ย้อนรอยคดี นพ.สุรพงษ์ แก้ไขสัญญาสัมปทานเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป


กทม. 25 ส.ค. – ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก 1 ปี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีไอซีที โดยไม่รอลงอาญา คดีแก้ไขสัญญาเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทในเครือชินวัตร


25-8-2559 18-43-07 25-8-2559 18-42-18

ย้อนรอยคดีอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ที่ลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัทในเครือชินวัตร ตามที่ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย 3 คน ประกอบด้วย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีไอซีที นายไกรสร พรสุธี อดีตปลัดกระทรวงไอซีที และนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ อดีตผู้อำนวยการสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ และอดีตปลัดไอซีที ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157


25-8-2559 18-41-39 25-8-2559 18-42-30

คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2546 ที่บริษัท ชินแซทเทลไลท์ หรือบริษัท ไทยคมฯ ในปัจจุบัน ได้ทำหนังสือไปยังกระทวงไอซีที ขออนุมัติลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น ลงจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 โดยให้เหตุผลว่าต้องการหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันธุรกิจ และเมื่อวันที่ 18 ต.ค.2547 นพ.สุรพงษ์ อนุมัติให้แก้สัญญาตามที่นายไกรสร ปลัดกระทรวงเสนอ และมีการลงนามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ต.ค.47 ลดสัดส่วนการถือหุ้นของ “อินทัช” ใน “ไทยคม” เหลือร้อยละ 40 โดยไม่เสนอเข้า ครม.พิจารณา

25-8-2559 18-43-38


หลังรัฐประหารปี 2549 คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) หยิบยกเรื่องนี้มาพิจารณา ก่อนส่งให้ ป.ป.ช.ดำเนินการ ซึ่งชี้ว่าจำเลยทั้ง 3 ราย มีพฤติกรรมเอื้อประโยชน์ให้แก่ “กลุ่มชินคอร์ป” มีความผิดทางอาญา และส่งเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลฎีกา

แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งวันนี้ศาลมีคำพิพากษาจำคุก นพ.สุรพงษ์ 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่วนจำเลยอีก 2 คน คือ นายไกรสร พรสุธี และนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท แต่ให้รอลงอาญา 5 ปี เนื่องจากศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามที่มีหน้าที่ดูแลรักษาผลประโยชน์รัฐ แต่กลับละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายกับสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ ก.ไอซีที เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานจากรัฐ

ก่อนหน้านี้ นพ.สุรพงษ์ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท แต่ให้รอลงอาญา คดีแทรกแซงการแต่งตั้งบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย สมัยดำรงตำแหน่ง รม.คลัง ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง