ยอดใช้สิทธิ FTA – GSP ทั้งปีโตต่อเนื่อง

นนทบุรี 18 ก.พ. – พาณิชย์เผยยอดใช้สิทธิ FTA และ GSP ตลอดทั้งปี 61 กว่า 74,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มั่นใจปี 62 ยังโตได้ไม่ค่ำกว่าร้อยละ 9 


นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แถลงการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ตลอดทั้งปี 2561 (มกราคม-ธันวาคม 2561) มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ รวมอยู่ที่ 74,335.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ อยู่ที่ ร้อยละ 76.95 ขยายตัวจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 14.76 โดยแบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) 69,602.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) 4,733.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


ทั้งนี้ ปัจจุบัน ประเทศไทยได้จัดทำความตกลง FTA ทั้งสิ้น 12 ฉบับ (นอกจากนี้ ยังมีความตกลงอาเซียน – ฮ่องกงอีกหนึ่งฉบับที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ภายในครึ่งปีแรก) และมีการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง FTA คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 69,602.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ  78.48ของมูลค่าการส่งออกรวมภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไปยังประเทศคู่ภาคีความตกลง เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 15.16 โดยตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน (มูลค่า 26,890.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) จีน (มูลค่า 17,633.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ออสเตรเลีย (มูลค่า 9,121.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ญี่ปุ่น (มูลค่า 7,565.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และอินเดีย (มูลค่า 4,466.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 

สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP ที่ไทยยังคงได้รับสิทธิ GSP 5 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราชนอร์เวย์ และญี่ปุ่น โดยในปี 2561 (มกราคม-ธันวาคม) มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP เท่ากับ 4,733.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการใช้สิทธิร้อยละ  59.81 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ GSP ขยายตัวร้อยละ  9.20 โดยการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สหรัฐอเมริกายังคงมีสัดส่วนการใช้สิทธิมากที่สุด คือประมาณร้อยละ  90 ของมูลค่าการใช้สิทธิ GSP ทั้งหมด ซึ่งตลอดทั้งปี 2561 มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 4,248.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีอัตราการใช้สิทธิร้อยละ  67.51 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ GSP ซึ่งมีมูลค่า 6,293.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ  2.04 สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ระบบ GSP สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่มอื่นๆ และเลนส์แว่นตา

นอกจากนี้ ความคืบหน้าเกี่ยวกับการใช้สิทธิ GSP ที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วๆ นี้ คือการให้สิทธิ GSP ของญี่ปุ่น จะหมดอายุลงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป ตามเงื่อนไขใหม่ของศุลกากรญี่ปุ่นที่กำหนดให้ประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงเป็นเวลา 3 ปี จะไม่ได้รับสิทธิ GSP ทุกรายการ ซึ่งกรมฯ ได้แจ้งผู้ประกอบการเป็นระยะเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2559 โดยการตัดสิทธิ GSP ของญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อไทยน้อยมาก เนื่องจากรายการสินค้าเกือบทั้งหมดที่ใช้สิทธิ GSP ญี่ปุ่น สามารถใช้สิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ทดแทนได้ และได้ลดหย่อนภาษีนำเข้าในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ พบสินค้าซอร์บิทอลเพียงรายการเดียวที่ถูกตัดสิทธิ GSP ญี่ปุ่น แต่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีทั้งภายใต้ JTEPA และ AJCEP 


ทั้งนี้ มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ตลอดทั้งปี 2561 รวม 74,335.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พบว่ามีอัตรา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กรมฯ ประมาณการไว้ที่ร้อยละ  9 หรือคิดเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ประมาณ 70,794 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกของไทยที่มีการขยายตัวไปในตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ และการพัฒนาระบบการให้บริการของกรมฯ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปี 2562 ทิศทางการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มต้องเผชิญกับผลกระทบของสงครามการค้า การผันผวนของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่และการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินของหลายประเทศ โดยเป้าหมายการส่งออกในปี 2562 น่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 8 หรือคิดเป็นมูลค่า 272,685 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเบื้องต้นกรมฯ จึงได้ประมาณการเป้าหมายอัตราการขยายตัวมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ของปี 2562 ที่ร้อยละ  9โดยอิงจากเป้าหมายการส่งออกและสถิติการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาซึ่งมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ  14 และยังคงต้องจับตามองภาพรวมสถานการณ์การค้าในอนาคตอีกครั้งหนึ่ง . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

เชียงรายพบสารหนูเกินมาตรฐานใน “น้ำกก” คาดจากเหมืองเมียนมา

สำนักงานสิ่งแวดล้อมฯ เชียงราย ได้รับร้องเรียนว่า “น้ำกก” มีสีขุ่น เมื่อนำไปตรวจพบสารหนูเกินค่ามาตรฐานหลายเท่า กระทบสุขภาพประชาชน คาดมาจากเหมืองแร่ทองคำในเมียนมา ผู้ว่าฯ เชียงราย เรียกประชุมด่วน

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม