แนะรัฐ ออกมาตรการจัดการแหล่งกำเนิด PM 2.5

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15 มค..-นักวิชาการจุฬาฯ เผย คนกรุงกำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพอากาศ ซึ่งหากจะลดฝุ่น PM 2.5 ต้องใช้เครื่องฉีดพ่นละอองน้ำ 30,000 ตัว ฉีดพร้อมกันทั่วกรุง แนะรัฐ ออกมาตรการจัดการแหล่งกำเนิด PM 2.5 


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเวทีเสวนา “จุฬาฯ ฝ่าวิกฤตรับมือฝุ่น PM 2.5” เชิญบรรดานักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม มาแลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น เพื่อเฝ้าระวัง แก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน โดย รศ.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แหล่งกำเนิดมี 2 ปัจจัยหลัก คือ การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ทุกชนิด การคมนาคมขนส่ง และสภาพอากาศที่ปิดในช่วงนี้ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบกับการพัฒนาเมือง ที่มีการก่อสร้างอาคารตึกสูงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศไม่หมุนเวียน ซึ่งคนกรุง กำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพอากาศ


รศ.ศิริมา กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาลดฝุ่น PM 2.5 ด้วยการฉีดน้ำ ล้างถนน ที่ กทม.กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ อาจไม่ได้ช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ได้โดยตรง แต่ช่วยเรื่องฝุ่นขนาดใหญ่ หรือ PM 10 ไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศ ซึ่งจะช่วยให้ค่า AQI หรือดัชนีคุณภาพอากาศดีขึ้น แต่ถ้าจะให้ค่าฝุ่น PM 2.5 ลดลงได้จริง กทม. ต้องใช้เครื่องฉีดพ่นละอองน้ำมากถึง 30,000 ตัว ฉีดพ่นละอองพร้อมกันทั่วกรุง ดังนั้นภาครัฐควรมีมาตรการจัดการแหล่งกำเนิด PM 2.5 เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ด้าน รศ.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ ระบุถึงแหล่งกำเนิด PM 2.5 ที่เกิดจากโรงงาน ว่า โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณรอบกรุงเทพและปริมณฑล ส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งปลดปล่อยมลพิษและฝุ่นต่ำ แต่สำหรับโรงงานไฟฟ้าชีวมวล และโรงไฟฟ้าขยะขนาดเล็ก ที่กระจายตัวอยู่บริเวณภาคกลาง อาจต้องตรวจสอบว่า มีระบบดักจับฝุ่นที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งในอนาคตภาครัฐควรมีมาตรการบังคับตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 


ขณะที่ รศ.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ ระบุ สาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5 มาจากเครื่องยนต์ ที่เผาผลาญไม่สมบูรณ์ คือ รถดีเซล หรือ รถเก่าที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษา ดังนั้นการแก้ปัญหา PM 2.5 ภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายเข้มงวด เรื่องตรวจสภาพรถยนต์ ตรวจจับควันดำอย่างจริงจัง ควรรายงานผลทุกๆ 3 เดือน พร้อมกับพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ให้เชื่อมโยงทั้งระบบ ปฏิรูปรถเมล์ทั้งระบบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว ภาคขนส่ง จำเป็นต้องยกระดับมาตรฐานเครื่องยนต์และเชื้อเพลิง จะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นตอ ช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างแท้จริง

ขณะเดียวกัน ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า หากสัมผัส PM 2.5  ระยะสั้น ทำให้เกิดผื่นคัน แสบเคืองตา มีอาการไอ จาม ส่งผลให้มีอาการหอบและความดันสูง ส่วนผลกระทบระยะยาว เพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดสูงขึ้น โรคหัวใจ นอกจากนี้ PM 2.5 ยังทำลายระบบภูมิคุ้มกันทางเดินหายใจ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เด็ก คนชรา ที่สำคัญที่น่าเป็นห่วง คือ สตรีมีครรภ์ ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็กทารก 

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า สำหรับการใช้หน้ากาก ประเภทอื่นๆ ทดแทนหน้ากาก N95 ที่ขาดตลาด จากงานวิจัย สามารถใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ประกบกับทิชชูซ้อนกัน 2 ชั้นไม่ควรชุบน้ำ กรองได้ 91% หากประกบกับผ้าเช็ดหน้า กรองได้ 50% และถ้าใช้ผ้าเช็ดหน้าอย่างเดียว กรองได้ 50% เช่นกัน แต่ถ้าเป็นหน้ากากแบบกระดาษ กรองได้ 48% และหน้ากากชนิดผ้า กรองได้เพียง 21% ไม่ควรใช้ แนะหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือที่โล่งแจ้งดีที่สุด .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมรีดทรัพย์ รับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพื่อขายงาน

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากดิไอคอน ยอมรับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพราะต้องการขายงาน

คุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง เจ้าตัวเงียบรีบเดินขึ้นรถตู้

ตำรวจกองปราบคุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง ผู้ต้องหาปัดตอบสื่อ ด้านพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี