ยอดจองทุเรียนภาคตะวันออกมีมาก เปิดขายออนไลน์คู่ส่งออก

กรุงเทพฯ 10 เม.ย. – กระทรวงเกษตรฯ ระบุยอดจองทุเรียนขายออนไลน์ถล่มทลายตั้งแต่ต้นฤดู ราคาพุ่งไม่หยุด หากเหมาต้นขายได้ 150 บาทต่อกิโลกรัมทุกลูก ส่วนล้งแบะสหกรณ์คัดคุณภาพส่งออกจีน 


นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า จากผลสำรวจข้อมูลทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด  ทุเรียนที่มีคุณภาพส่วนใหญ่เกษตรกรจะจำหน่ายแบบเหมาสวนให้แก้ล้ง และเลือกจำหน่ายทุเรียนแก่ล้งที่ให้ราคาดีกว่า เพื่อส่งออกไปยังตลาดจีน ซึ่งขณะนี้ยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุทุเรียน (ล้ง) ได้เปิดรับซื้อทุเรียนตั้งแต่ช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม

สำหรับเกรดพรีเมี่ยมส่งห้างสรรพสินค้าภายในประเทศ เช่น Tops  Makro และ The Mall โดยผลผลิต เกรด A และ เกรด B ราคารับซื้อเหมาสวน อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ  115 – 130 บาท เกรด C กิโลกรัมละ 90 บาท และ เกรดรวม (คละไซส์ทุกลูก) กิโลกรัมละ 120 บาท ในขณะที่เกรดพรีเมี่ยม กิโลกรัมละ 135 – 140 บาท  ทั้งนี้ สำหรับ ผลผลิตตกเกรด ซึ่งส่วนใหญ่กระจายตลาดภายในประเทศอยู่ที่กิโลกรัมละ 85 บาท


นอกจากนี้เกษตรกรมีแนวโน้มขายทุเรียนแบบออนไลน์ผ่าน Facebook และ Line มากขึ้น โดยรับประกันคุณภาพและบริการจัดส่งผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทยและบริษัทขนส่งเอกชนซึ่งทำให้เกษตรกรได้รับราคาจำหน่ายสูงกว่าตลาดทั่วไป และหากขายยกกล่องตามน้ำหนักสามารถคละเกรดในการจำหน่ายได้ด้วย รวมถึงการขายแบบเหมาต้นทุเรียนในสวนราคากิโลกรัมละ 150 บาททุกลูก เป็นต้น

นางอัญชนา กล่าวว่า  สหกรณ์การเกษตรหลายสหกรณ์ในภาคตะวันออกมีบทบาทสำคัญในการรวบรวมผลผลิตทุเรียนจากเกษตรกรสมาชิก เป็นตัวกลางในการซื้อขายผลผลิต และการคัดคุณภาพระหว่างเกษตรกรและบริษัทคู่ค้าด้วย โดยรับรองคุณภาพและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทำให้ราคาที่เกษตรกรได้รับสูงกว่าตลาดทั่วไป สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ตามาตรฐาน GAP จะได้รับราคาจำหน่ายเพิ่มอีกกิโลกรัมละ 2 บาท นอกจากนี้ บางสหกรณ์ยังมีห้องเย็นในการแปรรูปเป็นทุเรียนแช่แข็ง และแกะเปลือกส่งออกตลาดต่างประเทศเช่น จีน และสหรัฐอเมริกา อีกทั้งสามารถรองรับผลผลิตที่ตกเกรดจากการส่งออกได้ โดยราคารับซื้ออยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 50 – 60 บาท รวมไปถึงการรับจ้างบรรจุภัณฑ์ (Packing) และให้เช่าสถานที่ในการคัดบรรจุกับบริษัทส่งออก ซึ่งในอนาคตคาดว่า การส่งออกทุเรียนแช่แข็งจะสามารถขยายตลาดต่อไปได้อีก

นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรได้ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ประกอบการและเกษตรกรถึงระบบการตรวจสอบคุณภาพผลไม้ของจีน ซึ่งจะมีความเข้มงวดมากขึ้นนั้น ทำให้เกษตรกรมีความตื่นตัวในการขึ้นทะเบียน และรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อยื่นยืนยันที่โรงคัดบรรจุมากขึ้น โดยปี 2562 (ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 29 มีนาคม 2562 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จันทบุรี) พบว่า มีเกษตรกรภาคตะวันออกที่จดทะเบียนรับรองแหล่งผลิต (GAP) ทุเรียนแล้ว 4,121 ราย รวมพื้นที่ 55,953.12 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึงร้อยละ 77 ส่วนด้านโรงคัดบรรจุต้องผ่านมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) เพื่อยืนยันสำหรับการส่งออก โดยระบุรหัสโรงคัดบรรจุลงบนใบรับรองสุขอนามัยพืช (PC) ด้วยเช่นกัน


นางอัญชนากล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาของเกษตรกร คือ แรงงานภาคเกษตรที่มีค่าแรงที่เพิ่มขึ้นและการขาดแคลนแรงงานในสวนผลไม้ รวมถึงที่โรงคัด ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการดูแลรักษาต้นทุเรียน และค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมารดสวนเนื่องจากภัยแล้ง ดังนั้นเกษตรกรควรลดต้นทุน โดยการใช้ยาและสารเคมีตามความจำเป็น รวมทั้งภาครัฐให้การสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง มีการวางแผนให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในแต่ละเดือน และบำรุงรักษาต้น เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ ตลอดจนการนับวันดอกบานและกำหนดวันเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้มีทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสได้รับกำไรมากขึ้น และสามารถทำสวนผลไม้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่