กรุงเทพฯ 5ส.ค.-
กรมชลประทานคาดน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจานสี่ทุ่มคืนนี้ มวลน้ำก้อนนี้จะถึง อ.เมือง
จ.เพชรบุรี เช้าวันที่ 7 ส.ค.รับมือประสานป้องกันภัยเต็มที่ ย้ำเขื่อนแข็งแรง ด้าน
รมว.เกษตรกรฯ สั่งเฝ้าประสาน ระวังภัยรับมือ ฝนลูกใหม่ 5-9 ส.ค.นี้
นายกฤษฎา
บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จากเหตุอุทกภัยในหลายพื้นที่ ขอให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดในพื้นที่ประสบภัยได้เรียกประชุมคุณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
(อพก.)
เพื่อจัดทำแผนการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเป็นระบบโดยกำหนดพื้นที่และหน่วยงานรับผิดชอบประจำพื้นที่ให้ชัดเจนรวมทั้งการส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ความช่วยเหลือตามลำดับความจำเป็นเร่งด่วนและสถานการณ์ในพื้นที่ตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดด้วย
“
กระทรวงเกษตรฯมีความห่วงใยเกษตรกรทั่วประเทศเนื่องจากมีพื้นที่ประสบอุทกภัยหลายจังหวัดแล้ว
อีกทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดหมายลักษณะอากาศว่า ตั้งแต่5-9 ส.ค.จะมีฝนตกชุกและตกหนักในหลายพื้นที่
อาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และดินโคลนถล่มได้ หน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ
ในทุกพื้นที่จึงต้องประสานงานกับทางอำเภอและจังหวัด อีกทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
(ปภ.) และในพื้นที่อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกัน บรรเทา
และเยียวยาเกษตรกรที่อาจได้รับความเดือดร้อน” นายกฤษฎา กล่าว
นายกฤษฎา
กล่าวด้วยว่าเมื่อเช้าที่ผ่านมาได้สั่งการด่วนที่สุดนื่องให้กรมชลประทานแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ทราบสถานการณ์การระบายน้ำจากเขื่อนแก่งกระจาน
ตลอดจนเขื่อนต่างๆ ในเส้นทางแม่น้ำเพชรบุรีไปจนถึงออกทะเล
ให้ประชาชนทราบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและเตรียมพร้อมเฝ้าระวัง
เนื่องจากขณะนี้มีการเร่งระบายน้ำจากเขื่อนแก่งกระจานที่มีปริมาณใกล้เต็มความจุและคาดการณ์ว่า
น้ำจะล้นทางระบายน้ำล้นของเขื่อน (Spill Way)ในวันนี้ (5 สิงหาคม)
รวมทั้งเขื่อนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อีกทั้งสถานการณ์น้ำในจังหวัดใกล้แม่น้ำโขง
นายทองเปลว
กองจันทร์
อธิบดีกรมชลประทานสั่งการเจ้าหน้าที่ทุกสำนักโครงการชลประทานในพื้นที่ที่จะเร่งพร่องน้ำออกจากเขื่อนรายงานสถานการณ์น้ำไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดและป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(ปภ.) เพื่อเตรียมแผนช่วยเหลือประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ
โดยเฉพาะที่เขื่อนแก่งกระจานซึ่งน้ำมากกว่า 97% ของความจุอ่างแล้ว
ขณะที่ยังมีน้ำไหลเข้าเขื่อนมากจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง คาดว่า
น้ำจะล้นอาคารระบายน้ำล้น (Spill Way) ลงสู่แม่น้ำเพชรบุรีและจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้น
กรมชลประทานจึงเร่งพร่องน้ำหน้าเขื่อนเพชรบุรีและผันน้ำเข้าระบบคลองชลประทานให้เต็มศักยภาพ
พร้อมกับเปิดทางน้ำระบายจากคลองส่งน้ำลงคลองระบายน้ำ คลองธรรมชาติ
ลงอ่าวไทยให้เร็วที่สุดโดยเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 30 เครื่อง
และเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 44 เครื่อง
ตลอดแม่น้ำเพชรบุรีจนออกทะเลให้เสร็จภายในวันนี้อีกทั้งยังเพิ่มเส้นทางการระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยโดยใช้คลอง
RMC3 ระบายน้ำผ่านคลอง D9
ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำแม่น้ำเพชรบุรี นอกจากนี้ ยังได้เตรียมพร้อมรถขุดตัก หรือ แบคโฮประจำไว้ในพื้นที่
7คัน
กรณีมีความจำเป็นต้องขุดเปิดเส้นทางน้ำซึ่งจะช่วยลดปริมาณน้ำที่อาจล้นตลิ่งลงสู่พื้นที่ชุมชนและพื้นที่การเกษตรด้านท้ายน้ำได้มาก
สถานการณ์น้ำเขื่อนแก่งกระจานที่มีน้ำเต็มความจุ
ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) ได้คำนวณปริมาตรน้ำที่ไหลเข้าอ่างที่ยังมากกว่าการระบายน้ำออกจึงคาดว่าน้ำจะเริ่มล้น
Spillway เขื่อนแก่งกระจานในวันที่ 5 ส.ค. 61 เวลา 22.00
น. การไหลของน้ำที่ล้น Spillway จะไม่ทำให้เขื่อนเสียหายแน่นอน
อีกทั้งปริมาณที่ไหลผ่าน Spillway ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะค่อยๆ
ปรับขึ้น คล้ายกับการเอียงขันน้ำแต่น้อย เพื่อเทน้ำออกจากขัน ดังนั้น
ต้องใช้ช่วงเวลาเวลาระยะหนึ่งกว่าน้ำจะไหลผ่าน Spillway เต็มที่
“น้ำที่ล้น
Spillway เขื่อนแก่งกระจานต้องใช้เวลา 24 ชั่วโมงจึงจะไหล ไปถึงเขื่อนเพชรบุรี ซึ่งเขื่อนเพชรบุรีจะสามารถหน่วงน้ำส่วนนี้
ได้ช่วงเวลาหนึ่ง
ส่วนน้ำที่เกินจากเขื่อนเพชรบุรีต้องใช้เวลา 12 ชั่วโมงกว่าจะถึงอำเภอเมืองเพชรบุรี นับว่าเป็นสถานการณ์ที่ดีที่พื้นที่ใต้เขื่อนแก่งกระจานไม่มีฝนตกและ
ไม่มีน้ำท่าสะสม ปริมาณน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีจึงมีน้อยมาก สามารถรับน้ำได้อีก 150 ลูกบาศก์เมตรวินาที หรือวันละ13 ล้านลูกบาศก์เมตร”อธิบดีกรมชลประทานกล่าว
สิ่งสำคัญที่สุดคือ กรมชลประทานได้เตรียมการป้องกันน้ำท่วม
อ.เมือง จ.เพชรบุรี โดยใช้บทเรียนจากปี 2559 และ ปี 2560 โดยก่อนเข้าฤดูฝนได้เสริมคันกั้นน้ำ แม่น้ำเพชรบุรี
ตรวจความแข็งแรงอย่างต่อเนื่อง ก่อนเกิดฝนตกหนัก ได้ขนย้ายเครื่องมือเครื่องสูบน้ำ
เครื่องผลักดันน้ำ ไปยังจุดเสี่ยง โดยเฉพาะจุดที่เคยเกิดน้ำท่วม อีกทั้งพร่องน้ำโดยเร่งระบายน้ำแม่น้ำเพชรบุรี
โดยเครื่องผลักดันน้ำ และ เครื่องสูบน้ำ จากทุกหน่วยงาน
รวมทั้งตรวจการขึ้นลงน้ำทะเล ประกอบการวางแผนการเร่งระบายน้ำโดยติดตามสถานการณ์ 24 ชั่วโมง จึงมั่นใจว่า จากความร่วมมือของทุกหน่วยงานครั้งนี้จะทำให้การร่วมกันแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้มาก
-สำนักข่าวไทย