ก.เกษตรฯ ยืนยันปีนี้น้ำพอใช้ทุกภาคส่วน

ก.เกษตรฯ  31 พ.ค. –  ก.เกษตรฯ ยืนยันปีนี้สถานการณ์น้ำดี น้ำที่เก็บกักในเขื่อนต่าง ๆ มีพอเลี้ยงทุกภาคส่วน ขณะเดียวกันกำชับสำนักชลประทานทั่วประเทศเตรียมพร้อมรับภาวะน้ำหลากช่วงปลายฤดูที่ฝนจะตกชุกที่สุด



นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝนแก่สำนักชลประทานทั่วประเทศผ่านระบบประชุมทางไกล โดยระบุว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนหลักทั่วประเทศรวมถึง 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยามีเฉลี่ยร้อยละ 60 ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 412 อ่าง มีปริมาณน้ำร้อยละ 70 ซึ่งขอให้สำนักชลประทานต่าง ๆ จัดสรรให้เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค การเกษตร การประกอบอุตสาหกรรม และการรักษาระบบนิเวศน์ ซึ่งเพียงพอใช้ตลอดถึงเดือนกรกฎาคม แม้บางช่วงจะฝนตกน้อยหรือฝนทิ้งช่วงก็ตาม


จากการทำแบบจำลองสภาพอากาศของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะโดยผนวกการเกิดพายุในเดือนสิงหาคมซึ่งโดยเฉลี่ยจะเกิดปีละ 1 ลูก พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากหรือน้ำล้นตลิ่ง ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ ลำปาง เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี หนองคาย เลย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ซึ่งให้สำนักชลประทานทั่วประเทศเตรียมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือ และวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าปริมาณฝนปีนี้จะต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 8 ภาวะน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่งจะส่งผลกระทบน้อยกว่าปีที่ผ่านมา  ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 412 อ่าง ได้สั่งการให้รักษาปริมาณเก็บกักไม่ให้เกินร้อยละ 80 ของความจุอ่าง ซึ่งขณะนี้ยังมี 43 อ่างที่มีปริมาณเกินและทยอยระบายออก ในปีนี้ได้กำชับให้ระบายน้ำเข้าสู่ระบบชลประทาน จึงทำให้พื้นที่ดอนปกติต้องรอฝนหลายแห่งมีน้ำปลูกข้าวแล้ว

ส่วนเขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อน (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 12,979 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52 (ปริมาณน้ำใช้การได้ 6,283 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 35) ปริมาณน้ำใช้การได้เทียบกับปี 2560 ปีนี้มีปริมาณน้ำมากกว่า 2,039 ล้าน ลบ.ม.   


ด้านการเพาะปลูกพืชฤดูฝนทั่วประเทศ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกแล้ว 4.33 ล้านไร่ (แผน 16.47 ล้านไร่) หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของแผนการเพาะปลูกพืชฤดูฝนทั้งประเทศ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกพืชไปแล้ว 3.05 ล้านไร่ (แผน 7.73 ล้านไร่) หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของแผนการเพาะปลูกพืชฤดูฝนลุ่มน้ำเจ้าพระยา สำหรับการทำนาปีในพื้นที่ลุ่มต่ำทั้ง 13 ทุ่งนั้น ปัจจุบันทุ่งบางระกำมีการเพาะปลูกเต็มพื้นที่แล้วส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่งเจ้าพระยาตอนล่าง มีการเพาะปลูกไปแล้ว 0.707 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 62 ของพื้นที่เป้าหมายที่ วางไว้ 1.15 ล้านไร่

ในส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้มีการเลื่อนเวลาการเพาะปลูกข้าวนาปีให้เร็วขึ้น เพื่อใช้พื้นที่การเกษตรเหล่านั้นเป็นพื้นที่รับน้ำหลาก หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว ได้แก่ พื้นที่ตอนบนตั้งแต่นครสวรรค์ขึ้นไป คือพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำ ในปีนี้มีการปรับเพิ่มพื้นที่มากขึ้น จากเดิมปีที่แล้วมีพื้นที่ 265,000 ไร่ เพิ่มเป็น 382,000 ไร่ รับน้ำได้มากขึ้นจากเดิม 400 เป็น 550 ล้าน ลบ.ม. ได้ส่งน้ำให้เกษตรกรทำนาปีแล้วตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 เพื่อให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตภายในเดือนกรกฎาคม ส่วนพื้นที่ตอนล่างตั้งแต่นครสวรรค์ลงมา พื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่ ทุ่งเชียงราก ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางบาล โครงการ  ส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ พื้นที่รวมกว่า 1.15 ล้านไร่ รับน้ำได้ 1,500 ล้าน ลบ.ม. ได้มีการส่งน้ำให้เกษตรกรเริ่มทำนาปี ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2561 เพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนกันยายน เพื่อจะใช้พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคมลผลกระทบภาวะน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำในทุ่งป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ทุ่งผักไห่ บางบาล เจ้าเจ็ด จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งมั่นใจว่า ระดับน้ำจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังเตรียมพร้อมเครื่องจักร-เครื่องมือ อาทิ เครื่องสูบน้ำ 1,851 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 317 ชุด รถแทรกเตอร์/รถตัก 225 คัน และเครื่องจักรกลสนับสนุนอื่นๆ อีก 410 หน่วย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ในเขตสำนักงานชลประทานต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 2,803 หน่วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

เร่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม

เกือบ 200 ชั่วโมง ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายติดใต้ซากตึกถล่ม K9 เห่าส่งสัญญาณพบกลิ่นมนุษย์เพิ่มในโซน B แต่ยังอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก เจ้าหน้าที่เร่งปรับแผนให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงจุดตึกถล่ม ช่วยค้นหาผู้สูญหาย

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงอาคารกำลังสร้างของ สตง.ที่ถล่มแล้ว พร้อมช่วยเหลือกู้ภัยไทยในการค้นหาผู้สูญหาย

ค้นหาตึกถล่ม

ฉีดน้ำเครื่องจักรลดความร้อน-ไม่หมดหวังค้นหาผู้รอดชีวิต

ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือ MCATT ลงพื้นที่ดูแลญาติผู้สูญหายจากตึก สตง.ถล่ม ขณะที่เจ้าหน้าที่ทีมค้นหายังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด

ภาษีสหรัฐ

นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปแก้ปัญหาภาษีสหรัฐ 8 เม.ย.นี้

“จิรายุ” ระบุฝ่ายค้านบางพรรคน่าจะตกข่าว เพิ่งมาเสนอให้นายกฯ ตั้ง คกก.แก้ปัญหาภาษีสหรัฐฯ ทั้งที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ “ทรัมป์” ยังไม่ได้รับตำแหน่ง บอก 8 เม.ย.นี้ นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปทั้งหมด ที่ทำเนียบฯ