เกษตรเตรียมจ่ายซีพีแพ้คดีกล้ายาง 377 ล้านบาท

กรุงเทพฯ 8 ธ.ค. –  กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจ่ายซีพี 377 ล้านบาท หลังแพ้คดีกล้ายาง ตั้งกรรมการสอบข้าราชการฐานละเมิดทางแพ่ง ทำให้รัฐเสียหาย โดยจะต้องจ่ายเงินคืนแก่รัฐ


มีรายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า คณะที่ปรึกษาทางกฎหมายของกระทรวงกำลังเจรจาประนอมหนี้กับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด (ซีพี) กรณีศาลฎีกาตัดสินให้กระทรวงเกษตรฯ แพ้คดีการจัดซื้อกล้ายาง 1 ล้านไร่จากการฟ้องร้องของซีพี ซึ่งกรมวิชาการเกษตรทำสัญญารับซื้อกล้ายางจากบริษัทซีพีระหว่างปี 2547-2549 ต่อมากรมวิชาการเกษตรระงับการส่งมอบต้นกล้ายาง 16.4 ล้านตัน ทำให้ซีพีฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งจากต้นกล้ายางที่ไม่ได้ส่งมอบและภาพลักษณ์ของบริษัทมูลค่า 1,700 ล้านบาท ซึ่งศาลฎีกาได้ตัดสินเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2560 ให้กรมวิชาการเกษตรแพ้คดีต้องชดใช้ค่าเสียหาย 377 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของกระทรวงเกษตรฯ ล่าสุดคณะกรรมการประนอมหนี้ได้เจรจากับซีพี ซึ่งทางซีพีตกลงเรียกค่าชดเชยตามที่ศาลสั่ง 377 ล้านบาท แต่ยกเว้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ต้องชำระทันที แต่คณะที่ปรึกษาทางกฎหมายระบุว่าการชำระค่าเสียหายต้องชำระต่อหน้าศาล จึงยังเป็นข้อขัดแย้งเกี่ยวกับขั้นตอนปฏิบัติ ทางกระทรวงเกษตรฯ กำลังเร่งทบทวนข้อกฎหมาย เพื่อให้ได้ผลสรุป ใน 1 เดือนว่าจะต้องชำระต่อหน้าศาลหรือชำระแก่ซีพีโดยตรง 


อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้เจรจากับบริษัทซีพีว่าจะขอแบ่งชำระเป็น 2 งวด โดยงวดแรกจะชำระ 250 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 127 ล้านบาทจะชำระภายในวันที่ 30 กันยายน 2562 เนื่องจากการหาเงินมาชำระค่าชดเชยดังกล่าวจำเป็นต้องขออนุมัติงบประมาณ แต่ระหว่างดำเนินคดี ไม่ทราบว่าจะแพ้หรือชนะ จึงไม่ได้เสนอของบประมาณล่วงหน้า ขณะนี้ได้นำงบประมาณเหลือจ่ายของกระทรวงมาชำระงวดแรกก่อน ส่วนที่เหลือจะชำระก่อนสิ้นปีงบประมาณ 2562

คดีดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนหน้ารัฐบาลชุดนี้หลายปีมาแล้ว แต่ศาลเพิ่งมีคำตัดสินเป็นที่สิ้นสุด ทำให้กระทรวงเกษตรฯ ต้องใช้งบประมาณนำมาจ่ายค่าเสียหาย จึงจำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงฐานละเมิดแก่บุคคลใดที่สร้างความเสียหายแก่รัฐ หากผลการสอบสวนปรากฏว่าบุคคลที่สร้างความเสียหายแก่รัฐนั้น ดำเนินการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นกรณีทางแพ่งจะต้องจ่ายเงิน 377 ล้านบาทคืนแก่รัฐ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการสอบสวนทันทีที่กระทรวงเกษตรฯ จ่ายเงินซีพี ซึ่งถือว่าความเสียหายของรัฐได้เกิดขึ้นแล้ว

สำหรับโครงการส่งเสริมการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเกษตรกรร่วมโครงการประมาณ 142,000 ราย ต้องใช้กล้ายางถึง 90 ล้านต้น ระยะเวลาของโครงการ 3 ปี (2547-2549) กรมวิชาการเกษตรได้ว่าจ้างบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัดเป็นผู้ผลิตและส่งมอบกล้ายาง โดยโครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือเงินทุนจากโครงการช่วยเหลือเกษตรกร 1,440 ล้านบาท ชำระคืนภายใน 10 ปี นับจากยางให้ผลผลิตและวงเงินสินเชื่อเพื่อการดูแลรักษาระยะเวลา 6 ปี อีก 5,360 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8


ทั้งนี้ กระบวนการจัดหากล้าพันธุ์ยางนั้น หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 กรมวิชาการเกษตรได้ออกประกาศประกวดราคาให้บริษัทเอกชนยื่นประมูล ซึ่งปรากฏว่าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือซีพีชนะการประมูล ต่อมากรมวิชาการเกษตรทำสัญญากับซีพีให้ผลิตต้นกล้าพันธุ์ยางพารา ซึ่งต้องใช้ 90 ล้านต้น วงเงิน 1,397 ล้านบาท เพื่อส่งมอบให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกภายในระยะเวลา 3 ปี (2547-2549) โดยตามสัญญาว่าจ้างระบุว่าปีแรกซีพีต้องส่งมอบกล้าพันธุ์ยางให้ได้ 18 ล้านต้น หรือร้อยละ 20  ปี 2548 จำนวน 27 ล้านต้น หรือร้อยละ 30  และปี 2549 ซีพีต้องส่งมอบให้ได้ 45 ล้านต้น หรือคิดเป็นร้อยละ 50

สำหรับการยกเลิกสัญญาดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นจากการที่ก่อนสัญญาสิ้นสุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2549 ทางบริษัทไม่สามารถส่งมอบกล้ายางได้ตามสัญญาด้วยสาเหตุภัยธรรมชาติจนทำยางชำถุงไม่ได้ จึงแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรรับทราบและขอต่อสัญญาการส่งมอบจากวันที่ 31 สิงหาคม  2549 ออกไป กระทรวงเกษตรฯ จึงสั่งการให้ยกเลิกสัญญาการส่งมอบกล้ายางระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับบริษัท สร้างความเสียหายทั้งแก่บริษัทและเกษตรกรที่รอรับกล้ายางจำนวนมาก เพราะช่วงก่อนที่สัญญาจะจบลงวันที่ 31 สิงหาคม 2549  ทางบริษัทไม่สามารถส่งมอบกล้ายางได้ตามสัญญาด้วยสาเหตุภัยธรรมชาติ จนทำยางชำถุงไม่ได้ จึงแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรรับทราบและขอต่อสัญญาการส่งมอบ จากวันที่ 31 สิงหาคม 2549 เป็นวันที่ 15 เมษายนถึงกรกฎาคม 2550 และพร้อมจะจ่ายค่าเสียหายตามสัญญา ซึ่งการขอต่อสัญญาครั้งนี้บริษัทระบุว่า สามารถทำได้ตามที่ปรากฎในสัญญากรณีเกิดเหตุสุดวิสัย

ต่อมาเมื่อกรมวิชาการเกษตรหารือกับกระทรวงเกษตรฯ ได้ทำหนังสือแจ้งให้บริษัท เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2549 ว่า ยินดีจะต่อสัญญาให้ บริษัท จึงเร่งผลิตยางชำถุงที่ต้องเริ่มจากการจ้างเกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ชำถุงยางจนถึงการติดตา ใช้ระยะเวลาประมาณ 8 เดือน และบริษัทมีกล้ายางพร้อมจะส่งมอบ แต่กรมวิชาการเกษตรกลับมีหนังสือว่าขอยกเลิกโครงการนี้ และอ้างว่าไม่เคยมีหนังสือเพื่อขอต่อสัญญา จึงเป็นที่มาของการฟ้องร้องครั้งนี้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย

ผบช.สตม. ลั่น ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย เพิกถอนใบอนุญาต ผลักดันออกนอกประเทศทันที

ตรวจสอบ The Park เขาหลัก งบก่อสร้าง 140 ล้าน คุ้มค่าหรือไม่?

สำนักข่าวไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านให้ช่วยเข้าไปตรวจสอบการก่อสร้างโครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา หรือ The Park เขาหลัก ริมหาดบางเนียง หลังมีข้อมูลว่าเป็นโครงการที่ก่อสร้างด้วยงบกว่าร้อยล้านบาท แต่ปัจจุบันกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกปล่อยให้อยู่ในสภาพรกร้าง

ลูกสาวสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ดับคากระท่อม

ลูกสาวเปิดปากสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ปี เสียชีวิตในกระท่อม ข้างลานรับซื้อข้าวเปลือก ต.โนนศิลาเลิง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

ข่าวแนะนำ

ตัดไฟเมียนมา

ตัดแขนขาเมียนมา ราคาน้ำมันพุ่ง-จำกัดการซื้อ

เข้าสู่วันที่ 3 สำหรับการตัดไฟฟ้า สัญญาณอินเทอร์เน็ต และระงับการส่งน้ำมัน จากฝั่งแม่สอดของไทยไปเมืองเมียวดีของเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำมันในฝั่งเมียวดี

หมายจับ สส.ปูอัด

“สส.ปูอัด” เงียบหาย หลังถูกออกหมายจับข่มขืนสาวไต้หวัน

“สส.ปูอัด” เงียบหาย ไม่รับสายสื่อ หลังถูกออกหมายจับข่มขืนสาวไต้หวัน ด้าน “เลขาสภาฯ” เผยเรื่องยังไม่ถึงสภา หากมาแล้วต้องบรรจุวาระขอสมาชิกให้อนุญาตดำเนินคดี

มือถือแตงโม

ดีเอสไอรับมอบมือถือแตงโม ส่งสถาบันนิติวิทย์ฯ ตรวจดีเอ็นเอ เช้านี้

โทรศัพท์มือถือ “แตงโม ภัทรธิดา” ถึงมือดีเอสไอ เก็บเข้าห้องมั่นคงลับสูงสุดตลอดคืน เช้านี้นำส่งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เข้าห้องแล็บตรวจหาหลักฐาน