ปัญหาพระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว

กรุงเทพฯ 20 พ.ค. – งานศึกษาวิจัยของศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาฯ เรื่อง “พระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว” พบปัญหาหลายด้านจากการที่พระไปยุ่งเกี่ยวกับเงิน เช่น การฉ้อโกงทรัพย์ แม้จะมีการเสนอแนวทางแก้ปัญหาหลายทาง แต่ยังไม่เคยมีวิธีใดช่วยบริหารจัดการทรัพย์สินของพระและวัดได้เหมาะสม ติดตามรายงานพิเศษ “สงฆ์กับทรัพย์” วันนี้นำเสนอเป็นตอนสุดท้าย



เคยมีงานวิจัยเรื่อง “พระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว” โดยอาจารย์ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาฯ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบัน ลงพื้นที่ในหลายจังหวัด เพื่อสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนตัวของพระ เช่น เงินนิตยภัต เงินค่าสอน เงินจากกิจนิมนต์ กิจกรรมวัด ทำให้มองเห็นถึงภาพการครอบครองทรัพย์สิน และช่องทางการทุจริตในวัดและวงการสงฆ์ได้ 


ทรัพย์ ในพุทธศาสนา ตามพุทธบัญญัติ อนุญาตให้มีทรัพย์ราคาน้อยที่จำเป็นต่อการประพฤติธรรมได้ แต่จำกัดจำนวนและระยะเวลาการถือครอง เพื่อไม่ให้พระสะสมและยึดถือทรัพย์นั้นเป็นของตัวเอง แต่เมื่อเจาะจงที่ทรัพย์สินส่วนตัว เช่น เงินทอง พบว่าในพระวินัยปิฎก พระไม่สามารถรับ จับ หรือมีเงินทองเป็นของส่วนตัวได้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด และยังรวมถึงสิ่งมีค่าที่แลกเปลี่ยนซื้อขายได้ เช่น ธนบัตร เหรียญ เช็ค บัตรเอทีเอ็ม หรือแม้แต่บัตรเครดิต 


งานวิจัยยังชี้ถึงปัญหาของสงฆ์และทรัพย์ส่วนตัวหลายเรื่อง เช่น การฉ้อโกงทรัพย์สินวัด การเรี่ยไรที่ไม่เหมาะสม เกิดคดีอาชญากรรมเรื่องผลประโยชน์ ประพฤติย่อหย่อนในพระธรรมวินัย กระทบต่อความมั่นคงทางศาสนา ทั้งศรัทธา คุณภาพพระ

จากปัญหาวัดพระธรรมกายที่ถูกครหาเรื่องการระดมเงินบริจาค และการสร้างสิ่งก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์มากมาย จนถึงปัญหาเงินทอนวัดที่พัวพันถึงพระผู้ใหญ่หลายรูป หลายระดับ ล้วนมีต้นเหตุมาจากเรื่องเงิน เรื่องทรัพย์สิน  

เคยมีการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องทรัพย์สินของพระสงฆ์หลายวิธี เช่น เสนอจัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระพุทธศาสนา แต่ถูกคัดค้านจากวัดที่มีทรัพย์สินมาก เกรงจะเสียประโยชน์ หรือเสนอให้มีทรัพย์สินกองกลางของวัด เพื่อให้พระเบิกใช้เป็นค่าดำรงชีพ เป็นต้น แต่ยังไม่เคยมีวิธีใดช่วยบริหารจัดการทรัพย์สินของพระและวัดได้เหมาะสม

ขณะที่โครงสร้างคณะสงฆ์เป็นระบบรวมศูนย์ ให้อำนาจการบริหารแก่เจ้าคณะทุกระดับ จึงมีโอกาสเกิดระบบอุปถัมภ์ และมีเครือข่ายที่อยู่ได้ด้วยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ