12-17 ส.ค. 61 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น

กรุงเทพฯ 12 ส.ค.- ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ ระบุ 12-17 ส.ค. 61 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้นฝนยังตกหนัก 


ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ สรุปสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2561 ณ เวลา 07.00 น. ว่า  ในช่วงระหว่างวันที่ 12-17 ส.ค. 61 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก และในช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. 61 พายุดีเปรสชั่นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สำหรับสถานการณ์น้ำมีดังนี้  ลุ่มน้ำเพชรบุรี มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนแก่งกระจาน และไหลผ่านทางระบายน้ำล้น (Spillway) ลดลง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี มีแนวโน้มลดลงตามการระบายน้ำจากเขื่อน แต่ยังคงมีระดับสูง แม่น้ำสายสำคัญ : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีระดับน้ำน้อย ภาคกลางและใต้มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก แม่น้ำระหว่างประเทศ : แม่น้ำโขง ระดับน้ำลดลงปัจจุบันระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 


ด้านสถานการณ์ฝน  เมื่อเวลา 22.00 น. พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 13-14 สิงหาคม 2561 โดยจะส่งผลกระทบทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง 

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (04.00 น.) ฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ภาคเหนือ เชียงราย 67.5 มิลลิเมตร น่าน 49.5 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุบลราชธานี 61 มิลลิเมตร ภาคใต้ ระนอง 86 มิลลิเมตร พังงา 47.5 มิลลิเมตร 

ส่วนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มีจำนวน 4 แห่ง ดังนี้


เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำ 728 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 102 % ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 12.77 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายออกวันละ 15.20  ล้าน ลบ.ม. กรมชลประทานได้ติดตั้งกาลักน้ำ จำนวน 15 ชุด เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำออกจากอ่างฯ น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 41 ซม. (เมื่อวาน 49 ซม.) แนวโน้มปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างลดลง และจากการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ อาจมีฝนตกมากขึ้นส่งผลให้น้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อไป สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ยังอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ระดับน้ำท้ายเขื่อน บริเวณ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 1.03 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 156.15 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 162.80 ลบ.ม./วินาที) ทำให้พื้นที่ริมสองฝั่งลำน้ำในบริเวณ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง และอ.บ้านแหลม ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมมีแนวโน้มทรงตัว การบริหารจัดการน้ำ มีการตัดยอดน้ำก่อนผ่านเขื่อนเพชรโดยเพิ่มการรับน้ำเข้าระบบชลประทาน และคลอง D9 ทำให้ระดับน้ำที่ อ.เมืองเพชรบุรีมีระดับลดลง ต่ำกว่าตลิ่ง 0.52 ม. (เมื่อวาน 0.50 ม.) แต่ยังต้องเฝ้าระวัง ทั้งนี้ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดเสี่ยงที่อาจจะมีน้ำเอ่อเข้าท่วมพื้นที่และชุมชน จำนวน 31 เครื่อง (สำรอง 5 เครื่อง) ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำในจุดที่มีการระบายน้ำได้ช้า จำนวน 38 เครื่อง (สำรอง 8 เครื่อง) เตรียมพร้อมยานพาหนะและเครื่องจักรกล เช่น รถขุดตัก จำนวน 20 คัน ประจำในพื้นที่เพื่อขุดเปิดทางน้ำ

การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ออกประกาศฉบับที่ 3/2561 (10 ส.ค.61) เรื่องสถานการณ์แม่น้ำเพชรบุรี 

เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำ 534 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103 % ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 4.40 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 5.26 ล้าน ลบ.ม.  สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ยังคงปกติ คาดว่าจะไม่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่มีน้ำล้นตลิ่ง การบริหารจัดการน้ำ ติดตั้งกาลักน้ำ 22 ชุด เพื่อช่วยเร่งระบาย การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้ติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดสกลนคร บึงกาฬ นครพนม ซึ่งลำน้ำอูนและลำน้ำสงคราม ไหลผ่าน

เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำ 7,555 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 85% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 50.66  ล้าน ลบ.ม. (แนวโน้มลดลง) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 42.77 ล้าน ลบ.ม. สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ จากการติดตามสภาพน้ำด้านท้ายน้ำไม่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำ การบริหารจัดการน้ำ แผนการระบายน้ำอยู่ที่วันละ 43 ล้าน ลบ. ม. ตลอดเดือนสิงหาคมและกันยายน 2561 

การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ

เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำ 312 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 80% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 5.35 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 9.92 ล้าน ลบ.ม. สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำปราณบุรีจะมีระดับค่อยๆสูงขึ้น ทั้งนี้ ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำจากอัตราการระบายที่เพิ่มขึ้น การบริหารจัดการน้ำ มีการเพิ่มการระบายน้ำขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ/ลำน้ำ แม่น้ำสายสำคัญ  ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ระดับน้ำในแม่น้ำสายสำคัญลำน้ำสายหลักเพิ่มขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่ฝนตกน้อยส่งผลให้แม่น้ำมูลตอนบนมีระดับน้ำน้อย  ภาคกลางและภาคใต้มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก  ปัจจุบันมีน้ำล้นตลิ่งเล็กน้อยบริเวณลำน้ำเซบาย แม่น้ำชีตอนล่าง จ.ยโสธร ลำน้ำอูน และลำน้ำก่ำ จ.สกลนคร แม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี แม่น้ำเพชรบุรี อ.ท่ายาง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี แม่น้ำตาปี จ.สุราษฎร์ธานี แม่น้ำระหว่างประเทศ : แม่น้ำโขง มีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำที่ไหลจากประเทศจีนคงที่ มวลน้ำจากประเทศลาวไหลลงแม่น้ำโขงลดลง 

ด้านการติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีดังนี้  อ่างฯ ขนาดใหญ่+ กลาง : ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มี 50,039 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 71 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มี 3,083 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 รับน้ำได้อีก 22,922 ล้าน ลบ. ม. น้ำไหลเข้าอ่างฯ ( 14 ก.ค. – 11 ส.ค. 61) มีน้ำไหลเข้าอ่างฯขนาดใหญ่ รวมทั้งประเทศ 11,781 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น ภาคเหนือ 3,604 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,716 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง 288 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันตก 4,327 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก 246 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ 1,600 ล้าน ลบ.ม.

อ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนน้ำอูน (103%) เขื่อนแก่งกระจาน(102%) ขนาดกลาง 20 แห่ง (เพิ่มขึ้น 3 แห่ง) ซึ่งอยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 แห่ง (เพิ่มขึ้น 2 แห่ง) และภาคตะวันออก 3 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคใต้  1 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง)

อ่างเฝ้าระวัง (80-100%) ขนาดใหญ่ 4 แห่ง เขื่อนศรีนครินทร์ (87%) เขื่อนวชิราลงกรณ (85%) เขื่อนรัชชประภา (84%) เขื่อนปราณบุรี (80%) ขนาดกลาง 57 แห่ง ( ลดลง 1 แห่ง ) แยกเป็น ภาคเหนือ 5 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 43 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) ภาคตะวันออก 5 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคกลาง 1 แห่ง (เท่าเดิม) และภาคใต้ 3 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วม : ริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่ จ.เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี  : ริมน้ำเพชรบุรี บริเวณ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี พื้นที่เฝ้าระวังจากการเร่งระบายน้ำ : อ่างฯขนาดใหญ่ที่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม 8 แห่งและอ่างฯที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนปราณบุรี และเขื่อนน้ำอูน รวมถึงอ่างขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีปริมาณน้ำ 100%  ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องจัดทำแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ จัดทำมาตรการเตรียมความพร้อมลดความเสี่ยงอุทกภัย : กรณีการระบายน้ำฉุกเฉินของอ่างเก็บน้ำและกรณีเขื่อนวิกฤติ สำรวจความแข็งแรงของเขื่อน และสร้างการรับรู้ภาคประชาชนต่อเนื่อง สทนช.ตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ จาก 9 หน่วยงานร่วมปฏิบัติงานตลอด 24 ชม.ณ อาคาร SWOC กรมชลประทาน สามเสน ตั้งแต่ 3 ส.ค. 61 

สำหรับประกาศศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ รวม 4 ฉบับ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ส.ค.61 ออกประกาศ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 3  สถานการณ์น้ำ จ.เพชรบุรี คาดการณ์ปริมาณฝนลดลงต่อเนื่องไปจนถึงกลางเดือนสิงหาคม ส่งผลปริมาณน้ำผ่านทางระบายน้ำ และในแม่น้ำเพชรบุรีลดลง แต่ยังต้องบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง พร้อมปรับแผนเผชิญเหตุให้เหมาะสม ลดผลกระทบกับประชาชนให้มากที่สุด ฉบับที่ 4 เตือนอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำมากกว่า 80% เร่งพร่องน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน ตลอดจนตรวจสอบความมั่นคงของอาคาร รวมถึงประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

พ่อช็อก ลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์

พ่อช็อก น้ำตาคลอรู้ข่าวลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินเชจูแอร์ ไถลออกนอกรันเวย์ เผยเป็นลาง ลูกยื่นเงินหมื่นให้พ่อจ่ายเงินฌาปนกิจศพให้ตัวเอง

Jeju Air CEO apologises for plane crash at airport in South Korea

ซีอีโอเชจูแอร์ขอขมาผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชน

โซล 29 ธ.ค.- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของสายการบินเชจูแอร์ (Jeju AIr) ขอขมาต่อผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชนรั้วกั้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 124 คน จากจำนวนคนบนเครื่องบินทั้งหมด 181 คน นายคิม อีแบ ซีอีโอเชจูแอร์ แถลงต่อสื่อสั้น ๆ ว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอขมาต่อผู้โดยสารที่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุครั้งนี้ รวมถึงครอบครัว บริษัทจะแก้ไขสถานการณ์อย่างรวดเร็วและให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้โดยสาร นอกจากนี้จะพยายามอย่างเต็มที่ในการหาสาเหตุร่วมกับรัฐบาล นายคิม กล่าวว่า บริษัทให้บริการเครื่องบินลำนี้โดยได้มีการซ่อมบำรุงตามปกติ และไม่พบสัญญาณใด ๆ ว่าเครื่องบินมีความผิดปกติ เชจูแอร์เป็นสายการบินต้นทุนต่ำของเกาหลีใต้ที่ตั้งขึ้นในปี 2548 ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย และมีเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก ด้านโบอิง บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของสหรัฐ แถลงว่า กำลังประสานกับเชจูแอร์ กรณีเครื่องบินโบอิง 737-800 แบบ 2 เครื่องยนต์ เที่ยวบิน 7ซี2216 (7C2216) ชนที่ท่าอากาศยานทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือสายการบิน ขณะที่กระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้ ระบุว่า เครื่องบินลำนี้ผลิตในปี 2552 […]

ข่าวแห่งปี 2567 : สุดอาลัย…ดาวลับฟ้า ปี 2567

ตลอดปี 2567 นับเป็นปีที่สูญเสียบุคคลมีชื่อเสียง ทั้งในแวดวงบันเทิง ศิลปินแห่งชาติ และวงการสื่อสารมวลชน ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติ