โฆษกทัพไทย โต้ “พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์” ยุบ บก.ทัพไทย

กรุงเทพฯ 21 ก.พ.-โฆษก บก.ทัพไทย แจงบทบาท ความสำคัญกองบัญชาการกองทัพไทย หลัง “พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์” ขู่ยุบหากได้เป็นนายกฯ


พล.ต.กฤษณ์ จันทรนิยม โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) แสดงความคิดเห็นกรณี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย หาเสียงชูนโยบายยุบกองบัญชาการกองทัพไทยหากได้เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า อยากชี้แจงทำความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของกองบัญชาการกองทัพไทยว่า กองทัพไทยถือกำเนิดคู่กับความเป็นชาติไทย เหล่าทหารหาญได้พลีเลือดเนื้อ และชีวิต เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ รวมทั้งสร้างความผาสุกให้กับประชาชนมาโดยตลอด เดิมที่มีเพียงกองทัพบก ต่อมาจึงได้จัดตั้งกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ตามลำดับ สำหรับกองบัญชาการกองทัพไทยนั้นได้จัดตั้งขึ้นในภายหลัง

“ซึ่งบางคนอาจมีคำถามว่าทำไมจึงต้องมีกองบัญชาการกองทัพไทย บทเรียนที่ได้จากการปฏิบัติการทางทหารในยุคใหม่ แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติการทางทหารในปัจจุบันและอนาคตนั้น ยากที่เหล่าทัพใดจะสามารถชนะในสนามรบได้โดยลำพัง เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้การรบเป็นไปด้วยความรวดเร็ว รุนแรง และครอบคลุม หลายมิติ มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องสนธิขีดความสามารถของทุกเหล่าทัพเข้าด้วยกันอย่างประสานสอดคล้อง เพื่อนำขีดความสามารถของกำลังเหล่าทัพหนึ่งไปชดเชยจุดอ่อนของกำลังอีกเหล่าทัพหนึ่ง อันจะนำไปสู่ความได้เปรียบเหนือฝ่ายตรงข้าม ซึ่งในวงการทหารรู้จักกันดีในนาม การปฏิบัติการร่วม หรือ Joint Operations เมื่อมีการปฏิบัติการร่วม ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่วางแผน อำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการปฏิบัติการร่วมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กองทัพสหรัฐฯ ได้มีการจัดตั้งคณะเสนาธิการร่วม หรือ The U.S. Joint Chiefs of Staff ขึ้นในปี ค.ศ.1942 (พ.ศ.2482) และได้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย วางแผน และอำนวยการปฏิบัติการของฝ่ายพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2” โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย กล่าว


พล.ต.กฤษณ์ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยได้มีการจัดตั้ง “กองบัญชาการทหารสูงสุด” เป็นหน่วยงานถาวร เพื่อทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากำลังสามเหล่าทัพใน พ.ศ.2503 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นกองบัญชาการกองทัพไทย ทำหน้าที่วางแผน อำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทย จะเห็นได้ว่า การมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่วางแผน อำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการปฏิบัติการร่วม ถือเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง กองทัพของประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานในลักษณะนี้อยู่แล้ว ก็ล้วนพยายามพัฒนาให้มีบทบาทและความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น สำหรับประเทศที่ยังไม่มี ก็พยายามจะจัดตั้งขึ้น เพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ

“ดังนั้น สิ่งที่ควรถาม จึงไม่ใช่ ทำไมจึงต้องมีกองบัญชาการกองทัพไทย  แต่สังคมควรถามว่า ทำอย่างไรเราจึงจะช่วยกันพัฒนาและเสริมสร้างให้กองบัญชาการกองทัพไทยสามารถขับเคลื่อนงานด้านการปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้พร้อมเผชิญกับความท้าทาย ภายใต้สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อประเทศชาติและลูกหลานไทยของเราทุกคน” โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย กล่าว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ยอดตายแผ่นดินไหวเมียนมา

แผ่นดินไหวเมียนมา ตายเพิ่มเป็นกว่า 2 พันราย

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.7 ทางภาคกลางของเมียนมาเมื่อวันศุกร์พุ่งทะลุ 2 พันราย ขณะที่ชาวบ้านในเมืองมัณฑะเลย์ ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว