จับตาภัยแล้ง..น้ำใช้ได้ “น้อย” กว่าปีก่อนทุกเขื่อน

5 มี.ค.- เข้าสู่เดือนมีนาคม สิ่งที่ต้องจับตามองใกล้ชิด คือ นอกจากอากาศร้อนแล้ว เรื่องของภัยแล้งที่จะตามมา โดยเฉพาะปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ


นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เร่งรัดให้ทุกโครงการชลประทานจังหวัดจัดทำข้อมูลสำรวจและวางแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำต้นทุนที่กรมชลประทานรับผิดชอบดูแล รวมถึงแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตชลประทาน รวบรวมข้อมูลสถานการณ์น้ำจัดทำเป็นรายงานสรุปผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้รับทราบถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนการดำเนินการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

สำหรับสถานการณ์น้ำปัจจุบันอธิบดีกรมชลประทานยืนยันว่าเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ การเกษตร(พืชใช้น้ำน้อย) และอุตสาหกรรม ในเขตชลประทานประมาณ 30 ล้านไร่ 


ขณะที่การเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปีนี้ ข้อมูลกรมชลประทานถึง 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาทั้งประเทศปลูกไปแล้วประมาณ 8.59 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 82 ของแผนฯ ส่วนใหญ่เป็นข้าวนาปรังประมาณ 8 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วประมาณ 870,000 ไร่ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาปลูกข้าวนาปรังประมาณ 5.85 ล้านไร่ จากแผนที่กำหนดไว้ 5.30 ล้านไร่ จึงเกินแผนไปแล้วร้อยละ 10 เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วประมาณ 520,000 ไร่ อธิบดีกรมชลประทาน จึงให้ชลประทานทุกพื้นที่เร่งทำความเข้าใจกับเกษตรกรขอให้งดทำนาปรัง (นารอบที่ 3) เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้อย่างเพียงพอจนเข้าสู่ฤดูฝน ส่วนพืชไร่ พืชผัก ใช้น้ำน้อย ตามแผน จะปลูก 2.43 ล้านไร่ พบว่า มีการปลูกเพียง 510,000 ไร่เท่านั้น ชี้ให้เห็นได้ส่วนหนึ่งว่า การส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นแทนข้าว ยังได้รับความสนใจน้อยอยู่ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงปลูกข้าวเป็นหลัก


ดูปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ทั่วประเทศกันบ้าง จนถึงวันที่ 5 มีนาคม มีปริมาณน้ำทั่วประเทศประมาณ 47,000 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 3,800 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำใช้การได้ประมาณ 50 % หรือ 23,800 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีน้ำใช้การ 58 % หรือ 27,600 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยหน้าแล้ง เขื่อนที่น่าเป็นห่วงมีปริมาณน้ำน้อยมี 3 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนอุบลรัตน์ มีน้ำ 28 % เขื่อนทับเสลา 25 % และเขื่อนกระเสียว 22 % ขณะที่ปีที่แล้วไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีน้ำน้อยกว่า 30 % เลย

มาดู 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยากันบ้าง ปรากฏว่า ทั้ง 4 เขื่อน มีปริมาณน้ำใช้การ จนถึงวันนี้น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทุกเขื่อนไม่ว่าจะเป็นเขื่อนภูมิพล น้ำใช้การ 40 % เขื่อนสิริกิติ์ 46 % เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 46 % และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 36% จากปีที่แล้วทั้ง 4 เขื่อนหลักมีปริมาณน้ำใช้การเกิน 50 % ทั้งสิ้น

นอกจากน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว น้ำที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างน้ำดิบผลิตน้ำประปาก็ต้องจับตาเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาคระบุว่า พื้นที่เฝ้าระวังปัญหาขาดแคลนน้ำได้แก่ ภาคอีสานและบางส่วนของภาคเหนือตอนกลาง โดยมีการตรวจวัดระดับน้ำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ หากพบว่า แหล่งน้ำใดระดับน้ำลดลงน่าเป็นห่วง จะทยอยนำน้ำจากแหล่งน้ำระยะไกลเข้ามาสะสมเอาไว้  และให้ความมั่นใจระดับหนึ่งว่า หน้าแล้งนี้ น่าจะมีน้ำประปาเพียงพอ โดยมีผลกระทบต่อประชาชนไม่มาก

ส่วนที่จังหวัดบุรีรัมย์ สถานการณ์ภัยแล้งน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตประปาในตัวเมืองบุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำลดต่ำในรอบ 30 ปี ปัจจุบันเหลือน้ำเพียง 2 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุอ่างทั้งหมด 26 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ต้องใช้น้ำดิบในการผลิตประปาเฉลี่ยวันละ 50,000 ลูกบาศก์เมตร จึงคาดการณ์ว่าน้ำที่ตเหลือจะสามารถผลิประปาได้ถึงวันที่ 31 มี.ค.เท่านั้น จากสถานการณ์ดังกล่าว 

นายธีรวัฒน์ วุฒิคุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์  จึงบูรณาการกับหลายภาคส่วน หามาตรการรองรับและป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ล่าสุด ประสานงานกับสำนักชลประทานที่ 8 ระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางกว่า 140 กิโลเมตรมาเติมสำรองในอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ให้ได้ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรเพื่อบริการประชาชนและหล่อเลี้ยงพื้นที่เศรษฐกิจได้ตลอดหน้าแล้งนี้

นี่เป็นตัวอย่างของพื้นที่ภัยแล้งที่ต้องจับตามอง ว่า สถานการณ์จะเป็นอย่างไร ขณะที่มาตรการแก้ไขและการประหยัดน้ำของประชาชน อาจจะต้องเตรียมการรับมือกันไว้บ้างแล้ว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า