สำนักข่าวไทย 29 ส.ค.-นายกสภาพยาบาลเตรียมหารือสภาเภสัชกรรมเร็วๆนี้ เพื่อถกปม พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ หลังเกิดกระเเสวิจารณ์ ด้านสภาเทคนิคการเเพทย์ย้ำ ไม่หน้าที่หน้าที่จ่ายยา
ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี นายกสภาเภสัชกรรมให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สังคมถกเถียงถึงร่างพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ ในประเด็นการเปิดช่องทางให้วิชาชีพอื่น อาทิ พยาบาล เทคนิคการเเพทย์ กายภาพบำบัดเเละเเพทย์เเผนไทย สามารถสั่งจ่ายยาได้โดยตรงจากเดิมที่กำหนดให้มีเพียง 3 วิชาชีพได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์และสัตวแพทย์ จ่ายยาได้เท่านั้น ว่า ในการบริการด้านสุขภาพของประชาชนมีหลายอาชีพที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เภสัชกรเเละมีหน้าที่คาบเกี่ยวกัน หากมองในเรื่องการจ่ายยา ตามหลักเเล้วเภสัชกรมีหน้าที่ในการจ่ายยา เเต่ความจริงเเล้วอาชีพที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันดูเเลเเละให้คำเเนะนำประชาชน อย่างในบางพื้นที่ห่างไกล ไม่มีเภสัชกรประจำ พยาบาลคือคนที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ก็สามารถจ่ายยาพื้นฐานทั่วไปที่กำหนดให้ได้ 100 กว่าตัวได้ หรือในบางสถานพยาบาลขนาดเล็กหรือเฉพาะด้าน อย่างในสถานผดุงครรภ์ ก็มีการกำหนดให้สามารถเก็บยาหรือจ่ายยาบางตัวได้ ซึ่งตนมองว่าพยาบาลสามารถทำหน้าที่จ่ายยาได้ในตัวยาที่มีการกำหนดเเละบางพื้นที่เป็นการเฉพาะ
ส่วนที่มีการกังวลว่าพยาบาลจะมาเเย่งหน้าที่เภสัชกรนั้น ตนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรตามกฎหมาย การจ่ายยาเป็นหน้าที่ของเภสัชกรเท่านั้น เเละจะจ่ายยาต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น จึงอยากตำหนิเภสัชกรเเละผู้ที่เกี่ยวข้องที่ออกมาตอบโต้กันนั้น อยากให้อ่านรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนจะวิจารณ์เรื่องใด
ขณะเดียวกันสิ่งที่น่ากังวลกว่านั้น คือในร่างพ.ร.บ.ยาฉบับดังกล่าว จะให้อำนาจจ่ายยากับอาชีพอื่นๆได้อีก นอกจากที่ได้กล่าวไป ซึ่งอาชีพอื่นหากไม่เกี่ยวข้องกับการเเพทย์ ก็น่ากังวลว่าจะทำหน้าที่ได้ดีเเละปลอดภัยต่อประชาชนหรือไม่ เเละอีกปัญหาคือยังไม่มีตรวจสอบเรื่องการจำหน่ายยาบนโลกออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ด้านนางศิริอร สินธุ อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า ตามกฎหมายให้อำนาจพยาบาลในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นเเละการจ่ายยารักษาโรคเบื้องต้นไว้อยู่เเล้ว เเต่หลังเกิดกระเเสวิจารณ์จากนี้จะมีการหารือร่วมกับสภาเภสัชกรรมเเละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยจะต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก เพื่อหาข้อสรุปอย่างชัดเจนอีกครั้ง ส่วนที่มีการรพบุว่าพยาบาลเรียนเกี่ยวกับการจ่ายยามาเเค่ 3 หน่วยกิตนั้นไม่เป็นความจริง พยาบาลเรียนเรื่องการใช้ยากว่า 70 หน่วยกิต
ขณะที่นักเทคนิคการแพทย์สมชาย วิริยะยุทธกร กรรมการสภาเทคนิคการเเพทย์ กล่าวว่า นักเทคนิคการเเพทย์ไม่ได้มีหน้าที่ในการจ่ายยา มีหน้าที่เเค่ทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางการเเพทย์เพื่อเสริมการทำงานของเเพทย์ เช่น หากหมอให้วิเคราะห์เชื้อเเบคทีเรีย นักเทคนิคการเเพทย์ก็จะนำมาวิเคราะห์ เเละชี้ว่าควรใช้ยาประเภทใดในการรักษา ไม่ได้มีหน้าที่จ่ายยาเเต่อย่างใด .-สำนักข่าวไทย