เลขาธิการ สศช.แถลงความคืบหน้าจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สศช. 26 มี.ค.-เลขาธิการ สศช.แถลงความคืบหน้าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คาดประกาศใช้เดือนกรกฎาคมนี้ พร้อมจัดทำแผนแม่บทสร้างกรอบการพัฒนาประเทศสามารถแก้ไขได้ทุก 5 ปี เพื่อให้ทันกับสถานการณ์


นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ แถลงความคืบหน้าการจัดทำแผนยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี ว่า ขณะนี้ร่างยุทธศาสตร์ชาติดำเนินการใกล้แล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอแนะ หลังจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนครบทั้ง 4 ภาค และจะเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อพิจารณารายละเอียดคาดว่าในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายนนี้ ทั้งนี้เมื่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาแล้วเสร็จ จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม ก่อนส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบเพื่อประกาศใช้ยุทธศาสตร์ 20 ปี คาดว่าภายในเดือนกรกฎาคมนี้ จะสามารถประกาศใช้ยุทธศาตร์ชาติได้

“การรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และเป็นสิ่งยืนยันว่ายุทธศาสตร์ชาติไม่ได้เขียนด้วยคนไม่กี่คน จากเวทีการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมามีความเห็นที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ต้องมียุทธศาสตร์ชาติ เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่จะกำหนดทิศทางประเทศให้เกิดความโปร่งใส” นายปรเมธี กล่าว


นายปรเมธี กล่าวอีกว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน จะจัดทำแผนแม่บท เพื่อวางกรอบการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งแผนแม่บทจะมีการปรับปรุงแก้ไขทุก 5 ปี ให้ทันต่อสถานการณ์ จะมีการวัดความสำเร็จของแผนงาน จึงไม่ต้องกังวลว่าแม้มีแผนระยะยาว 20 ปี จะเกิดความล้าสมัย ไม่ทันต่อเหตุการณ์

นายปรเมธี ยังกล่าวถึงการวางเป้าหมายด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 4 เป้าหมาย คือ 1.ไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีรายได้ต่อหัวมากกว่า 15,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ภายใน 20 ปี จากปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวประมาณ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี  2.อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ในช่วง 20 ปี ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวของจีดีพี อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.8-4.0 3.ผลิตภาพการผลิตรวม หรือทีเอฟพี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 เป็นเป้าหมายที่ท้าทาย เพื่อให้สามารถเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้เร็วขึ้น และ 4.ประเทศไทยต้องอยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ International Institute for Management Development หรือ IMD ซึ่งสถาบัน IMD เป็นสถาบันจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่เน้นปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาค.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง