สมชัยเปิดสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ไม่ฟันธงสูตรใครถูกต้อง

พรรคประชาธิปัตย์ 8 เม.ย.- “สมชัย” เปิดสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ  16 พรรค ได้ ส.ส. ไม่ฟันธงสูตรใครถูกต้องที่สุด เตรียมส่งสูตร กกต ภายในสัปดาห์นี้


นายสมชัย ศรีสุทธิยากร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงข่าวกับสื่อมวลชนอธิบายวิธีคำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คำนวนอย่างไรไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ  โดยนายสมชัย กล่าวว่า หัวใจหลักของการคำนวณ จะต้องอ้างอิงกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา91 และกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 จากที่ตนลองคำนวณจะมีพรรคการเมืองที่มีโอกาสได้จำนวน ส.ส. 16 พรรค ต่างจากการคำนวนของกกต ที่เปิดเผยล่าสุดว่า จะมี 25 พรรคการเมืองที่จะมีโอกาสได้ ส.ส.  ส่วนจุดที่ทำให้เกิดความต่าง คือการคำนวณในมาตรา 128 (5) ที่ระบุว่า  จะต้องไม่มีพรรคการเมืองใด มีจำนวน ส.ส.เกินจำนวนที่แต่ละพรรคพึงมีจากการคำนวณ โดยไม่จัดสรรให้พรรคที่มีคะแนนต่ำว่าเกณฑ์ ที่จะได้รับ ส.ส. หรือ คะแนนต่ำกว่า 71,057.498 คะแนน  

นายสมชัย กล่าวว่า วิธีคิดที่แตกต่างของแต่ละฝ่ายไม่ได้มีปัญหาที่กฎหมาย แต่อาจเกิดจากการไม่ได้ทำความเข้าใจ และเชื่อว่าหลังจากนี้อาจมีเงื่อนไขใบเหลือง ใบส้ม ที่ส่งผลต่อคะแนน โดยเสนอให้ กกต. เปิดเวทีรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ ในช่วงเวลา 1 เดือนที่เหลือ ก่อนการประกาศรับรอง ส.ส.ในวันที่ 9 พ.ค.นี้  โดยต้องไม่ยึดวาทกรรมว่าทุกคะแนนเสียงไม่ทิ้งน้ำ  เพราะเชื่อว่าสิ่งที่กำหนดมาในวิธีคิดอาจผิดพลาดก็ได้ แต่สุดท้าย กกต.เป็นผู้ตัดสินใจและจะต้องรับผิดชอบต่อการเลือกใช้สูตรในการคำนวณ


นายสมชัย กล่าวว่า เชื่อว่าไม่มีใครกดดัน กกต. ไม่ว่าจะใช้สูตรใด แต่ กกต. ต้องรับผิดชอบกับผลการใช้สูตรนั้น และหาก กกต.ใช้สูตรคำนวนผิด จะถือว่าบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ดูที่เจตนา หากผิดโดยตั้งใจ ก็ต้องพิจารณาตัวเอง อีกทั้ง การคำนวนผิด ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเป็นโมฆะ 

ส่วนที่มีข้อเสนอให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น นายสมชัย กล่าวว่า การจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความจะต้องเกิดจากความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานราชการ ส่วนตัวเชื่อว่า การยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความในช่วงนี้คงเป็นไปไม่ได้  และภายในสัปดาห์นี้ ตนตั้งใจจะนำเอกสารรูปแบบวิธีการคิดคำนวณส่งให้ กกต.ด้วย 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากวิธีการคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ของนายสมชัย ส่งผลให้มี 16 พรรคการเมือง ที่ได้ ส.ส. ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ มีสิทธิได้ ส.ส. 118 คน พรรคเพื่อไทย 137 คน  พรรคอนาคตใหม่ 86 คน  พรรคประชาธิปัตย์ 55 คน   พรรคภูมิใจไทย 52 คน   พรรคเสรีรวมไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคละ 11 คน  พรรคเศรษฐกิจใหม่ และพรรคประชาชาติ พรรคละ 6 คน   พรรคเพื่อชาติ และพรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคละ 5 คน  พรรคชาติพัฒนา 3 คน  พรรคพลังท้องถิ่นไท 2 คน  และพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย  พรรคพลังปวงชนไทย และพลังชาติไทย พรรคละ 1 คน ซึ่งพรรคเล็กกว่า 10 พรรคที่ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จากเดิมที่มีสิทธิได้รับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคละ 1 คน ก็จะไม่ได้เก้าอี้ ส.ส. ในสภา.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง