เงื่อนไขประมูลบงกช- เอราวัณ สงวนสิทธิ์ภาครัฐถือหุ้นร้อยละ 25

กรุงเทพฯ 4 มิ.ย. – ภาครัฐสงวนสิทธิ์ถือหุ้นแหล่งบงกช-เอราวัณไม่เกินร้อยละ 25 โดย ครม.จะเคาะว่าหน่วยงานใดจะเข้าร่วมทุน  โดย ปตท.สผ.-มูบาดาลา ชี้เป็นเรื่องปกติที่ภาครัฐจะสงวนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ


ในงานสัมมนาผู้เข้าร่วมประมูล (Bidder Conference) เพื่อเป็นเวทีถามตอบเกี่ยวกับการยื่นขอสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจแหล่งเอราวัณและบงกชให้กับผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น (PQ) และวางเงินยื่นประมูลแล้ว ซึ่งประกอบด้วย 4 ผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์ประมูลเป็นผู้ดำเนินการ (Operator) ได้แก่ เชฟรอน, มูบาดาลา, โททาล และ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิต  


นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การสัมมนาเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นสำคัญหลัก ๆ เช่น การสงวนสิทธิ์ให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องเสนอให้หน่วยงานรัฐ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานในสังกัดรัฐอื่น ๆ เข้าร่วมประมูลด้วยในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 25 และจะต้องมีเสนอแผนงานที่ต้องผลิตขั้นต่ำตามข้อกำหนดของรัฐบาลที่ต้องเสนอแผนการลงทุนภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) โดยกำหนดให้มีการผลิตต่อเนื่องที่แบ่งออกเป็นต้องมีกำลังผลิตจากแหล่งเอราวัณไม่ต่ำกว่า 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แหล่งบงกชไม่ต่ำกว่า 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 

นอจากนี้ ยังมีการชี้แจงการโอนทรัพย์สินและภาระรื้อถอนแท่นผลิตระหว่างผู้ประกอบการรายใหม่กับรายเก่า ซึ่งทางกรมเชื้อเพลิงฯ ได้ออกประกาศหลักการดังกล่าวแล้ว และรวมถึงราคาก๊าซธรรมชาติที่ บมจ.ปตท.จะเป็นผู้รับซื้อหลัก และทางภาครัฐให้น้ำหนักคะแนนการพิจารณาด้านราคาเป็นสัดส่วนที่สูง เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า  โดยหลังจากการสัมมนาแล้วผู้เข้าร่วมประมูลจะมีโอกาสได้ศึกษาข้อมูลแปลงสำรวจอย่างเท่าเทียมกัน ก่อนจัดทำข้อเสนอด้านเทคนิคและผลประโยชน์ตอบแทนรัฐโดยมีกำหนดให้ยื่นข้อเสนอต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในวันที่ 25 กันยายนนี้ โดยกรมเชื้อเพลิงฯ จะพิจารณาเสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายนและเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบเดือนธันวาคม และลงนามในสัญญาเดือนกุมภาพันธ์ 2562

“การที่ให้ภาครัฐถือหุ้น (state share holder) เป็นการสงวนสิทธิ์ให้คนไทย เพราะถือว่าแหล่งก๊าซนี้ทรัพย์สมบัติของคนไทยมีความสำคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงาน โดยหน่วยงานรัฐจะเป็นราชการ หรือหน่วยงานใดก็ได้ เช่น กระทรวงการคลัง กรมเชื้อเพลิงฯ  บมจ.ปตท. บางจากฯ การบินไทย ได้หมด” รมว.พลังงาน กล่าว 


นายมาซิน ราชิด แนสเซอร์ อัลลามกิ(Mazin Rashid Nasser AL Lamki) ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท มูบาดาลาปิโตรเลียม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวว่า การเข้ารับฟังคำชี้แจงครั้งนี้ทางบริษัทไม่มีข้อสงสัยแต่อย่างใด และถือได้ว่ากรมเชื้อเพลิงฯ มีการเตรียมการชี้แจงที่ดีมาก ส่วนข้อกำหนดภาครัฐถือหุ้นร้อยละ 25 เป็นเรื่องปกติที่ทั่วโลกจะสงวนสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของประเทศ ส่วนบริษัทจะเสนอประมูลโดยเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นหุ้นส่วนร่วมกับใครใน 2 แหล่งนี้ ก็ยังมีเวลาพิจารณา โดยการจะร่วมทุนกับรายใดนั้น เรื่องการเงินไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่ต้องดูถึงความรู้ ประสบการณ์ที่จะนำมาร่วมดำเนินธุรกิจระหว่างกัน โดยบริษัทนั้นเป็นบริษัทของรัฐบาลมีความจริงใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และลงทุนมากว่า 10 ปีแล้ว ส่วนข้อสงสัยจะมีคำถามอะไรเพิ่ม ก็จะขอเข้าไปดูห้องข้อมูล หรือ DATA ROOM ของกรมเชื้อเพลิงฯ ก่อน  

นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.สผ. กล่าวว่า บริษัทจะร่วมประมูลทั้งแหล่งบงกชและเอราวัณ แต่จะเสนอในรูปแบบการดำเนินการเฉพาะแหล่งบงกชหรือไม่นั้น ในขณะนี้กำลังพูดคุยข้อตกลงกับเชฟรอนฯ ในเรื่องความร่วมมือในแหล่งเอราวัณ ซึ่งขณะนี้ยังมีเวลาพิจารณาก่อนถึงวันเสนอประมูล 25 กันยายนนี้ แม้ครั้งนี้ผู้แข่งขันจะมีเม็ดเงินและเทคโนโลยีในการลงทุนสูงมาก แต่ทาง ปตท.สผ.ก็เตรียมด้านการเงินพร้อมแล้ว และยังมีประสบการณ์ในอ่าวไทย มีบุคลากรคนไทยที่แข็งแกร่ง จึงเชื่อมั่นว่าจะแข่งขันได้อย่างไม่มีปัญหา

นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า ยังไม่ขอออกความคิดเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขกำหนดให้หน่วยงานรัฐเข้าร่วมทุนในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 25 โดยขอศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อน อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยว่ากรณี ปตท.สผ.ที่มีสถานะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว จะกำหนดสัดส่วนการร่วมทุนครั้งนี้อย่างไร

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงฯ กล่าวว่า การสงวนสิทธิ์โดยภาครัฐถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 25 นั้น ทางผู้เสนอประมูลต้องเสนอมาสัดส่วนร้อยละ 25 แล้วทางกรมเชื้อเพลิงฯ จะพิจารณาและเสนอ ครม.ว่า หน่วยงานใดจะเข้ามาร่วมทุน หรือถือหุ้นสัดส่วนเท่าใดตั้งแต่ร้อยละ 1-25 ซึ่งแม้เอกชนจะเสนอว่าหน่วยงานรัฐใดเข้าร่วททุน แต่ท้ายสุดแล้ว ครม.จะตัดสินใจเลือกว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เอกภพ” เข้าพบ พนง.สอบสวน หลังถูกออกหมายจับ

“เอกภพ สายไหมต้องรอด” เข้าพบ พนง.สอบสวน หลังถูกออกหมายจับปมพยานเท็จดิไอคอน ยันบริสุทธิ์ใจ หากช่วยเหลือประชาชนแล้วโดนจับก็พร้อมรับ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่