำเข้าสินค้าที่ใช้ Form D แบบ Third Country Invoicing ที่แนบ invoice ของพ่อค้าคนกลางประกอบการใช้สิทธิ์ฯ ควบคู่กับมาขอ Form D แบบ Back to Back เพื่อกระจายสินค้าขายต่อไปยังประเทศอาเซียนอื่น ๆ โดยเฉพาะการขายต่อไปยังประเทศกลุ่ม CLMV ได้ ซึ่งจะเอื้อต่อระบบการค้าปัจจุบันที่มีการซื้อขายผ่านนายหน้า และช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการไทยที่มีเครือข่ายทางการค้าและมีศักยภาพด้านโลจิสติกส์ให้มีแต้มต่อเพื่อแข่งขันได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลงจากการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังจะทำให้ไทยสามารถพัฒนาเป็นฮับกระจายสินค้าในภูมิภาคอาเซียนได้ด้วย


สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ GSP 4 ระบบ ประกอบด้วย สหรัฐ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ ญี่ปุ่นตัดสิทธิ์การให้ GSP แก่ไทยตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2562 มีมูลค่า 1,727.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  22.15 มีอัตราการใช้สิทธิ์ ร้อยละ 87 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ GSP โดยสหรัฐยังคงมีสัดส่วนการใช้สิทธิ์มากที่สุด คือ ร้อยละ 92 ของมูลค่าการใช้สิทธิ GSP ทั้งหมด มีมูลค่า1,591.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  17.21 มีอัตราการใช้สิทธิ์ร้อยละ 106.63 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ์ GSP ซึ่งมีมูลค่า 1,492.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง รถจักรยานยนต์ และแว่นตาที่ไม่ใช่กันแดด

ส่วนกรณีที่สหรัฐประกาศระงับสิทธิ์ GSP กับอินเดีย มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 เนื่องจากอินเดียไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการเปิดตลาดอย่างถูกต้องเหมาะสม และมีการออกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ส่งผลเชิงลบต่อการค้าของสหรัฐ ดังนั้น เมื่ออินเดียถูกสหรัฐระงับสิทธิ์ GSP ผู้นำเข้าสหรัฐอาจหันมาซื้อสินค้าจากแหล่งอื่น จึงถือเป็นโอกาสอันดีของไทยที่จะผลิตสินค้าเพื่อส่งออกทดแทนสินค้าอินเดียในสหรัฐ โดยเฉพาะรายการที่ยังมีมูลค่าการใช้สิทธิ์ GSP ไม่สูงมาก โดยกลุ่มสินค้าที่ไทยน่าจะมีโอกาสบุกตลาดสหรัฐ ได้แก่ ของทำด้วยหิน กระเป๋าถือและของที่พกติดกระเป๋าทำด้วยหนัง เครื่องจักสาน คาร์บอนกัมมันต์ (ถ่านสำหรับกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ) และแผ่นทำด้วยโพลิเมอร์ของโพรพิลีน เนื่องจากอินเดียจะต้องเสียภาษีนำเข้าปกติที่ประมาณ ร้อยละ 0.1-54.6 ส่งผลให้สินค้านำเข้าจากอินเดียมีต้นทุนสูงขึ้น โดยปี 2561 อินเดียมีมูลค่าการใช้สิทธิ์ GSP ไปสหรัฐรวม 6,234.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิ์ GSP ไปสหรัฐ 4,314.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในช่วง 4 เดือนที่มีมูลค่า 24,274.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  5 คิดเป็นร้อยละ 29.96 ของเป้าหมายมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ  ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสวนทางกับภาวะการส่งออกของไทยในช่วง 4 เดือนแรกที่ลดลงร้อยละ  1.86 โดยต้องจับตาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก เช่น ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การแข็งค่าของเงินบาทที่ทำให้ประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อสินค้าจากไทย อีกทั้งผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะส่งผลต่อเป้าหมายมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในปี 2562 ที่กรมฯ ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 81,025 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 แต่กรมฯ จะไม่หยุดส่งเสริมและผลักดันการใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออก และจะเดินหน้าปรับปรุงระบบการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการจัดกิจกรรมสัมมนาเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อัตราการขยายตัวมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ บรรลุได้ตามเป้าหมายที่วางไว้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ที่ทำการพรรคเพื่อไทยแห่งใหม่

ทำบุญเปิดที่ทำการพรรคเพื่อไทยแห่งใหม่

“แพทองธาร” ควง “ทักษิณ” ทำบุญเปิดที่ทำการพรรคเพื่อไทยแห่งใหม่ รมต.-แกนนำ-สส. พรรคเข้าร่วมพร้อมเพรียง ด้าน “ไชยชนก ชิดชอบ” เลขาธิการ ภท. มอบกระเช้าแสดงความยินดี

ชายฉกรรจ์ดักรุมทำร้ายหมอเจ้าของคลินิกเวชกรรม ย่านสีลม

ายฉกรรจ์ดักรุมทำร้ายหมอ หน้าคลินิกเวชกรรม ย่านธุรกิจสีลม จนเลือดอาบ เบื้องต้นไม่ทราบว่าคนร้ายเป็นใคร

ข่าวแนะนำ

ระทึก! ปิดล้อมก่อนปะทะ แนวร่วมดับ 4 ที่ยะลา คาดเตรียมก่อเหตุใหญ่

เหตุปิดล้อมปะทะกลุ่มคนร้าย ที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ยืนยันมีคนร้ายเสียชีวิต 4 ราย คาดเตรียมก่อเหตุใหญ่ในพื้นที่

ออกหมายจับ 2 ชายฉกรรจ์รุมทำร้ายหมอเจ้าของคลินิกเวชกรรม

ศาลอนุมัติหมายจับ 2 ชายฉกรรจ์รุมทำร้ายนายแพทย์ เจ้าของคลินิกเวชกรรม ย่านสีลม ด้านผู้เสียหายเชื่อมีคนบงการ เพราะมีการวางแผนเป็นระบบ ส่วนอาการบาดเจ็บดีขึ้นแล้ว

ญาติร้องสื่อ หนุ่ม ปวส.ฝึกงานที่ญี่ปุ่น ดับปริศนา

น้าสาวร้องสื่อ หลานชายจบ ปวส. ฝึกงานที่ญี่ปุ่น หายตัวปริศนา 1 เดือน สุดท้ายกลายเป็นศพ วอนช่วยประสานนำร่างกลับไทย เชื่อถูกฆาตกรรม เผยร้องหลายหน่วยงานนานนับเดือน แต่ไร้ความช่วยเหลือ

กดเงินหมื่น

ผู้สูงอายุชาวเชียงใหม่ฝ่าลมหนาวกดเงินหมื่นคึกคัก

เช้านี้ (27 ม.ค.) ผู้สูงอายุชาวเชียงใหม่ ฝ่าลมหนาวออกมากดเงิน 10,000 บาท จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ไปใช้จ่าย แต่มีบางคนไม่ได้ลงทะเบียนไว้ ทำให้ชวดรับเงินหมื่น เฟส 2