หอศิลป์ 15 สค. มูลนิธิเด็กเผยเด็กติดมือถือ ใช้เวลาเล่นโซเชียลวันละ 10-15 ชั่วโมง พบเป็นโรคทางจิตเวชเพิ่มสูงขึ้นในรอบ 3 ปี ชี้พ่อเเม่ควรเลิกติดมือถือด้วย
มูลนิธิเด็กร่วมกับองค์กรที่ทำงานด้านเด็ก จัดเเถลงข่าว “พิทักษ์เด็ก พิทักษ์อนาคตชาติ ด้วยสังคมก้มหน้าได้จริงหรือ” หลังมีงานวิจัยเรื่องความห่างเหินในครอบครัวไทยยุคโซเชียลมีเดียเข้มข้นหรือ Living together but APART ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เศรษฐกิจอาจไม่ค่อยดีนัก ทำให้มีเวลาอยู่ในบ้านน้อยลงอยู่เเล้ว เเต่โซเซียลมีเดียก็ยังทำให้คนในครอบครัวมีเวลาอยู่ด้วยกันน้อยลงไปอีก โดยพบว่าเด็กเเละเยาวชนอายุ 18 ปี ซึ่งมีประมาณ 13 ล้านคนใช้เวลาในการเล่นมือถือ โซเซียลมีเดีย อินเตอร์เน็ตเเละคอมพิวเตอร์กว่า 10-15 ชั่วโมงต่อวัน โดยใช้เพื่อความบันเทิงมากที่สุดเเละกำลังเผชิญภัยในโลกไซเบอร์ เพราะมือถืออยู่ใกล้ตัวตลอด 24 ชั่วโมงต่างจากเดิม เด็กจะเผชิญภัยอันตรายเมื่อออกไปเล่นนอกบ้าน
นายภูเบศร์ สมุทรจักร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเเละวิเทศสัมพันธ์ สถาบันวิจัยประชากรเเละสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถิติปี 60 พบประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปใช้มือถือร้อยละ 88.2 คอมพิวเตอร์ 52.9 และอินเตอร์เน็ต 30.3 / กลุ่มอายุ 6-14 ปีใช้ร้อยละ 60 / อายุ15-24 ปี ใช้ร้อยละ 80 / อายุ 25-34 ปีใช้ร้อยละ 60 ปี / อายุ 35-49 ใช้ร้อยละ 30 เเละกลุ่มอายุ 50 ปีใช้น้อยสุดร้อยละ 20 ซึ่งหากย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อนเราจะกังวลว่าเด็กจะเป็นกลุ่มที่ติดมือถือมากที่สุด เเต่ขณะนี้เองปัจจุบันพ่อเเม่ผู้ปกครองก็ติดมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถดูเเลลูกได้ไม่ดี เด็กขาดความอบอุ่น บ้างครอบครัวเเตกเเยก จนเป็นสาเหตุหลักๆทำให้เด็กกระทำความผิด โดยเฉพาะยาเสพติด ที่เด็กกว่าร้อยละ 58 กระทำความผิดเพราะขาดความอบอุ่นจากครอบครัว ทั้งนี้ยังพบว่าเด็กยังใช้โซเซียลที่ในทางที่ผิด จำลองตัวเองให้เกิดการยอมรับเเละทำให้มีความหมิ่นเหม่ทางเพศ เเละมีโรคร่วมทางจิตเวชเช่นภาวะซึมเศร้า สมาธิสั้น ชอบโกหก โดยสถิติล่าสุดในช่วง 3 เดือนเเรกในปี 60 เด็กที่ติดเกมรุนแรงต้องเข้ารับการบำบัดทางจิตเวชถึง 53 คนซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 1.5 เท่าในรอบ 3 ปี ขณะเดียวกันสภาวะที่ครอบครัวอยู่ด้วยกันเเต่ต่างคนต่างอยู่ เพราะสังคมก้มหน้า จะทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาหลายด้าน เเม้โซเซียลมีเดียจะมีข้อดี เเต่หากไม่ใช้อย่างพอดี เเละพ่อแม่ ครอบครัวไม่ดูเเลเด็กก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน
ด้านนางศิริพร สะโครบาเนด ประธานกรรมการมูลนิธิผู้หญิง กล่าวว่า การปัญหาสังคมก้มหน้า ต่อยอดไปสู่เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัจจุบันพ่อเเม่เลี้ยงเดี่ยวเเละคุณเเม่วัยใสเพิ่มมากขึ้นทั้งๆที่รัฐไทย ซึ่งมีกฎระเบียบบังคับในเรื่องดังกล่าวมาก ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับในบางประเทศที่กฎหมายน้อย เเละเปิดอิสระในบางเรื่อง เเต่ปัญหากับเกิดขึ้นน้อยมากหรือเเทบจะไม่เกิด จึงมองว่าสังคมไทยต้องเปิดกว้างมากกว่านี้ เพื่อให้คนทุกคนรู้สึกมีคุณค่า ศักดิ์ศรีอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความหลากหลาย เเต่ทั้งนี้จะไปหวังรัฐอย่างเดียวไม่ได้ เพราะมุมมองของรัฐบางครั้งไม่ยืดหยุ่นกับรูปแบบปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างหลากหลาย การเยียวยาจึงไม่ครอบคลุม หากรัฐเริ่มเเก้ปัญหาเรื่องนี้เเละปัจจัยอื่นๆที่จะส่งผลให้คนในครอบครัวมีเวลาอยู่ร่วมกันมากขึ้น
ขณะที่พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตเเพทย์เด็กเเละวัยรุ่น เจ้าของเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา กล่าวว่า ปัจจุบันคนไข้เด็กเเละวัยรุ่นที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผู้ปกครองติดต่อมาปรึกษาปัญหาเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พบว่า พ่อเเม่ไม่มีเวลาดูเเลลูก ขาดปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน พ่อเเม่ไม่เป็นเเบบอย่างที่ดีให้ลูกเพราะติดมือถือ เด็กก็ติดตาม พ่อเเม่จึงควรมีเวลาให้ลูก ดูเเลใกล้ชิด สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กเเยกเเยะได้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี เป็นที่ปรึกษาหรือเพื่อนที่สามารถพูดคุย ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของลูก ไม่ใช่ละเลยเเละอ้างว่าทำงานเพื่อให้ลูกสบาย เเต่ก็ควรถามลูกด้วยว่าต้องการความอบอุ่นจากพ่อเเม่มากกว่าหรือไม่.- สำนักข่าวไทย