“ปตท.สผ.-เชฟรอน-มูบาดาลา” ยื่นชัดพร้อมร่วมประมูล “เอราวัณ-บงกช”

กรุงเทพฯ 4 พ.ค. – “ปตท.สผ.-เชฟรอน –มูบาดาลา” เข้ายื่นแสดงความจำนงที่จะประมูลแหล่งปิโตรเลียมหมดอายุ “เอราวัณ-บงกช” ในช่วงเช้า ต่างมั่นใจเงินหนา ประสบการณ์แกร่งชนะประมูล กรมเชื้อเพลิงฯ คาดจะมีเม็ดเงินลงทุน 10 ปีสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท เงื่อนไขทีโออาร์ “มั่นคง-ค่าไฟฟ้าต่ำ”



บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.ถือฤกษ์เลขสวยเวลา 09.09 น.เป็นรายแรกยื่นแบบฟอร์มแสดงความจำนงลงทะเบียนในการเข้าร่วมพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น (Pre-Qualification Evaluation :PQ) เพื่อประมูลแปลงหมายเลข G1/61 (เอราวัณ)  และ G2/61(บงกช ) ตามด้วยเชฟรอน และมูบาดาลา โดยทั้ง 3 ราย ยื่นแสดงเจตจำนงทั้ง 2 แปลงตามทีโออาร์การเปิดประมูลภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC)


โดยกำหนดเวลาทุกรายต้องยื่นหลักฐาน PQ 15-16  พ.ค.2561, ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ PQ 28 พฤษภาคม ผู้มีคุณสมบัติจัดเตรียมการยื่นข้อเสนอ 7 มิถุนายน – 21 กันยายน  2561, ยื่นข้อเสนอการประมูล 25 กันยายน, ได้ผู้ชนะการประมูลธันวาคม 2561  และลงนามในสัญญาเดือนกุมภาพันธ์ 2562   

นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มั่นใจว่าจะชนะการประมูลด้วยประสบการณ์ในประเทศไทยกว่า 30 ปี และมีเทคโนโลยีทั่วโลกจะช่วยทำให้ต้นทุนต่ำแข่งขันได้ตามเงื่อนไขที่ภาครัฐกำหนด ทั้งเรื่องราคาก๊าซฯ ที่ใกล้เคียงกับปัจจุบัน  และปริมาณกำลังผลิตขึ้นต่ำที่กำหนด 10 ปีใน 2 แหล่งรวมกันกำลังผลิตจะไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน  แยกเป็นแปลงหมายเลข G1/61 ปริมาณ  800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และ G2/61 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งในส่วนของวงเงินลงทุนที่ต้องแสดงคุณสมบัติ 4,000 ล้านดอลลาร์หสรัฐ และ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น บริษัทแม่ คือ เชฟรอนสหรัฐพร้อมสนับสนุน ส่วนจะยื่นประมูลทั้ง 2 แปลง หรือจะร่วมทุนกับรายใด โดยเฉพาะ ปตท.สผ.หรือไม่นั้น ในขั้นตอนเหล่านี้ยังมีระยะเวลาตัดสินใจศึกษาข้อมูลจากทีโออาร์ การเข้าดูห้องข้อมูล ก่อนจะตัดสินใจยื่นข้อเสนอ 25 กันยายนนี้   


“บริษัทมีความมั่นใจชนะประมูล  แม้เงื่อนไขจะท้าทาย เพราะบริษัทมีประสบการณ์และมีเทคโนโลยีทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการเป็นโอเปอเรเตอร์ในแหล่งเอราวัณที่ผลิตก๊าซได้อย่างมั่นคง ปลอดภัยต่อเนื่อง สร้างความน่าเชื่อถือ จึงเป็นจุดแข็งในการประมูลครั้งนี้” นายไพโรจน์ กล่าว

นายไพโรจน์ ย้ำว่า เชฟรอนฯ มีความมุ่งมั่นในการลงทุนในประเทศไทย แม้หากไม่ชนะประมูลก็จะลงทุนต่อไป เพราะยังมีแหล่งอื่น ๆ ที่มีสัญญาผลิตต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเชฟรอนผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งในไทย รวม 1,700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (มาจากแหล่งเอราวัณประมาณ 1,240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ) ผลิตคอนเดนเสต 50,000-60,000 บาร์เรลต่อวัน ผลิตน้ำมัน 50,000-60,000 บาร์เรลต่อวัน มีพนักงานเป็นคนไทยถึงร้อยละ 90 จากพนักงานประจำ 1,600 คน และพนักงานที่จ้างบริการ 1,000 คน    

นายราเชด อัล บลูชิ (Mr.Rashed Al Blooshi) กรรมการผู้จัดการมูบาดาลา ประเทศไทย ระบุว่าบริษัทจริงจังกับการประมูลครั้งนี้ มีพร้อมทั้งมีวงเงินประมูลและประสบการณ์ที่ที่บริษัทแม่  คือ  Mubadala Investment Company (MIC) เป็นบริษัทกองทุนเชิงกลยุทธ์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ซึ่งมีรัฐบาลอาบูดาบีถือหุ้นทั้งหมด มีประสบการณ์ลงทุนทั่วโลก และมีความเข้มแข็งทางด้านการเงิน จึงมั่นใจว่าจะเป็นยุทธศาตร์ในการแข่งขันประมูลครั้งนี้ รวมทั้งมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทย แต่จะยื่นประมูลร่วมกับรายอื่นหรือไม่นั้น ขอศึกษาข้อมูลทั้งหมด เสียก่อน โดยปัจจุบัน บริษัทมีกำลังผลิตน้ำมันดิบในไทยประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน ใน 3 แหล่ง ประกอบด้วย แหล่งมโนราห์ แหล่งนงเยาว์ และแหล่งจัสมิน 

“บริษัทจะยื่นประมูลทั้งบงกชและเอราวัณ  หรือจะร่วมประมูลกับใครนั้น ขอเวลาศึกษาข้อมูลทีโออาร์ และห้องข้อมูลทั้งหมดเสียก่อน โดยบริษัทซีเรียสกับการประมูลครั้งนี้” นายราเชด กล่าว

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ระบุว่าการที่รายใหญ่ 3 ราย เข้ามายื่นเจตจำนงในเช้าวันนี้ ก็แสดงให้เห็นว่าการประมูลเป็นไปตามเป้าหมายที่ โอเปอเรเตอร์สนใจที่จะยื่นประมูลข้ามแหล่ง ไม่ได้ยึดติดเฉพาะแหล่งที่ตนเป็นโอเปอเรเตอร์ ส่วนการยื่นประมูลแข่งขันจะรุนแรงหรือไม่คงต้องตามดูกันต่อไป  โดยการลงทุนทั้ง 2 แหล่งนี้ คาดว่าจะทำให้เงินลงทุนใน 10 ปี หลังจากหมดอายุสัมปทานปี 2565-2566 จะมีเม็ดเงินรวม 1.2 ล้านล้านบาท สร้างรายได้แก่ประเทศ 2.1 ล้านล้านบาท สร้างกำไร 900,000 ล้านบาท ในส่วนนี้คาดจะเป็นรายได้ของรัฐไม่ต่ำกว่า 700,000 ล้านบาท และที่สำคัญเงื่อนไขการประมูลที่กำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำ 10 ปี การให้น้ำหนักร้อยละ 65 จากการพิจารณาราคาก๊าซฯ ที่ไม่สูงเกินจากราคาปัจจุบันยังทำให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานและต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำเป็นผลดีต่อประชาชน. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

“ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม

ใช้ดนตรีฮีลใจ “ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงคลายเครียดให้กับญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม ที่ศูนย์พักคอยฯ ทำเอาหลายคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหว เผยเข้าใจความรู้สึกแรงงานดี เพราะตนเคยทำมาก่อน

นายกฯ แถลงยินดีความสำเร็จประชุมผู้นำบิมสเทค รับรองเอกสาร 6 ฉบับ

นายกฯ แถลงยินดีความสำเร็จการประชุมผู้นำบิมสเทค รับรองเอกสารผลลัพธ์สำคัญ 6 ฉบับ ดันวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030 สร้างโอกาสเศรษฐกิจ ยันคนไทยได้ประโยชน์ พร้อมบรรเทาผลกระทบ-ฟื้นฟู ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ขณะที่ กต. ย้ำเชิญผู้นำเมียนมา ตามกฎบัตร ปัดคุยการเมืองภายใน ไร้ถกปมสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้า

ประชุมBIMSTEC

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงเวทีผู้นำ BIMSTEC เปิด “วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030″

นายกฯ แพทองธาร กล่าวถ้อยแถลง วงประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 เปิด “วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030″ กระชับความร่วมมือสร้างภูมิภาคที่เจริญรุ่งเรืองและเปิดกว้าง พัฒนาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ

DSI เปิดความเชื่อมโยง “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10” พบใช้ 3 คนไทยเป็นนอมินี

DSI เปิดความเชื่อมโยงบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด รับงาน 29 โครงการรัฐ มูลค่ารวมกว่า 22,000 ล้านบาท พบใช้ 3 คนไทยเป็นนอมินีอำพรางถือหุ้น