14 ปี สึนามิ ปัญหาเครื่องมือสื่อสารที่รอการแก้ไข

พังงา 25 ธ.ค.- เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มชายฝั่งอันดามันเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน ในประเทศไทย โดย จ.พังงา เป็นพื้นที่ประสบภัยที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด ผ่านมา 14 ปี กระทั่งถึงวันนี้ ชาวบ้านที่นี่ยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องเครื่องมือสื่อสารและการแจ้งเตือนภัยยังทำได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ


สิ้นเสียงเรียกของประยูร จงไกรจักร์ ประธานคณะกรรมการศูนย์เตรียมความพร้อมรับมือสึนามิบ้านน้ำเค็ม ปลายสายยังคงเงียบไร้เสียงตอบกลับ “ประยูร” บอกว่า วิทยุสื่อสารเครื่องนี้ ทางป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยนำมาติดตั้งให้ชุมชนบ้านน้ำเค็ม หลังเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มชายฝั่งอันดามันเมื่อปี 2547 ด้วยหวังให้ชาวบ้านได้ใช้แจ้ง และรับข่าวสารการแจ้งเตือนภัยสึนามิกับ ปภ.และจังหวัดได้อย่างทันท่วงที หากทว่าวิทยุสื่อสารเครื่องนี้กลับไม่เคยใช้งานได้เลย นับตั้งแต่มีการติดตั้งเสร็จสิ้นกระทั่งล่วงเลยผ่านมาจนครบ 14 ปีแล้ว


วิทยุเครื่องแดงที่เห็นอยู่นี้ คือหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารชิ้นสำคัญที่ชาวบ้านน้ำเค็มจะใช้ติดต่อกระจายข่าวถึงกันในกรณีที่มีการแจ้งเตือนภัยสึนามิ และต้องมีการอพยพผู้คนออกจากพื้นที่ โดยในอดีตวิทยุสื่อสารเหล่านี้เคยใช้งานได้ดี และมีมากกว่า 40 เครื่อง แต่ปัจจุบันชำรุดพังเสียหายเหลือใช้งานได้เพียง 3 เครื่องเท่านั้น


“ประยูร” บอกว่า วิทยุเครื่องแดงซึ่งปัจจุบันชำรุดพังเสียหายแทบทั้งหมด เหลือใช้การได้เพียง 3 เครื่อง ลดทอนประสิทธิภาพการแจ้งเตือนข่าวสาร และการกระจายข่าวแจ้งเตือนภัยสึนามิในบ้านน้ำเค็มให้ลดลงเป็นอย่างมาก  แม้ว่าปัจจุบันในชุมชนจะพยายามช่วยกันเฝ้าระวัง และมีการแบ่งหน้าที่การทำงานกันเป็นระบบ ทั้งฝ่ายเฝ้าระวังน้ำ ฝ่ายจราจร ฝ่ายอพยพ ฝ่ายลงทะเบียน และฝ่ายค้นหา แต่ทว่าทั้งหมดนี้ก็ดูจะด้อยประสิทธิภาพลงทันที เพราะการทำงานของแต่ละฝ่ายล้วนต้องพึ่งพาวิทยุสื่อสาร และแทบไม่สามารถฝากความหวังไว้กับสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้เลย หากมีการแจ้งเตือนภัยสึนามิ

โศกนาฏกรรมจากเหตุคลื่นยักษ์สึนามิสร้างความเจ็บปวดให้ผู้ที่ต้องเผชิญความสูญเสียคนที่รักไปอย่างประเมินค่าไม่ได้ โดยเฉพาะชุมชนบ้านน้ำเค็ม ซึ่งมีสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ล้อมรอบด้วยทะเล ทำให้แรงคลื่นถาโถมเข้าทำลายทุกสรรพสิ่งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว การเข้ามาช่วยส่งเสริมเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพให้ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัย จึงเสมือนเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติชนิดนี้ อันจะช่วยลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้ทันท่วงที.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ปล่องลิฟต์ตึกถล่ม

กทม.เดินหน้าเจาะปล่องลิฟต์ ค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.

ผู้ว่าฯ กทม. เผยปฏิการค้นหาร่างผู้สูญหายจากเหตุตึก สตง.ถล่ม วันนี้เน้นเจาะปล่องลิฟต์-บันไดหนีไฟ หลังวานนี้ (18 เม.ย.) พบผู้เสียชีวิตในจุดดังกล่าวเพิ่มอีก 6 ราย ยืนยัน กทม. ให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการเข้า เก็บพยานหลักฐาน เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าว