เศรษฐกิจเกือบทุกภาคขยายตัวได้ต่อเนื่อง ยกเว้นอีสานยังไม่ฟื้น

กระทรวงการคลัง 31 ส.ค.-สำนักงานเศรษฐกิจการคลังสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า เกือบทุกภาคส่งสัญญาณฟื้นตัวและขยายตัวได้ต่อเนื่อง ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังน่าเป็นห่วงทั้งการบริโภค การลงทุนภาคเอกชนที่ยังหดตัว


นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกรกฎาคม  2559  ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคยังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่เสถียรภาพทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยภาคเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว สะท้อนการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์ จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 และ 11.8 ต่อปี ประกอบกับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 20.8 ต่อปี สำหรับการท่องเที่ยวในภูมิภาคขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ที่   ร้อยละ 12.8 และ 6.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี และอัตราการว่างงาน (ข้อมูลเดือนมิถุนายน) อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจยังเปราะบาง โดยเฉพาะด้านอุปสงค์ สะท้อนจากการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัว สะท้อนจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและภาคการก่อสร้าง โดยเฉพาะยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่หดตัวร้อยละ 11.9 และ 18.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่เม็ดเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบการหดตัวร้อยละ 77.9 ต่อปี แต่การท่องเที่ยวยังขยายตัวดีต่อเนื่องทั้งจำนวนและรายได้ที่ร้อยละ 12.9 และ 8.5 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี และอัตราการว่างงาน (ข้อมูลเดือนมิถุนายน) อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงาน


ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 และ 13.1 ต่อปี ตามลำดับ ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่อง การท่องเที่ยวจากรายได้ขยายตัวดีที่ร้อยละ 7.8 ต่อปีและภาคเกษตรกรรม จากดัชนีผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 3.8 และ 0.6 ต่อปี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี ส่วนเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี และอัตราการว่างงาน (ข้อมูลเดือนมิถุนายน) อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ของกำลังแรงงาน

ภาคตะวันออก เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่มเก็บบนฐานการใช้จ่ายขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 ต่อปี และรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่  ร้อยละ 22.1 ต่อปี ด้านภาคการท่องเที่ยวของภูมิภาคยังขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ที่ร้อยละ 46.4 และ 78.5 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับภาคเกษตรกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 24.1 ต่อปี  ภาคตะวันตก เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไปการท่องเที่ยวยังขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ที่ร้อยละ 2.3 และ 11.4 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคและการบริโภคสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย สะท้อนจากรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 27.2 และ 6.4 ต่อปี ตามลำดับ

ภาคใต้ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน การใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 และ 3.5 ต่อปี ตามลำดับ ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 29.8 ต่อปี ขณะที่ด้านอุปทานยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ที่ร้อยละ 11.4 และ 22.1 ต่อปี ตามลำดับ


กรุงเทพฯและปริมณฑล เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะด้านอุปสงค์ การบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวดี จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 และ 12.4 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากรายได้เกษตรกรขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 9.7 ต่อปี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวทั้งในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบการ แต่จำนวนและรายได้จากการท่องเที่ยวปรับตัวลดลงร้อยละ 22.0 และ 16.7 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี และอัตราการว่างงาน (ข้อมูลเดือนมิถุนายน) อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงาน-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

“กานต์” จากเพื่อไทย คะแนนนำ ศึกชิงนายก อบจ.อุบลฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี ล่าสุด ณ เวลา 19.30 น. “กานต์ กัลป์ตินันท์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย มีคะแนนนำเป็นอันดับ 1 กกต.คาดรู้ผลไม่เป็นทางการ 4 ทุ่ม คืนนี้

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”